เขาสามร้อยยอด จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

TH_Samroiyod

เขา สามร้อยยอด เป็นเทือกเขาหินปูนเป็นทิวยาวในแนวเหนือ-ใต้ ตามแนวชายฝั่งทะเลประมาณ 20 กิโลเมตร ในเขตต่อเนื่องของ อ.ปราณบุรี และ อ.กุยบุรี ใน จ.ประจวบคีรีขันธ์ ประกอบด้วยทิวเขาสูงชันต่อเนื่องเป็นเทือกใหญ่และกลุ่มเขาโดดตามแนวชายทะเล เป็นหย่อมๆ ในภาพจากดาวเทียมจะเห็นภูมิประเทศที่เป็นภูเขาล้อมรอบด้วยที่ราบ เกิดจากการทับถมของตะกอนจากน้ำทะเลในอดีต บริเวณเทือกเขาสามร้อยยอดมียอดแหลม (เขาหินปูนฝาชี) เป็นจำนวนมาก แสดงถึงลักษณะเด่นของธรณีสัณฐานแบบคาสต์ที่มองเห็นได้ตามแนวราบ ภูเขาในที่ราบด้านตะวันออกตามแนวชายทะเลวางตัวเป็นแนวต่อเนื่องไปยังเกาะ ยื่นลงในทะเล ธรณีสัณฐานคาสต์เขาสามร้อยยอดรองรับด้วยหินปูนในยุคเพอร์เมียน-คาร์บอนิเฟอ รัส มีโครงสร้างเป็นชั้นหินโค้งงอ มีขอบเป็นเขาหินปูนผาชัน เกิดจากการกัดกร่อนทางแนวราบของทางน้ำไหลหรือคลื่นกระแสน้ำ ทำให้บริเวณตีนเขาถูกกัดกร่อนและส่วนบนของหินปูนพังลงมาเป็นหน้าผาชัน ส่วนกลุ่มเขาตามชายทะเลด้านตะวันออกแสดงธรณีสัณฐานยอดกลมมนเป็นเขาหินปูน ฝาชีอยู่ทั่วไป บริเวณภูเขาหินปูนพบหลุมยุบและหุบยุบ เป็นแนวยาว เมื่อสังเกตจากรูปถ่ายทางอากาศ ระนาบรอยแตกเป็นแนวบังคับให้เกิดหลุมยุบตามแนวหลายแนว

007

ใน บริเวณเขาหินปูนสามร้อยยอดพบถ้ำหลายแห่ง เช่น ถ้ำพระยานคร ถ้ำเม่น ถ้ำไทร ซึ่งเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่รู้จักกันดี และมีความสำคัญทางประวัติศาสตร์มาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ถ้ำเหล่านี้พบลักษณะการยุบถล่ม ทำให้เกิดลักษณะของปล่องทะลุจากเพดาน สามารถสังเกตได้จากรูปถ่ายทางอากาศ เช่น ในปล่องของถ้ำพระยานครที่เขาเทียน

006

ใน ภาพจากดาวเทียม นอกจากแสดงธรณีสัณฐานคาสต์ที่ชัดเจนแล้ว ยังสามารถใช้ศึกษาธรณีสัณฐานและวิวัฒนาการบริเวณชายฝั่งทะเลได้เป็นอย่างดี อีกด้วย เนื่องจากมีปรากฎการณ์ธรณีสัณฐานชายฝั่งทะเลหลากหลายลักษณะชัดเจน ได้แก่ บริเวณที่ราบลุ่มน้ำขังด้านตะวันตกของภูเขา เรียกว่า ทุ่งสามร้อยยอด ซึ่งแต่เดิมก่อนการทับถมของตะกอนริมฝั่งทะเล บริเวณนี้มีสภาพเป็นอ่าวลึกเข้าไประหว่างแผ่นดินเป็นลักษณะของลากูน มีแหลมซึ่งเป็นบริเวณเขาสามร้อยยอดกั้นระหว่างแผ่นดินและทะเล มีแม่น้ำปราณบุรีไหลลงทางด้านเหนือของอ่าว ภายหลังเกิดสันทรายในบริเวณด้านใต้และด้านเหนือ ดังเห็นลักษณะเป็นแนวสลับด้วยร่องลากูนเล็กๆ แคบยาวหลายแนวชัดเจน บริเวณด้านใต้สันทรายจะปิดกั้นทางออกของอ่าวทำให้กลายเป็นลากูนขนาดใหญ่ใน ช่วงเวลาต้นของการเกิดสันทราย มีร่องรอยแสดงว่าแม่น้ำกุยบุรีได้ไหลออกมาทางด้านเหนือบริเวณใกล้ปากทางออก ของลากูน และภายหลังได้เปลี่ยนเส้นทางออกสู่ทะเลมาเป็นทางน้ำในปัจจุบัน

