ดาวเทียมดวงจิ๋ว Episod#3 Cubesat ใครๆก็อยากสร้าง

ดาวเทียมดวงจิ๋ว ทราบหรือไม่ว่าใครๆก็อยากจะมีส่วนร่วมในการสร้างและพัฒนาดาวเทียมชนิดนี้ เพราะความเป็นไปได้ที่จะสร้างได้สำเร็จนั้นสูง เนื่องจากงบประมาณค่าใช้จ่ายในการดำเนินโครงการที่ต่ำกว่าเดิม เวลาที่ใช้ในการพัฒนาน้อยกว่าเดิม และความซับซ้อนก็ไม่ได้มีมากเหมือนดาวเทียมดวงใหญ่ทั่วไป อย่างที่ทราบกันก่อนหน้านี้แล้วว่าคิวบ์แซทสามารถพัฒนาได้ตามความต้องการของ Mission requirements ให้มีขนาดใหญ่เล็กสามารถเลือกขนาดได้ตามยุนิตที่ต้องการ ซึ่งเมื่อยูนิตเพิ่มขึ้นมาก เช่น 6 ยูนิต คิวแซทก็จะสามารถเพิ่มอุปกรณ์การทำงานสำหรับส่วนต่างๆได้มากยิ่งขึ้นเพราะมีพื้นที่วางอุปกรณ์มากขึ้นและน้ำหนักโดยรวมที่ได้รับมากขึ้นด้วย ซึ่งแน่นอนก็จะส่งผลให้ประสิทธิภาพในการทำงานบนอวกาศของคิวแซทตัวนั้นๆ เพิ่มมากยิ่งขึ้นไปด้วยเช่นกัน

NASA ประเทศสหรัฐอเมริกาได้ทุ่มทุนให้กับเด็กนักเรียนในระดับปฐมศึกษาจนถึงระดับมหาวิทยาลัย เพื่อให้เด็กๆนักศึกษาเหล่านั้นสามารถสร้าง พัฒนา และปล่อยดาวเทียมดวงจิ๋วขึ้นสู่วงโครจรได้ โดยการให้ทุนจะรับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมดให้กับโครงการดังกล่าว (1) รูปที่ 1 เป็นภาพของเด็กนักเรียนจาก St.Thomas More Cathedral school กำลังถือดาวเทียมคิวบ์แซท ที่ชื่อ STMSat-1  รูปที่ 2 ภาพเด็กนักเรียนช่วยการตรวจสอบรายละเอียดของดาวเทียม STMSat-1  โดยที่ดาวเทียมดวงนี้ถูกปล่อยจาก Internation space station (ISS)

pic1

รูปที่ 1 เด็กนักเรียนจาก St.Thomas More Cathedral school กำลังถือดาวเทียมคิวบ์แซท ที่ชื่อ STMSat-1 (2)

pic2

รูปที่ 2 เด็กนักเรียนจาก St.Thomas More Cathedral school กำลังตรวจสอบอุปกรณ์ดาวเทียมคิวบ์แซท ที่ชื่อ STMSat-1 (3)

นอกจากนี้ยังมีนักศึกษาหลายกลุ่มที่ลงมือออกแบบและสร้างดาวเทียมคิวบ์แซทด้วยตัวเอง ดังรูปที่ 3 เป็นรูปตัวอย่างของนักศึกษาจาก St.Louis University ซึ่งเป็นภาพขณะที่นักศึกษาทั้งสองกำลังทำการตรวจสอบการทำงานครั้งสุดท้ายก่อนที่จะส่งดาวเทียมชื่อ Argus ขึ้นสู่วงโครจร

pic3

รูปที่ 3 นักศึกษาจาก St.Louis University กำลังตรวจสอบการทำงานของดาวเทียมคิวบ์แซทก่อนปล่อยขึ้นสู่วงโครจร

            นอกจากนี้ดาวเทียมคิวบ์แซทยังได้รับความนิยมอย่างมากในการใช้เพื่อเป็นตัวนำการทดลองทางวิทยาศาตร์ไปทดสอบบนอวกาศ จึงได้มีโครงการใหม่ๆเกิดขึ้นมากมายด้วยเช่นกัน

