การแปลงพิกัด MGRS เป็นพิกัด UTM แบบไม่ใช้ software และ ตาราง

โพสต์นี้ผมต้องการแสดงวิธีการจำ การแปลงพิกัดระหว่าง MGRS เป็น UTM หรือ UTM เป็น MGRS ในแบบวิธีของผมนะครับ

ซึ่งผมอาจจะอธิบายอาจจะไม่ได้ละเอียดตั้งแต่ต้น ที่มาหลายๆ อย่างอย่างเช่นพวกค่ากริดโซน ซึ่งผมคิดว่าน่าจะเข้าใจกันอยู่แล้ว

 

สมมติเราได้ค่า MGRS มาค่านึงเช่น  47PML370329 ก่อนอื่นต้องแยกตัวเลขที่ประกอบเป็นชุดนี้ก่อน

แยกได้เป็น   47 P M L 370 329

เอาเป็นว่าผมไม่อธิบายที่มา ของ ตัวเลข 47 P ว่ามายังไงนะครับ ผมอยากเน้นเรื่องการแปลงค่าพิกัดทางทหาร MGRS เป็นพิกัดแบบ UTM มากกว่า

ตัวที่เราสนใจ คือค่า ML370329

โดยถ้าตัวเลขที่ตามมามีผลต่อเรื่องความแม่นยำเชิงตำแหน่ง

…..ถ้าระบุ

47P  เราก็จะรู้ว่า ความแม่นยำอยู่ในช่วง 6 องศา x 8 องศา    (longitude 96-102 ตะวันออก และ latitude 8-16 เหนือ)

47PML  เราก็จะรู้ว่า ความแม่นยำอยู่ในช่วงจัตุรัสแสนเมตร หรือ 100 กิโลเมตร

47PML3 3  เราก็จะรู้ว่า ความแม่นยำอยู่ในช่วงจัตุรัสหมื่นเมตร หรือ 10 กิโลเมตร

47PML37 32 เราก็จะรู้ว่า ความแม่นยำอยู่ในช่วงจัตุรัสพันเมตร หรือ 1 กิโลเมตร

47PML370329 เราก็จะรู้ว่า ความแม่นยำอยู่ในช่วงจัตุรัส 100 เมตร

ถ้าอยากจะให้เราถึงระดับ 10 เมตรต้องทำไง ก็เพิ่มตัวเลขเข้าไปอีกหลักนึง คือ

47PML3705 3295 เราก็จะรู้ว่า ความแม่นยำอยู่ในช่วงจัตุรัส 10 เมตร

ถ้าอยากให้รู้ถึงระดับ 1 เมตรก็เพิ่มอีก 1 หลัก เป็น 47PML 37056 32957

 

นอกเรื่องไปแล้ว ย้อนกลับมาถึง ML370329 ต่อ เราจะหาค่า ML ยังไงถ้าไม่ต้องใช้ Software และ เปิดตาราง

ผมใช้วิธีการจำแบบมีหลักการ ดังนี้

ML  ให้แยกเป็น M และ L นะครับ

M ตัวแรก คือ ในจัตุรัสแสนเมตร ทุกๆ 3 โซนตัวอักษรจะซ้ำกัน และตัวอักษณที่ใช้จะใช้ตั้งแต่ A-Z ยกเว้น  I และ O จะมีตัวอักษรให้ใช้ 24 ตัว เท่ากับโซนละ 8 ตัว

2016-03-11_16-07-03

 

ดังรูปนะครับดังนั้น ค่าพิกัด UTM เมื่อเทียบกับ ตัว M เท่ากับเท่าไหร่ (ค่าในแนวทางตะวันออก-ตะวันออก) ให้เอา โซน 47 หารด้วย 3 นะครับ เหลือเศษ 2 ก็นับไป โดย ตัว A จะเริ่มจาก 100,000 กว่าๆ ของโซน 46 นับไปเรื่อย B คือ 200,000 กว่า นับไปเรื่อยจนตกที่ H 800,000 กว่า ก็เริ่มนับตัวเลขใหม่เป็น I ไม่ใช้ตัดไป เริ่มที่ J 100,000 K 200,000 จนถึง M คือ 400,000 ตอนนี้เราก็ได้ตัวเลขมาแล้ว 1 ตัว  M คือ 4 นำมาแทนในค่า

MGRS   47PML370329   >    UTM 47P  4370XX  L329XX

 

ต่อมาตัวที่ต้องหาต่อคือ L (ค่าแนวเหนือ-ใต้) โดย ตัวอักษรที่นำมาใช้คือ A-V

ยกเว้น I กับ O ทำให้มีอักษรใช้ 20 ตัว ดังนั้นจะมีตัวอักษรซ้ำทุกๆ ช่วง 2,000,000 เมตร

2016-03-11_17-12-27

จริงๆ แล้ว มีตารางที่เป็นแบบเต็มนะครับแต่ผมไม่ใส่มาทั้งหมด อยากให้ใช้ดูประกอบวิธีการจำเท่านั้น

วิธีการหาค่า L นะครับ  ให้ดูตัวเลขโซนนะครับ โดยเริ่มจากเส้นศูนย์สูตรเป็น 0 เมตร นะครับ ถ้าโซนเลขคี่ตัวอักษรจะเริ่มจาก A ขึ้นไปจนถึง V แต่ถ้าเป็นโซนเลขคู่ตัวอักษรจะเริ่มจาก F ขึ้นไป ของเรา 47 เป็นเลขคี่แสดงว่าเริ่มนับตั้วแต่ A ขึ้นไป แสดงว่า A อยู่ในช่วง 0-100,000 เมตร B = 100,000 – 200,000   L ก็จะตกในช่วง 1,000,000 – 1,100,000 (ผมจะใช้วิธีการนับนิ้ว A เท่ากับ 1 , B = 2 …จนถึง L = 11 เสร็จแล้วนำมา ลบ 1 เหลือ 10 ก็คือ 1,000,000 กว่าๆ ไม่ถึง 1,100,000 ตอนนี้เราก็ได้ตัวเลขทั้งหมดแล้วคือ

MGRS   47PML370329   >>     UTM 47P  4370XX  10329XX      ส่วนตัวเลขสองตัวสุดท้ายจะใช้ค่ากึ่งกลางของกริดแทนคือ 50 จะได้เป็น

UTM 47P  437050  1032950 ซึ่งผมลองดูใน app ดูก็ใช้จุดกึ่งกลาง คือ UTM 47P  437050  1032950

ปล. เฉพาะซีกโลกเหนือนะครับ

ที่มา : geo2ass.wordpress.com

Copyright © 2018 LEARN : อาณาจักรภูมิสารสนเทศ อาณาเขตแห่งการเรียนรู้

LEARN