บึงกะโล่ จังหวัดอุตรดิตถ์ (Bung Kalo)

Thailand from Thaichote Banner

]

บึงกะโล่  เป็นธรณีสัณฐานของหนองน้ำที่เกิดหลังคันดินธรรมชาติของแม่น้ำน่าน บริเวณบึงปรากฏชัดเจนในภาพถ่ายจากดาวเทียมไทยโชต มีรูปร่างคล้ายสามเหลี่ยม พื้นที่ซึ่งเป็นน้ำมีประมาณ 12,695 ไร่ จากภาพจะเห็นการตื้นเขินของบึงจากแม่น้ำน่านมาทางทิศตะวันออกสู่บริเวณที่เป็นบึง พื้นที่ซึ่งตื้นเขินขึ้นได้มีการทำการเกษตร ด้านตะวันออกของบึงริมฝั่งเป็นแนวค่อนข้างตรงมีความลึกมากกว่าด้านตะวันตก ด้านใต้ซึ่งเป็นยอดแหลมอยู่ใกล้ชิดกับส่วนโค้งตวัดของแม่น้ำน่านมากที่สุด ลักษณะเช่นนี้ขี้ให้เห็นว่าแม่น้ำน่านยังคงนำตะกอนมาทับถมบึงกะโล่อยู่ทุกครั้งที่มีน้ำท่วมล้นตลิ่ง

GE-Bung Kalo

บึงกะโล่ หรือบึงทุ่งกะโล่ หรือ ทุ่งกะโล่ เป็นแหล่งเก็บกักน้ำตามธรรมชาติที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในจังหวัดอุตรดิตถ์ สถานที่แห่งนี้ มีอาณาบริเวณกวา้งขวางกว่า 7,500ไร่ หากจะเปรียบเทียบ ก็เปรียบได้กับเขตเทศบาลเมืองอุตรดิตถ์

การพัฒนาเมืองอุตรดิตถ์ในช่วง 50-60 ปี ที่ผ่านมา เน้นการเจริญเติบโตของชุมชนเมืองฝั่งทิศตะวันตก โดยมีหน่วยงานราชการและศูนย์กลางสถานศึกษาเป็นจุดเร้าสำคัญ ปล่อยให้ฝั่งตะวันออก อยู่ในรูปแบบวิถีเรียบง่าย อย่างไทย ๆ ที่คงมีเรื่องราวเล่าของ เสือ กวาง ช้าง ป่าโบราณ และสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ ที่เคยมีเมื่อ ๖๐ กว่าปีก่อน ก่อนจะหายไปหมดในช่วงหลังความเจริญเริ่มคลืบคลานเข้ามาเป็นตำนานผูกผันคนพื้นถิ่นที่แยกไม่ออกกับวิถีที่พึ่งพิงธรร มชาติ

ว่ากันว่าแถบบ้านในตำบลคุ้งตะเภา ทางตอนเหนือของบึงกะโล่ เป็นหมู่บ้านโบราณที่มีประวัติอันยาวนานกว่า 250 ปี นับแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ปู่ย่ามักมีเรื่องราวเล่าขานเกี่ยวกับตำนานทุ่งกะโล่มากมาย เช่น ตำนานเจ้าพ่อ ตำนานป่าไผ่หลวง แต่ทั้งหมดได้สูญไปจากวิถีชีวิตหมดแล้ว จากการถางที่ทำไร่นาในช่วงหลัง เหลืออยู่เพียงตำนานเมืองล่มทุ่งกะโล่ เพียงเรื่องเดียว ที่ยังคงถูกเล่าอยู่ และยังไม่ได้ถูกทำลายหรือพิสูจน์ทราบ เป็นมนต์ขลังที่ยังคงไม่เสื่อมคลายไปจากวิถีสำนึกของคนแถบคนลุ่มน้ำน่านฝั่งตะวันออก

การเกิดบึงกะโล่นั้นสันนิษฐานว่า แผ่นดินทรุดตัวตามแนวรอยเลื่อนซึ่งเป็นเส้นตรงทางด้านตะวันออกเกิดเป็นบึงน้ำขัง เมื่อแม่น้ำน่านไหลออกจากทิวเขาในภาคเหนือ แม่น้ำได้นำเอาตะกอนมาทับถมบริเวณนี้ ส่วนที่เป็นบึงกะโล่คงมีระดับภูมิประเทศที่ลุ่มต่ำกว่าบริเวณอื่น เมื่อมีน้ำท่วมล้นแม่น้ำ จะมีน้ำขังบริเวณที่เป็นบึงกะโล่ ในอดีตบริเวณบึงจะกว้างขวางกว่านี้ เมื่อระดับน้ำในแม่น้ำลดลงน้ำจากในบึงจะไหลออกสู่แม่น้ำ หากสังเกตตรงยอดแหลมของบึงทางด้านใต้จะมีลำธารไปเชื่อมกับแม่น้ำ และเมื่อพิจารณาให้ละเอียดจะพบว่า บึงกะโล่อยู่บนลานตะพักขั้นกลางของแม่น้ำน่าน เพราะจะเห็นขอบคันดินธรรมชาติเป็นแนวโค้งอย่างชัดเจนในภาพถ่ายจากดาวเทียม ส่วนใหญ่อยู่ห่างจากแม่น้ำ บริเวณที่อยู่ติดกับแม่น้ำเป็นลานตะพักขั้นต่ำมีรูปแบบการใช้ที่ดินแตกต่างจากลานพักขั้นกลาง อาจเป็นการใช้ที่ดินเพื่อเพาะปลูกพืชในช่วงฤดูแล้ง ในฤดูฝนน้ำอาจท่วมบริเวณนี้แทบทั้งหมด การที่ลำน้ำน่านมีลานตะพักลึกลงไปเช่นนี้แสดงถึงการถัดลึกลงของแม่น้ำบริเวณนี้ โดยการลดระดับน้ำทะเลหรือการยกตัวของแผ่นดินซึ่งเกิดขึ้นในช่วงเวลาที่ผ่านมาไม่นาน

บึงกะโล่  ภาพจาก www.utdhome.com

บึงกะโล่ ภาพจาก utdhome.com

เรื่องราวเกี่ยวกับบึงกะโล่ (เพิ่มเติม)

ที่มา: หนังสือธรณีสัณฐานประเทศไทยจากห้วงอวกาศ 

Copyright © 2018 LEARN : อาณาจักรภูมิสารสนเทศ อาณาเขตแห่งการเรียนรู้

LEARN