การใช้งานโดรนเชิงประยุกต์ในปัจจุบันและอนาคต

ปัจจุบันการใช้งานอากาศยานไร้คนขับ หรือ​ โดรน ไม่จำกัดเฉพาะด้านการทหารเท่านั้น แต่เป็นที่นิยมใช้อย่างกว้างขวางด้วยระบบการทำงานที่ก้าวหน้าและมีศักยภาพที่น่าประทับใจ ประกอบกับความสนใจของผู้บริโภคที่มากขึ้น ผลักดันให้เกิดการพัฒนาเทคโนโลยีของโดรนมากยิ่งขึ้น ทำให้โดรนมีหน้าที่ช่วยสนับสนุนการดำเนินงานในหลายภาคส่วนด้วยการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ทำให้โดรนมีความแข็งแรงทนทานและมีประโยชน์ต่อสังคมมากขึ้น สามารถบรรทุกของที่มีน้ำหนักมากได้และบินได้ในระยะเวลานานกว่ารุ่นเก่าๆ โดรนถูกพัฒนาระบบเซนเซอร์หลายรูปแบบที่ทำให้โดรนสามารถปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพและแม่นยำมากขึ้น

โดรนมีส่วนร่วมในการปฏิบัติงานทุกภาคส่วนแทนมนุษย์ โดยเฉพาะอุตสาหกรรมการเกษตร บทความนี้กล่าวถึง 9 รูปแบบการใช้งานโดรนที่แสดงศักยภาพที่น่าประทับใจ

1.การบันทึกภาพทางอากาศ การบันทึกภาพทางอากาศในบริเวณที่มนุษย์ไม่สามารถเข้าถึงได้ ก่อนหน้าที่โดรนจะเป็นที่นิยมในเหล่าอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ๆ ที่มีเงินทุนเพียงพอ จะใช้เฮลิคอปเตอร์ในการบันทึกภาพ แต่ในปัจจุบันเกือบทุกอุตสาหกรรม ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจเล็กรวมไปถึงนักข่าว นิยมใช้โดรนในการบันทึกภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว หรือแม้แต่การสัมภาษณ์แบบตัวต่อตัว เนื่องจากโดรนมีขนาดเล็กทำให้สามารถเข้าถึงพื้นที่ได้ดี

 

2.การค้นหาและช่วยเหลือ พัฒนาการของโดรนในทุกวันนี้ สามารถค้นหาบุคคลสูญหายด้วยระบบเซนเซอร์ตรวจจับความร้อน และปฏิบัติหน้าที่ในที่มืดและอันตราย เทคโนโลยีที่ก้าวหน้านี้ ช่วยลดระยะเวลาในการค้นหาและช่วยเหลืออย่างมาก เป็นตัวช่วยในทางการเคลื่อนกำลังพลของทหารและภารกิจการค้นหาและช่วยเหลือในช่วงสงคราม อีกทั้งสามารถขนส่งเสบียงไปยังสถานที่ ๆ ไม่สามารถเข้าถึงได้อีกด้วย

 

3.ด้านเกษตรกรรม โดรนสำหรับด้านเกษตรกรรมที่สามารถส่งเสริมเหล่าเกษตรกรในหลาย ๆ ด้าน เทคโนโลยีแขนงนี้ถือเป็นการประสบความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่ที่สุดก็ว่าได้ เกษตรกรได้ประโยชน์ทั้งประหยัดเวลาและลดความล้มเหลวในการเพาะปลูกโดยข้อมูลที่ได้จากโดรนนำมาวิเคราะห์และแก้ปัญหา เพียงแค่เรียนรู้และประยุกต์การใช้งานโดรนให้เหมาะตามขนาดของพื้นที่เพาะปลูก นอกจากนี้โดรนยังสามารถช่วยเกษตรกรในการโรยปุ๋ย พ่นยาฆ่าแมลง และรดน้ำพืชตามเวลาที่เหมาะสม

 