ประเทศญี่ปุ่นเป็นอีกประเทศที่ให้ความสำคัญกับการให้ความรุ้ ประสบการณ์ แก่เด็กเยาวชนรุ่นใหม่ ให้มีความรู้ความสามารถและสามารถสร้างดาวเทียมขนาดเล็กให้ได้ด้วยตัวเอง ดังจะเห็นได้ว่ามีดาวเทียมดวงจิ๋วจำนวนมากได้ส่งออกสู่อวกาศทั้งจากมหาวิทยาลัยต่างๆ และ จากบริษัททางด้านเทคโนโลยีอวกาศด้วย

นักศึกษาตามมหาวิทยาลัยต่างๆ ได้ให้ความสำคัญในการสร้างดาวเทียมคิวบ์แซทเป็นอย่างมาก เช่น ที่ Nakasuka Lab The university of Tokyo ได้ก่อตั้ง Cubesat team เพื่อการออกแบบและสร้างเพื่อส่งดาวเทียมคิวบ์แซทขึ้นสู่วงโครจร โดยมีอาจารย์ที่ปรึกษาได้ให้ความรู้และร่วมออกแบบและสร้างไปพร้อมๆกัน รูปที่ 3 และ 4 เป็นภาพนักศึกษาที่รวมทีมการสร้างดาวเทียมและภาพการทำงานภายในแลป ตามลำดับ

pic4

รูปที่ 4 สมาชิกในทีมสร้างดาวเทียมคิวแซท

      pic5

รูปที่ 5 ภาพการทำงานในห้องปฏิบัติการ

รูปที่ 6 เป็นตัวอย่างของประวัติการดำเนินการออกแบบและสร้างดาวเทียมคิวบ์แซทตั้งแต่ปี 2003 กระทั้งปี 2012 ของ University of Tokyo โดยเริ่มจากการสร้างดาวเทียมขนาด 1 ยูนิต ที่ชื่อ CubeSat XI-IV และได้พัฒนาตัวต่อๆมาโดยการเพิ่มลูกเล่นในการใช้งานของกล้องถ่ายภาพ ซึ่งทำให้ภาพที่ได้มีความละเอียดค่อนข้างดีอยุ่ที่ประมาณ 30 เมตร ทั้งนี้ในปี 2012 ดาวเทียม Hodoyoshi-1 ได้รับการพัฒนาจนกระทั้งสามารถถ่ายภาพได้ที่ความละเอียดประมาณ 7 เมตร ซึ่งถือว่าเป็นการพัฒนาแบบก้าวกระโดดของดาวเทียมดวงเล็กที่มีประสิทธิภาพสูงขึ้นเรื่อยๆและรวดเร็วมาก

pic6

รูปที่ 6 University of Tokyo’s history of Nano/Pico-satellite development (4)

            ยังมีอีกหลายประเทศทั่วโลกที่ได้เริ่มสร้างและพัฒนาดาวเทียมคิวบ์แซท ประเทศไทยเราก็เช่นเดียวกัน  คราวหน้ามารู้จักกับดาวเทียมจิ๋วมากขึ้นใน ดาวเทียมดวงจิ๋ว episod#4

Reference

The Miles CubeSat Might Be the Next Satellite Sent to Mars

(1) http://www.techinsider.io/cubesats-tubesats-make-satellites-affordable-2016-2/#partly-because-theyre-so-small-cubesats-only-cost-about-100000–cheap-in-comparison-to-the-minimum-50-million-it-usually-costs-to-launch-a-satellite-into-space-1

(2) http://www.nasa.gov/feature/elana-ix

(3) http://www.theregister.co.uk/2016/05/17/iss_cubesats_launch/

(4) http://www.unoosa.org/pdf/pres/copuos2012/tech-23.pdf

Copyright © 2018 LEARN : อาณาจักรภูมิสารสนเทศ อาณาเขตแห่งการเรียนรู้

LEARN