ผมเริ่มเรียน ฝึกงาน และทำงานทางด้านภูมิสารสนเทศมาตั้งแต่ ปี 2540 สมัยตอนเรียนสาขาปฐพีและอนุรักษศาสตร์ คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มาถึงตอนนี้ก็เกือบ 20 ปีแล้ว ได้มีโอกาสใช้งานโปรแกรมภูมิสารสนเทศต่างๆ มากมาย ไม่ว่าจะเป็น ทางด้าน RS, GIS, หรือ GPS ได้แก่ ArcInfo, ArcView, ArcPad, ArcMap, ArcCatalog, ArcScene, QGIS, uDig, MapWindow GIS, MapInfo, MapSource, DNR Garmin, Global Mapper, IDRISI, ERDAS, ER Mapper, AutoCAD Map 3D, และ ENVI แต่นี่ก็เป็นเพียงส่วนหนึ่งเล็กๆ ของโปรแกรมหรือซอฟต์แวร์ทางด้านภูมิสารสนเทศต่างๆ ที่มีการใช้งานอยู่ในโลก
ถ้ามองเฉพาะโปรแกรมทางด้าน GIS ตามเว็บไซต์ http://gisgeography.com/ ที่เขียนหัวข้อ Mapping Out the GIS Software Landscape มี 30 โปรแกรมที่ได้มีการนำเสนอไว้ แต่ที่น่าสนใจก็คือ มีการนำโปรแกรมเหล่านี้มาทำเป็น GIS Software Heat Map ไว้ ซึ่งแสดงถึงโปรแกรมที่ได้รับความสนใจมากที่สุดก็คือ ArcGIS รองลงมาก็คือ QGIS และ Grass GIS ตามลำดับ ในขณะที่โปรแกรมอื่นๆ นั้นมีการใช้งานไม่มากนัก สำหรับในประเทศไทย ก็คงเป็น ArcGIS ที่มีการใช้งานมากเช่นเดียวกัน รองลงมาก็คงจะเป็น QGIS ส่วนโปรแกรมอื่นๆ เช่น MapInfo, AutoCAD Map 3D, MapWindow, ArcView ก็มีการใช้งานกระจายอยู่ทั่วไปตามพื้นที่
มีหลายโปรแกรมที่ผมเคยเห็นและรู้จัก แต่ไม่ได้ทดลองใช้งาน และก็มีอีกหลายโปรแกรมที่ไม่รู้จักและไม่เคยเห็นมาก่อนเลย โปรแกรมเหล่านี้มีทั้งที่เป็น Commercial และ Open Source
1. ArcGIS
2. QGIS
3. GRASS GIS
4. MapInfo (Pitney Bowes)
5. Global Mapper (Blue Marble)
6. GeoMedia (Intergraph/Hexagon Geospatial)
7. Manifold System (Manifold)
8. SAGA GIS
9. Smallworld (General Electric)
10. ILWIS
11. IDRISI (Clark Laboratories)
12. AutoCAD Map 3D and Autodesk Geospatial (Autodesk)
13. GeoDa
14. gvSIG
15. Bentley Map
16. Golden Software (MapViewer, Surfer and Didger)
17. uDig
18. MapWindow GIS
19. Maptitude (Caliper Corporation)
20. MapMaker Pro (MapMaker)
21. Whitebox Geospatial Analytical Tools (GAT)
22. XMap (Delorme)
23. JUMP GIS (OpenJUMP)
24. FalconView
25. SuperGIS (Supergeo Technologies Inc)
26. MicroImages (TNTgis)
27. MapRite (Envitia)
28. TatukGIS
29. OrbisGIS
30. KOSMO
ที่มา : https://gi4u.wordpress.com