4.ด้านการขนส่งทางเรือและทางบก โดรนได้รับการพัฒนาให้สามารถบรรทุกของที่มีน้ำหนักมาก ทำให้สามารถอำนวยความสะดวกแก่การขนส่งทางเรือและทางบก ส่งของถึงผู้รับโดยตรงโดยปราศจากอุปสรรคทางด้านการจราจร ทำให้ลดปัญหาการขนส่งที่ล่าช้า

 

5.ด้านวิศวกรรมศาสตร์ บริษัทด้านวิศวกรรมต่าง ๆ นิยมใช้โดรนในการเฝ้าสังเหตการ์และตรวจสอบงานที่ติดตั้งในสายส่งหรือสายนำสัญญาน ท่อน้ำมัน การบำรุงรักษาต่าง ๆ และอีกมากมาย

 

6.การสร้างแผนที่สามมิติ การใช้งานโดรนในแขนงนี้ ช่วยอำนวยความสะดวกในการดำเนินงานด้านโครงสร้าง การวางแผนสนามบิน การบำรุงรักษาและสิ่งปลูกสร้างต่าง ๆ โดยการบินสำรวจพื้นที่และนำส่งข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 

7.การรักษาความปลอดภัย โดรนช่วยให้มนุษย์ประสบความสำเร็จในการรักษาความปลอดภัยในที่สาธารณะและในสภาวะกดดัน คอยรายงานเหตุอาชญากรรม และยังช่วยดูแลเฝ้าสังเกตการณ์การค้ายาเสพติดและการลักลอบเข้าเมืองที่เขตชายแดน โดรนเปรียบเสมือนกองกำลังที่ฉลาดหลักแหลมที่สามารถปกป้องประเทศชาติได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่งผลให้โดรนกลายเป็นที่นิยมในหลายประเทศและยังคงพัฒนาการใช้งานอย่างไม่หยุดนิ่ง

 

8.การเข้าถึงระบบอินเตอร์เน็ต ลักษณะการใช้งานโดรนที่เป็นที่นิยมและมีความก้าวหน้าอย่างมากคือโดรนสำหรับโลกอินเตอร์เน็ต ถือว่าเป็นหนึ่งใน 9 รูปแบบการใช้งานโดรนที่น่าสนใจมาก Facebook ได้เผยแพร่ว่าจะเริ่มใช้โดรนให้บริการด้านสัญญานอินเตอร์เน็ตในชนบท เนื่องจากอินเตอร์เน็ตเป็นเทคโนโลยีที่สำคัญมากสำหรับมนุษย์ตั้งแต่ศตวรรษที่ 21 และการพัฒนาเป็นไปได้อย่างราบรื่น ดังนั้นในอีกไม่นานจะมีโดรนที่คอยจับสัญญานอินเตอร์เน็ตให้เราได้ใช้อย่างแน่นอน

 

9.การวิจัยและวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ หนึ่งในคุณสมบัติที่สำคัญที่สุดของโดรนคือความคล่องแคล่ว โดรนถูกออกแบบให้มีขนาดเล็กแต่ยังคงประสิทธิภาพที่น่าพึงพอใจอยู่ ทำให้สามารถเข้าถึงสถานที่ ๆ แคบหรือไม่สามารถเข้าถึงได้โดยมนุษย์ได้อย่างง่ายดาย อย่างเช่นช่องแคบหุบเขา หรือขณะที่เกิดปรากฏการณ์ธรรมชาติ แค่เพียงติดกล้องที่คุณภาพสูงไว้กับโดรนและปล่อยให้โดรนบันทึกข้อมูลที่เราต้องการ เพื่อนำมาวิจัยและวิเคราะห์ต่อไป

 

ที่มาบทความ : บทความโดย Liza Brown, Drone Applications at Present and in the Future      บันทึก : เมื่อวันที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2560
สืบค้นจาก : https://filmora.wondershare.com/drones/drone-applications-and-uses-in-future.html

Copyright © 2018 LEARN : อาณาจักรภูมิสารสนเทศ อาณาเขตแห่งการเรียนรู้

LEARN