Spatial Statistics

หัวข้อนี้ผมต้องการเขียนเรื่องเกี่ยวกับ Spatial Statistics ตั้งแต่เบื้องต้นโดยใช้การอธิบายแบบง่ายๆ

ซึ่งโดยปรกติแล้วนิสิต นักศึกษาที่เรียนมาทางด้านภูมิศาสตร์ ต้องเรียนเกี่ยวกับเรื่อง สถิติมาบ้าง

แต่อาจจะไม่ได้เข้าใจอย่างจริงๆ จังๆ ไม่สามารถคิดได้ว่าจะนำสถิติมาประยุกต์ในการวิจัยด้านภูมิศาสตร์ได้อย่างไร

โดยในการทำงานวิจัยหรือการศึกษาโครงการอะไรสักอย่างหนึ่ง เราำจำเป็นต้องอ้างอิงค่าสถิติต่างๆ ค่าความเชื่อมั่น ถึงจะทำให้งานวิจัยของเรามีคุณค่า โดยผมจะเขียนศัพท์ ตามที่นึกได้ หรือผมสนใจอยากจะรู้นะครับ ไม่ได้เรียงลำดับเท่าไหร่

ซึ่งในเบื้องต้น ผมจะเริ่มตั้งแต่เรื่องค่ากลางของข้อมูล ละกันครับ

ค่ากลางของข้อมูล เป็นค่าที่ใช้แทนข้อมูลทั้งหมดเพื่อความสะดวกในการสรุปเกี่ยวกับข้อมูลชุดนั้นๆ มีที่สำคัญ 3 ชนิด คือ

1. ค่าเฉลี่ยเลขคณิต (Mean)

2. ค่ามัธยฐาน (Median)

3. ค่าฐานนิยม (Mode)

ค่าเฉลี่ยเลขคณิต

หาได้จาก ผลรวมของข้อมูล หารด้วย จำนวนข้อมูลทั้งหมด

1

2

ผมใช้ excel คำนวนนะครับ ถือว่าเรียน excel เบื้องต้นไปด้วยเลย

วิธีการคิดเอา ส่วนสูงของทุกคนมาบวกกัน จะได้เท่ากับ 1,701 เมื่อหารกับ จำนวนคน คือ ได้เท่ากับ = 170.1

สรุปคนกลุ่มนี้สูงเฉลี่ย 170.1 ซม.

ค่ามัธยฐาน

คือการนำเอาชุดข้อมูลมาเรียงลำดับจากมากไปน้อย แล้วหาค่ากึ่งกลางของข้อมูลทั้งหมด

และหาตำแหน่งมัธยฐานซึ่งหาได้จาก สูตร (n+1) /2

จากตัวอย่างเดิม ถ้าเอามาเรียงลำดับจะได้

155 156 165 168 170 173 174 176 180 184

ในตัวอย่างตำแหน่งมัธยฐานก็คือ  (10+1) /2 = 5.5

ดังนั้นตำแหน่งมัธยฐานคือตำแหน่งที่ 5.5 คือ ข้อมูลระหว่าง 170 และ 173

ก็คือต้องเอาทั้งสองมาหาค่าเฉลี่ยอีกครั้งนึง  = (170+173)/2 = 171.5

สรุปคนกลุ่มนี้สูงโดยมีค่ามัธยฐานเท่ากับ  171.5 ซม.

ค่าฐานนิยม

คือ ข้อมูลใดที่มีความถี่มากที่สุด ในตัวอย่างไม่มีข้อมูลใดซ้ำกันเลย

ดังนั้นข้อมูลชุดนี้ไม่มี ฐานนิยม

ฐานนิยมก็คล้ายการเลือกผู้แทนราษฎร หากใครได้คะแนนที่ประชาชนกาลงคะแนนให้มากที่สุดก็ได้เป็น สส.

(ถ้าไม่ทำผิดกฏเลือกตั้งนะ)

วันนี้พอแค่นี้ก่อน แล้วจะมาต่อวันหลัง

ที่มา : https://geo2ass.wordpress.com

Copyright © 2018 LEARN : อาณาจักรภูมิสารสนเทศ อาณาเขตแห่งการเรียนรู้

LEARN