การประทุของภูเขาไฟ นับว่าเป็นอีกหนึ่งสัญญาณการเตือนให้มนุษย์ได้ทราบถึงมีการเปลี่ยนแปลง การเคลื่อนที่ ของบริเวณพื้นผิวโลก โดยที่ธรรมชาติเป็นผู้แสดงบทบาทให้มนุษย์ได้รับรู้ เปรียบเสมือนเป็นการเตือนอย่างมีนัยสำคัญให้มนุษย์ตระหนักถึงการเปลี่ยนแปลงที่จะมีขึ้น และซึ่งผลที่จะตามมานั้นอาจจะมีการเกิดภัยพิบัติทางธรรมชาติได้ในอนาคต
หากเกิดการประทุของภูเขาไฟในบริเวณพื้นที่ที่มีความห่างไกล ซึ่งบริเวณไม่มีแม้แต่สิ่งมีชีวิตอย่างเช่นมนุษย์อาศัยอยู่ เช่นบริเวณทางใต้ของมหาสมุทรแอตแอนติก นับว่ายากที่จะมีการรายงานหรือแจ้งเตือนให้ทราบอย่างทันถ่วงที่ เนื่องจากพื้นที่บริเวณนั้นมีสภาพภูมิประเทศที่ไม่เหมาะกับการอาศัยอยู่ของมนุษย์ หรือสิ่งมีชีวิต จึงยากที่จะมีดัชนีชี้วัดทางชีวภาพที่จะสามารถแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ได้
องค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติ หรือ (NASA)ได้มีโครงการ NASA Earth Observatory ขึ้น ทำให้สามารถถ่ายตรวจจับภาพการประทุของภูเขาไฟ Sourabaya ในวันที่ 24 เมษายน 2559 นี่ก็เป็นอีกหนึ่งสัญญาณเตือนทางธรรมชาติที่สามารถบอกแก่มนุษย์ เพื่อให้ทำการหาแนวทางแผนฉุกเฉินเพื่อเตรียมความพร้อมในการรับมือหากเกิดภัยพิบัติทางธรรมชาติได้ทันเวลา


จากภาพแสดงให้เห็นถึงบริเวณพื้นที่สี่เหลี่ยมสีฟ้าสดใส แสดงถึงน้ำแข็งที่ปกคลุมตัวภูเขาไฟ จุดที่มีความร้อนสูงสุด ปรากฎณ์คือจุดสีแดง เปรียบเสมือนส่วนของ ลาวาที่กำลังคุกรุ่นอยู่ เหนือปล่องภูเขาไฟจะพบกลุ่มควันที่พวยพุ่งเป็นสายซึ่งเกิดจากขี้เถ้า ที่มีองค์ประกอบหลักของซัลเฟอร์ไดออกไซด์ ที่เกิดจากการประทุภายในภูเขาไฟ ซึ่งใช้หลักการการตรวจวัดคลื่นรังสีความร้อนที่ติดตั้งบนดาวเทียม ซึ่งบริเวณดังกล่าวจะมีการแผ่รังสีความร้อนออกมา (Infrared, IR)
ในปัจจุบันจึงได้มีการนำเทคโนโลยีอวกาศ การใช้ประโยชน์จากภาพถ่ายดาวเทียม เพื่อทำการสำรวจหาข้อมูลเกี่ยวกับภัยพิบัติทางธรรมชาติ นับว่าจะเป็นฐานข้อมูลสำคัญให้กับเหล่านักวิทยาศาสตร์ นักธรณีวิทยา ตลอดจนมนุษย์ทุกคนนำข้อมูลเหล่านี้ไปใช้ประโยชน์เพื่อหาแนวทางในการป้องกัน รองรับผลกระทบจากภัยพิบัติทางธรรมชาติที่จะเกิดขึ้นในภายภาคหน้าได้
ธรรมชาติลงโทษมนุษย์นั้น ไม่ได้มีอะไรมากมาย นอกจากพิบัติภัยเล็กน้อย..แค่..“จากน้ำ จากลม จากดิน และจากไฟ”… ในฐานะมนุษย์ที่ร่วมกันใช้ทรัพยากรจากธรรมชาติ จึงขอความร่วมมือท่านรักษ์ ดูแล ฟื้นฟู ธรรมชาติเพื่อเป็นการรักษาสมดุลอย่างยั่งยืนต่อไป
ที่มา EarthObservation.nasa.gov
โดย นลินี รังแก้ว
เครื่องมือบันทึกภาพ Landsat8