สะพานพระราม 8

Pharam 8 Map
“สะพานพระราม 8” ข้อมูลจากดาวเทียมไทยโชต ระบบ Pan-sharpened บันทึกภาพเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2555

เมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2538 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชดำริให้กรุงเทพมหานครก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาเพิ่มอีก 1 แห่ง คือ สะพานพระราม 8 เพื่อบรรเทาการจราจรบนสะพานพระปิ่นเกล้ารองรับการเดินทางเชื่อมต่อระหว่างฝั่งพระนครกับฝั่งธนบุรี และเป็นจุดเชื่อมต่อโครงการพระราชดำริตามแนวจตุรทิศ

สะพานพระราม 8 สร้างขนานกับสะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้า เป็นสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาแห่งที่ 13 ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล มีแนวสายทางเชื่อมต่อกับทางคู่ขนานลอยฟ้าบรมราชชนนีข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณสำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ และมูลนิธิชัยพัฒนา เขตบางพลัด บรรจบกับปลายถนนวิสุทธิกษัตริย์ ใกล้กับธนาคารแห่งประเทศไทย เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร

20071127-1053111
สะพานพระราม 8
ที่มา http://www.ktc.co.th/ktcworld/data/uploadimage/20071127-1053111.jpg

สะพานพระราม 8 เริ่มเปิดให้ใช้ตั้งแต่วันที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2545 มีความยาว 475 เมตร โดยช่วงตัวสะพานยาว 300 เมตร และช่วงหลังสะพานยาว 175 เมตร ความสูง 11.50 เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลาง ซึ่งมีความสูงเท่ากับสะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้า นอกจากนี้สะพานพระราม 8 ยังเป็นสะพานขึงแบบอสมมาตรที่ติดอันดับ 5 ของโลก รองจากประเทศเยอรมนี ซึ่งติดอันดับถึง 3 สะพาน โดยนับจากความยาวช่วงของสะพาน

ด้วยข้อมูลจากดาวเทียมไทยโชต ด้านทิศตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยาคือฝั่งพระนครที่มีสะพานพระราม 8 และสะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้าข้ามแม่น้ำฯไปยังฝั่งธนบุรี ฝั่งพระนครมีอาคารบ้านเรือนอาศัยอยู่หนาแน่นดังปรากฏบนภาพเป็นจุดสีน้ำตาล หลังคาที่ปรากฏเป็นสีโทนแดงนั่นคือโบราณสถาน หรือวัดวาอารามซึ่งจากภาพเป็นบริเวณทางตอนเหนือของเกาะรัตนโกสินทร์ ส่วนฝั่งธนบุรียังพอมีปริมาณต้นไม้สลับกับพื้นที่อาคารบ้านเรือนดังปรากฏให้เห็นเป็นสีเขียว ส่วนด้านซ้ายล่างของภาพหรือทางทิศตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยาก็คือกลุ่มอาคารสูง ทิศเหนือของอาคารติดกับคลองบางกอกน้อย ซึ่งบริเวณนี้ก็คือโรงพยาบาลศิริราช

rama-viii-bridge

ที่มา : วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

Copyright © 2018 LEARN : อาณาจักรภูมิสารสนเทศ อาณาเขตแห่งการเรียนรู้

LEARN