001002

บริเวณ ด้านใต้ของเขาสามร้อยยอดมีภูมิประเทศเป็นที่ราบรูปครึ่งวงกลมเว้าเข้าไปใน สันทราย เป็นหลักฐานแสดงว่าน้ำทะเลได้กัดเซาะเข้าไปในแผ่นดินอีกครั้งหนึ่ง ต่อมามีการลดระดับของน้ำทะเลและแนวชายฝั่งทะเลถอยร่นมาอยู่ในตำแหน่ง ปัจจุบัน มีการเกิดแนวสันทรายเป็นระยะๆ แสดงให้เห็นการถอยร่นของชายฝั่งทะเลเป็นช่วง

003 004

บริเวณ ภูเขาและที่ราบชายฝั่งทะเลบางส่วน ได้ประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติเขาสามร้อยยอด ถือเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญ การดำเนินการอนุรักษ์และพัฒนาอุทยานแห่งชาติยังมีความต้องการที่จะศึกษา ข้อมูลด้านต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการศึกษาธรณีสัณฐานด้วยภาพจากดาวเทียมในรายละเอียดสามารถ นำไปใช้วางแผนการจัดการที่ดิน การตรวจสอบแก้ไขขอบเขตของอุทยานเพื่อความเหมาะสมในการอนุรักษ์ การศึกษาวิจัยด้านธรณีสัณฐานคาสต์และวิวัฒนาการของชายทะเลได้เป็นอย่างดี

005

อุทยาน แห่งชาติเขาสามร้อยยอด ตั้งอยู่ในเขตอำเภอกุยบุรี และอำเภอปราณบุรี ห่างจากหัวหินลงมาทางใต้ประมาณ 63 กม. ตามตำนานของเทือก เขาสามร้อยยอด เล่ากันว่า พื้นที่แถบนี้เคยเป็นทะเลมีเกาะใหญ่น้อยอยู่มากมาย ในสมัยนั้นมีขบวนเรือ สำเภาจีน แล่นผ่านมา และประสบกับ ลมพายุ มรสุมจนเรืออับปางคนบนเรือที่รอดชีวิตได้ไปอาศัยอยู่ตามเกาะต่างๆ จำนวน 300 คนจึงเรียกว่า “เกาะสามร้อยรอด” ต่อมาเพี้ยน เป็น “เขาสามร้อยยอด” จนทุกวันนี้ อุทยานแห่งชาติ เขาสามร้อยยอด มีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 98 ตารางกิโลเมตร หรือ 61,300 ไร่ ลักษณะภูมิ ประเทศประกอบด้วยภูเขา หินปูนสลับซับซ้อน มีที่ราบน้ำท่วมถึงอยู่ริมชายฝั่งทะเล เป็นที่อาศัยของนกนานาชนิด ซึ่งมีมากในช่วงเดือน พฤศจิกายนถึงกุมภาพันธ์ ได้รับการประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติเมื่อวันที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2509 และเป็น อุทยานแห่งชาติประเภทชายฝั่งทะเลแห่งแรกของประเทศไทย

GE_Samroiyod

ที่มา : หนังสือธรณีสัณฐานประเทศไทยจากห้วงอวกาศ (หน้า 182 – 184)

        :  http://www.paiduaykan.com/76_province/central/prachuapkhirikhan/samroiyod.html

รวบรวมเนื้อหาโดย ณัฐพล สมจริง

MAP_Samroiyod

Copyright © 2018 LEARN : อาณาจักรภูมิสารสนเทศ อาณาเขตแห่งการเรียนรู้

LEARN