ดาวเทียม DEIMOS-2 มีผลิตภัณฑ์แบบ Pan-Sharpened ที่มีรายละเอียดภาพ 75 เซนติเมตร อยู่ 2 ชนิด ได้แก่ Level 1B และ Level 1C ซึ่งมีความแตกต่างกันที่ Level 1B ผู้ใช้งานจะต้องทำภาพออร์โทเอง ในขณะที่ Level 1C เป็นการทำออร์โทมาจากบริษัท
ข้อสงสัยของผมก็คือ แล้วภาพออร์โทที่ทำเองกับที่ได้จากบริษัท มีความแตกต่างในเชิงตำแหน่งกันอย่างไร ในการนำไปใช้แปลการใช้ประโยชน์ที่ดิน และถ้าจะเลือกสั่งซื้อ ที่สามารถนำข้อมูลมาใช้งานได้ทันที ความถูกต้องเชิงตำแหน่งยอมรับได้ ลดขั้นตอนการทำงานของบุคลากร ควรจะเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ Level ไหนดี
เริ่มจากการใช้ภาพ Level 1B ทำออร์โท ซึ่งต้องใช้ข้อมูลประกอบมากมาย ไม่ว่าจะเป็น ภาพถ่ายทางอากาศ, เส้นทางคมนาคม, ค่า RPC, ข้อมูล DEM, การกำหนดโซนพื้นที่ และโปรแกรมทางด้าน Photogrammetry
ผลลัพธ์ที่ได้จากการทำออร์โท ได้เลือกพื้นที่ภูเขา เกษตรกรรม และชุมชน มาแสดงเปรียบเทียบกับเส้นทางคมนาคม และวัดค่าความคลาดเคลื่อนในเชิงตำแหน่งอย่างง่าย โดยพบว่า
ภูเขา มีความคลาดเคลื่อน อยู่ที่ 0 – 10 เมตร
เกษตรกรรม มีความคลาดเคลื่อน อยู่ที่ 0 – 5 เมตร
ชุมชน มีความคลาดเคลื่อน อยู่ที่ 0 – 5 เมตร
Level 1B – ภูเขา 1
Level 1B – ภูเขา 2
Level 1B – เกษตรกรรม 1
Level 1B – เกษตรกรรม 2
Level 1B – ชุมชน 2
ส่วน Level 1C ที่ได้รับภาพจากบริษัทก็นำมาเปิดและซ้อนทับกับเส้นทางคมนาคม แล้วทำการวัดค่าความคลาดเคลื่อนในเชิงตำแหน่ง ซึ่งไม่ต้องผ่านกระบวนการทำงานใดๆ โดยพบว่า
ภูเขา มีความคลาดเคลื่อน อยู่ที่ 10 – 15 เมตร
เกษตรกรรม มีความคลาดเคลื่อน อยู่ที่ 5 – 15 เมตร
ชุมชน มีความคลาดเคลื่อน อยู่ที่ 0 – 5 เมตร
Level 1C – ภูเขา 1
Level 1C – ภูเขา 2
Level 1C – เกษตรกรรม 1
Level 1C – เกษตรกรรม 2
Level 1C – ชุมชน 1
Level 1C – ชุมชน 2
ถ้าเปรียบเทียบความคลาดเคลื่อนในเชิงตำแหน่งของข้อมูลภาพถ่ายจากดาวเทียม DEIMOS-2 ระหว่าง Level 1B และ 1C ซึ่งแน่นอนว่า 1B ให้ความถูกต้องโดยรวมที่ดีกว่า 1C ประมาณ 5 – 10 เมตร แต่เมื่อมองถึงระยะเวลาในการทำออร์โท การเตรียมข้อมูลที่ใช้อ้างอิง และความรู้ความสามารถของบุคลากรในการใช้โปรแกรมประมวลผล ส่วนตัวแล้วคิดว่า การเลือกใช้งาน Level 1C น่าจะเหมาะสมมากกว่า 1B เพราะข้อมูลภาพถ่ายฯ ที่ได้รับมาจะพร้อมใช้งานได้ทันที ไม่ต้องไปทำกระบวนการอะไรเพิ่มเติม ความถูกต้องในเชิงตำแหน่งก็สามารถยอมรับได้ในระดับหนึ่ง ยิ่งถ้าใช้งานในพื้นที่ราบ โดยเฉพาะพื้นที่เกษตรกรรมและชุมชน ก็ให้ความถูกต้องที่ไม่แตกต่างกันมากอย่างเห็นได้ชัดเจน แต่ถ้าเป็นพื้นที่สูงหรือภูเขา ก็จะแตกต่างมากหน่อย
สิ่งที่นำเสนอนี้เป็นการทดสอบเบื้องต้น หากใครต้องการทดสอบเชิงลึก ซึ่งจะใช้ขั้นตอนและกระบวนการที่ซับซ้อนกว่านี้ เพื่อให้ได้คำตอบที่ถูกต้องจริงๆ ในการนำไปใช้งานให้เหมาะสมกับงานโครงการที่ให้ความสำคัญกับความถูกต้องในเชิงตำแหน่งสูง ก็จะดียิ่งขึ้นครับ
ที่มา : https://gi4u.wordpress.com/