Field Server (ตอนที่ 7): วันเริ่มต้น/สิ้นสุดของรอบการปลูกข้าว จากกราฟชีพลักษณ์พืชพรรณ

ในตอนที่ผ่านมา เราได้พูดถึงวิธีการวิเคราะห์กราฟชีพลักษณ์พืชพรรณ (Vegetation Phenology) เพื่อทราบถึงช่วงการเพาะปลูก (Cultivation period) แสดงในรูปที่ 1    สำหรับในตอนนี้ จะแสดงวิธีการนำ Sub curves ในช่วงที่เป็นช่วงการเพาะปลูกมากำหนดวันเริ่มต้น/สิ้นสุด (SoS/EoS)# ของแต่ละรอบเพาะปลูก  โดยวิธีการ คือ จะคำนวณพื้นที่ใต้กราฟที่ 5{8645ed30ebfee2716765f004cf3f74a8c4ef5e59d5d4d4ef1cf40763c4bdb1fe} และ 95{8645ed30ebfee2716765f004cf3f74a8c4ef5e59d5d4d4ef1cf40763c4bdb1fe} ของพื้นที่ทั้งหมด เพื่อใช้กำหนดวันเริ่มต้น/สิ้นสุดรอบการเพาะปลูกตามลำดับ และ อีกเงื่อนไขที่ใช้พิจารณาร่วมด้วย คือ ค่าระดับความเป็นสีเขียวต้อง มีค่าไม่น้อยกว่า 40{8645ed30ebfee2716765f004cf3f74a8c4ef5e59d5d4d4ef1cf40763c4bdb1fe} อ้างอิงจากระดับสูงสุด  [1]

Note : #SoS/EoS ย่อจาก Start of growing Season/End of growing Season

07_fig_01

รูปที่ 1 ผลจากการวิเคราะห์หาช่วงการเพาะปลูก (ตอนที่ 6) จะได้ Sub curve ที่ 1 และ 3

        ผลลัพธ์ที่ได้แสดงในรูปที่ 2 (ซ้าย) กราฟ Sub curve ที่ 1 ไม่สามารถกำหนดวันเริ่มต้นได้ เพราะเป็นการเริ่มปลูกตั้งแต่ปีที่ผ่านมา (ระเบียบวิธีที่ใช้จะสามารถจำแนกได้)   มีวันสิ้นสุดที่ DoY = 83   สำหรับกราฟ Sub curve ที่ 3 ในรูปที่ 2 (ขวา) มีวันเริ่มต้นที่ DoY = 163 และวันสิ้นสุดที่ DoY = 249 โดยลำดับ   สถานะของแปลงข้าว โดยพิจารณาจากรูปภาพ Field Server ณ วันเริ่มต้น/สิ้นสุดของแต่ละรอบเพาะปลูก แสดงในรูปที่ 3

07_fig_02

รูปที่ 2 การพิจาณา Sub curve และ กำหนดวันเริ่มต้น/สิ้นสุด (SoS/EoS) ของแต่ละรอบเพาะปลูก

07_fig_03

รูปที่ 3 สถานะแปลงข้าวที่วันเริ่มต้น/สิ้นสุด (SoS/EoS) ของแต่ละรอบเพาะปลูก “นาปรัง จ.สุพรรณบุรี”

07_fig_04

อีกตัวอย่างหนึ่งของการหาวันเริ่มต้น/สิ้นสุด (SoS/EoS) แปลงข้าว“นาปี จ.ร้อยเอ็ด” แสดงในรูปที่ 4 จะเห็นได้ว่า ช่วงต้นปีจะเป็นรูปคลื่นขนาดเล็กซึ่งเป็นวัชพืชที่เกิดขึ้นในนาข้าว ช่วงการเพาะปลูกสามารถตรวจหาได้ในช่วงปลายปี ตั้งแต่ วันที่ DoY = 196 ถึง DoY = 334  และเมื่อเราคำนวณ 5{8645ed30ebfee2716765f004cf3f74a8c4ef5e59d5d4d4ef1cf40763c4bdb1fe} และ 95{8645ed30ebfee2716765f004cf3f74a8c4ef5e59d5d4d4ef1cf40763c4bdb1fe} ของพื้นที่ใต้กราฟ ร่วมกับเงื่อนไขค่าความเขียวที่ 40{8645ed30ebfee2716765f004cf3f74a8c4ef5e59d5d4d4ef1cf40763c4bdb1fe} จะได้ SoS = 218 และ EoS = 312 ตามลำดับ

ในตอนนี้ เราได้แสดงวิธีหาวันเริ่มต้น/สิ้นสุด แต่ละรอบการเพาะปลูกข้าว  ซึ่งถือเป็นพารามิเตอร์ที่สำคัญอันหนึ่ง ที่จะใช้ ติดตาม หรือ พยากรณ์รอบการเพาะปลูก รวมไปถึงผลผลิตของข้าว  วิธีการนี้ ถือเป็นวิธีการอย่างง่ายเท่านั้น (พิจารณาจากพื้นที่ใต้กราฟร่วมกับค่าระดับความเขียว)   หากต้องการผลลัพธ์ที่มีความถูกต้องสูง จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการเก็บข้อมูลและวิจัยเพิ่มเติมอย่างต่อเนื่อง

ในตอนต่อไป เราจะพูดถึง การนำกราฟชีพลักษณ์พืชพรรณที่ได้จาก Field Server มาเปรียบเทียบกับ ข้อมูลดาวเทียม  เพื่อหาค่าสหสัมพัทธ์ หรือ Correlation ระหว่างข้อมูลภาคพื้น Field Server และ ข้อมูลดาวเทียม  อันจะก่อให้เกิดประโยชน์อย่างยิ่งต่อการวิเคราะห์และติดตามการเพาะปลูกข้าวบริเวณกว้าง (Wide region) ครอบคลุมระดับ จังหวัดและภูมิภาค ต่อไป  … แล้วพบกันครับ …

เอกสารอ้างอิง

  1. Soontranon, P. Srestasathiern and P. Rakwatin (2015), “Rice crop calendar based on phenology analysis from time-series images”, in ECTI-CON 2015, Thailand.

Field Server: ระบบเก็บข้อมูลสภาพอากาศและรูปภาพรายวันจากแปลงเกษตรกรรม (ตอนที่ 1) 

Field Server: ระบบเก็บข้อมูลสภาพอากาศและรูปภาพรายวันจากแปลงเกษตรกรรม (ตอนที่ 2)

Field Server: ระบบเก็บข้อมูลสภาพอากาศและรูปภาพรายวันจากแปลงเกษตรกรรม (ตอนที่ 3)

Field Server: ระบบเก็บข้อมูลสภาพอากาศและรูปภาพรายวันจากแปลงเกษตรกรรม (ตอนที่ 4)

Field Server: ระบบเก็บข้อมูลสภาพอากาศและรูปภาพรายวันจากแปลงเกษตรกรรม (ตอนที่ 5)

Field Server: การตรวจหาช่วงเวลาการเพาะปลูก (Cultivation) จากกราฟชีพลักษณ์พืชพรรณ (ตอนที่ 6)

Copyright © 2018 LEARN : อาณาจักรภูมิสารสนเทศ อาณาเขตแห่งการเรียนรู้

LEARN