โพสต์นี้เน้นถึงเรื่อง Positional accuracy standard ซึ่งยึดตามแนวทางของ ASPRS ซึ่งย่อมาจาก American Society for Photogrammetry and Remote Sensing
ต้องย้อนไปถึง standard ที่ประกาศใช้ในปี 1990 นะครับ คือ ASPRS Accuracy Standards for Large-Scale Maps ซึ่งตอนนี้ GISTDA, FGDS รวมถึงหน่วยงานต่างๆ ในประเทศไทยหลายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องน่าจะยึดตาม ASPRS นี้อยู่ แต่จริงๆ แล้วตอนนี้ ASPRS ได้ ประกาศใช้ standard version ใหม่เรียบร้อยแล้ว คือชื่อ ASPRS Positional Accuracy Standards for Digital Geospatial Data Edition 1, Version 1 – November 2014
กล่าวถึงแนวทางทางของ ASPRS 1990 ก่อนนะครับ ในการปรับแก้ภาพดาวเทียมหรือรูปถ่ายทางอากาศเพื่อนำมาใช้งาน หลีกเลี่ยงไม่พ้นกับการถูกถามว่า ความผิดพลาดเชิงตำแหน่งเท่าไหร่ และสามารถนำไปใช้ผลิตแผนที่ที่มาตราส่วนเท่าไหร่ได้ ซึ่ง ASPRS ได้บอกวิธีการคำนวณไว้คือ ให้หา RMSEx , RMSEy และ RMSEr จากสูตร ดังนี้
ดูจากสูตรคงจะงงเป็นแน่แท้ ผมเลยเอาตัวอย่างตาราง Excel วิธีการคำนวณมาให้ดูด้วย
โดยจุดที่นำมาตรวจสอบหรือที่เรียกว่า Check point นี้จะต้องเป็นคนละจุดกับจุดที่เป็น GCP ซึ่งนำมาใช้ปรับแก้ภาพนะครับ ในตารางจากรูปพิมพ์เป็น GCP แต่ขอให้คิดว่าเป็น CP ละกัน และวิธีการคำนวณทางดิ่งก็คล้ายๆ กัน แต่ไม่ขอเขียนถึงก่อนนะครับ (อย่าไปดูข้ามๆ ไปก่อน) ครั้งนี้พูดถึงเรื่องทางราบอย่างเดียว ซึ่งมีแนวทางที่ใช้กำหนดจุด CP ดังนี้คือ
- ต้องเป็นจุดที่สามารถมองเห็นได้ชัดเจนบนภาพนะครับ สามารถที่จะกำหนดจุดในภาพได้ เช่น มุมจุดตัดถนน รอยต่อระหว่างถนนคอนกรีตกับยางมะตอย เส้นจราจร ขอบสนามฟุตบอล เป็นต้น
- จำนวนจุดที่ใช้ไม่น้อยกว่า 20 จุดให้กระจายทั่วทั้งภาพโดยให้แบ่งภาพเป็น 4 ส่วน โดยในแต่ละ ส่วนจะต้องมีจุดไม่น้อยกว่า 20 {8645ed30ebfee2716765f004cf3f74a8c4ef5e59d5d4d4ef1cf40763c4bdb1fe} ความห่างของจุดสำรวจให้ใช้ระยะ 1 ใน 10 ส่วนของเส้นทะแยงมุมภาพ ดังรูป
จากตาราง excel เมื่อคำนวณค่า RMSEr ออกมาได้แล้ว วิธีการคำนวณ accuracy ที่ 95{8645ed30ebfee2716765f004cf3f74a8c4ef5e59d5d4d4ef1cf40763c4bdb1fe} หรือที่เค้าเรียกกันว่า CE95 ให้ใช้ค่า RMSEr x 1.7308 (NSSDA: National Standard for Spatial Data Accuracy)ส่วน CE90 ก็ให้เอา ค่า RMSEr x 1.5175 (NMAS: National Map Accuracy Standard)เมื่อได้ค่าเหล่านี้เรียบร้อยแล้วก็เอามาใส่รายงานเวลาใครถาม ก็ตอบได้ว่าภาพที่เราทำมาน่าเชื่อถือเพียงใด สรุปนะครับCE95 = 1.7308 x RMSEr
CE90 = 1.5175 x RMSEr
หลายคนมักจะสับสนเวลาที่ถามค่า Accuracy เท่าไหร่ หรือแม้ว่าอาจารย์ที่สอนในมหาวิทยาลัยก็ตามรับรองว่ามีแน่นอน มักจะเอาค่า rmse ที่ได้จากการคำนวณตอนที่สร้าง block คำนวณ หรือ ตอนปรับแก้ภาพวางจุด GCP ซึ่งเรามักจะพูดถึงค่านี้ ทำให้ค่าออกมาไม่เกิน 1 pixel แล้วก็เอามาบอกว่ามีความผิดพลาดเชิงตำแหน่งของภาพเท่าที่คำนวณได้เท่านั้นเท่านี้ จริงๆ แล้วต้องเอามาเทียบกับ Check point นะครับ
ส่วนถ้ามีใครถามว่าภาพนั้นสามารถเอาไปใช้ทำมาตราส่วนได้ที่เท่าไหร่ ก็ตอบไปเกือบจะทันที่ว่า
map scale factor (MSF) = RMSEr x 40
Scale = 1 : MSF
เช่น คำนวณค่า RMSEr = 0.8 ม. หรือ 80 ซม. , MSF = 80 x 40 = 3,200
(อย่าลืมเปลี่ยนหน่วยเป็น เซนติเมตร แม้ว่าตอนคำนวณ RMSEr ใช้หน่วยเป็นเมตร)
ดังนั้น มาตราส่วนที่สามารถทำแผนที่ได้คือ 1 : 3,200 คลาส 1
จบแล้วสำหรับวิธีการตรวจสอบความถูกต้องเชิงตำแหน่งของภาพข้อมูลดาวเทียมหรือรูปถ่ายทางอากาศตามวิธีการของ APSPRS 1990