สามพันโบก แก่งหินในลำน้ำโขง

ข้อมูลจากดาวเทียมไทยโชต ภาพสีผสมจริง รายละเอียดภาพ 2 เมตร
ข้อมูลจากดาวเทียมไทยโชต ภาพสีผสมจริง รายละเอียดภาพ 2 เมตร

สามพันโบก เป็นแก่งหินหรือกุมภลักษณ์ที่อยู่ใต้ลำน้ำโขง ในอำเภอโพธิ์ไทร จังหวัดอุบลราชธานี เกิดจากแรงน้ำวนกัดเซาะ กลายเป็นแอ่งมากกว่า 3,000 แอ่ง และจะปรากฏให้เห็นในช่วงฤดูแล้งที่น้ำแห้งขอด แก่งหินดังกล่าวก็จะโผล่พ้นน้ำคล้ายภูเขากลางลำน้ำโขง จนชาวบ้านเรียกว่า “แกรนแคนยอนน้ำโขง” ซึ่งปรากฏการณ์นี้จะเกิดขึ้นตั้งแต่ประมาณเดือนตุลาคม – พฤษภาคม ซึ่งหลังจากนั้นจะมีน้ำหลากมาท่วมโบกเหล่านั้นจมหายไปอยู่ใต้แม่น้ำทั้งนี้ ที่เรียกว่า “สามพันโบก” เพราะบนแก่งหินมีแอ่งน้ำขนาดเล็กใหญ่จำนวนมากกว่า 3,000 แอ่ง (คำว่า “โบก” เป็นภาษาลาว แปลว่า “แอ่ง”) จึงเรียกที่นี่ว่า สามพันโบก

Credit : guideubon.com

ลักษณะทางธรณีวิทยามีลักษณะเป็นแก่งหิน ส่วนใหญ่เป็นหินทราย หินทรายปนกรวด และหินกรวดมนของหมวดหินภูพานที่ถูกกัดเซาะโดยน้ำ เป็นเวลานับล้านปี จนกลายเป็นพื้นที่ที่มีประติมากรรมธรรมชาติอันแปลกตาได้แก่ เกาะ แก่ง หลุม รู แอ่ง โพรง เพิงผา โขดหิน แนวหิน เสาหิน พื้นหิน และลักษณะแปลกประหลาดของธรรมชาติอีกมากมาย

ภูมิประเทศบริเวณสามพันโบก ประกอบด้วยแนวเขาที่มีความลาดชันต่ำ วางตัวในแนวทำมุมกับทิศเหนือ 60 องศาไปทางตะวันออก แนวเขามีช่วงความสูงในช่วง 150 – 200 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง แม่น้ำโขงบริเวณนี้ ไหลไปในทิศตะวันออกเฉียงใต้ โดยมีแนวการไหลในทิศทางที่ตั้งฉากกับการวางตัวของแนวเทือกเขา แม่น้ำโขงมีขอบตลิ่งช่วงความสูง 110 – 120 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง ความกว้างของแม่น้ำโขง วัดจากขอบตลิ่งมีความกว้างมากสุด 1.2 กิโลเมตร แต่ร่องน้ำในช่วงหน้าแล้งโดยทั่วไปมีความกว้างน้อยกว่า 1,000 เมตร และบริเวณบ้านสองคอนร่องน้ำของแม่น้ำโขง มีความกว้างน้อยกว่า 200 เมตร

ข้อมูลจากดาวเทียมไทยโชต ภาพสีผสมจริง บันทึกภาพเมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2554 แนวเส้นสีเข้มวางตัวแนวเหนือใต้คือแม่น้ำโขงซึ่งเป็นพรหมแดนธรรมชาติกั้นระหว่างประเทศไทย-ประเทศลาว โดยด้านทิศตะวันออกของแม่น้ำโขงคือประเทศลาว และทางด้านทิศตะวันตกคือ อำเภอโพธิ์ไทร จังหวัดอุบลราชธานี สามพันโบกเป็นปรากฏการณ์ที่เกิดจากธรรมชาติ บริเวณที่ปรากฏเป็นสีขาวเทาวางตัวตามแนวเดียวกับแม่น้ำโขง ซึ่งก็คือแก่งหินที่โผล่พ้นน้ำขึ้นมาในช่วงเวลาฤดูแล้งนั่นเอง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

Credit : www.onep.go.th
Credit : www.onep.go.th
Credit : guideubon.com
Credit : guideubon.com
Credit : www.hoteldirect.in.th
Credit : www.hoteldirect.in.th
Credit : 19studio.com
Credit : 19studio.com
Credit : www.tlcthai.com
Credit : www.tlcthai.com

Location :

sampunbok map

Copyright © 2018 LEARN : อาณาจักรภูมิสารสนเทศ อาณาเขตแห่งการเรียนรู้

LEARN