อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ จังหวัดเชียงใหม่

TH_DOIINTHANON

 

GE_DOIINTHANON

ดอยอินทนนท์เป็นภูเขายอดสูงสุดของประเทศไทย มีระดับความสูงประมาณ 2,565 เมตรจากระดับทะเลปานกลาง ลักษณะโดยทั่วไปของดอยอินทนนท์เป็นภูเขาซับซ้อนสูงชันและใหญ่มาก ในภาพจากดาวเทียมจะเห็นสภาพของธารน้ำที่พัฒนาขึ้นมาโดยรอบภูเขา มีสาขาแม่น้ำแผ่ออกไปเป็นแบบรูปทางน้ำกิ่งไม้จนเป็นลักษณะพิเศษของพื้นที่รอบรับภูเขานี้ ลักษณะโครงสร้างทางธรณีวิทยาเป็นแบบซับซ้อน ประกอบด้วยหินแปรจำพวกหินไนส์และหินอัคนีจำพวกหินแกรนิตแทรกตัวดันเข้ามา เชื่อกันว่าดอยอินทนนท์ ประกอบด้วยหินแปรที่เก่าแก่ที่สุดของประเทศแห่งหนึ่ง มีอายุมากกว่า 500 ล้านปีมาแล้ว โดยเฉพาะในบริเวณส่วนยอดของดอย และต่อมามีหินแกรนิตยุคตั้งแต่ 240 ล้านปี จนถึง 50 ล้านปี แทรกตัวดันเข้ามาโดยรอบ จึงดูเหมือนว่าหินแปรซึ่งส่วนใหญ่เป็นหินไนส์ถูกยกตัวขึ้นมาจนเกิดเป็นภูเขาสูงชันขนาดใหญ่ได้ เนื่องจากมีพืชพรรณและสัตว์ใหญ่น้อยหลายหลากชนิดและยังคงสภาพเป็นป่าสมบูรณ์มีทิศทัศน์และภูมิประเทศสวยงาม กรมป่าไม้จึงประกาศให้เป็นเขตอุทยานแห่งชาติ เมื่อวันที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2515

 

002

อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ มีพื้นที่ครอบคลุมอยู่ในท้องที่อำเภอดอยหล่อ อำเภอจอมทองและอำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ มีเนื้อที่ประมาณ 482.4 ตารางกิโลเมตร หรือ 301,500 ไร่ ประกอบไปด้วยภูเขาสูงสลับซับซ้อน มีดอยอินทนนท์ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเทือกเขาหิมาลัย พาดผ่านจากประเทศเนปาล ภูฐาน พม่า เป็นยอดเขาที่สูงที่สุดในประเทศไทย

003 001

 

สภาพภูมิประเทศทั่วไปประกอบด้วยภูเขาสลับซับซ้อน มีดอยอินทนนท์เป็นยอดเขาที่สูงที่สุด สูงจาก ระดับน้ำทะเล 2,565 เมตร[2] ยอดเขาที่มีระดับสูงรองลงมาคือ ดอยหัวมดหลวง สูงจากระดับน้ำทะเล 2,330 เมตร ป่าอินทนนท์นี้เป็นแหล่งกำเนิดของต้นน้ำแม่กลาง แม่ป่าก่อ แม่ปอน แม่หอย แม่ยะ แม่แจ่ม แม่ขาน และเป็นส่วนหนึ่งของต้นน้ำแม่ปิงที่ ให้พลังงานไฟฟ้าที่เขื่อนภูมิพล มีเอกลักษณ์ทางธรรมชาติที่สวยงาม เช่น น้ำตกต่างๆ โดยเฉพาะน้ำตกแม่ยะ ที่ได้ชื่อว่าสวยที่สุดของประเทศ

ดอยอินทนนท์ เดิมมีชื่อว่า “ดอยหลวงอ่างกา” ต่อมาได้ตั้งชื่อตามพระนามของพระเจ้าอินทวิชยนนท์ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ องค์ที่ 7

004

ที่มา : หนังสือธรณีสัณฐานประเทศไทยจากห้วงอวกาศ (หน้า 68 – 69)

        : http://th.wikipedia.org

รวบรวมเนื้อหาโดย ณัฐพล สมจริง

MAP_DOIINTHANON

 

Copyright © 2018 LEARN : อาณาจักรภูมิสารสนเทศ อาณาเขตแห่งการเรียนรู้

LEARN