การติดตามการเปลี่ยนแปลงเชิงพื้นที่ของป่าชายเลนในลุ่มน้ำปากพนังด้วยข้อมูลดาวเทียม LANDSAT 5 TM และระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์
Assessment of Mangrove Spatial Change Using LANDSAT 5 TM data and GIS in Pakphanang Basin
ภาคใต้ของประเทศไทยมีพื้นที่ป่าชายเลนเหลืออยู่มากที่สุด แต่หลายปีที่ผ่านมาได้มีการทำลายป่าชายเลนลงเป็นจำนวนมาก ทำให้ต้องมีการฟื้นฟูพื้นที่ป่าชายเลนให้กลับมามากขึ้น จึงจำเป็นต้องทำการศึกษาสภาพความเปลี่ยนแปลงของพื้นที่
วัตถุประสงค์
1) ใช้เทคโนโลยีข้อมูลจากดาวเทียมและระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ ติดตามการเปลี่ยนแปลงเชิงพื้นที่ของป่าชายเลนในลุ่มน้ำปากพนัง
2) ใช้เป็นแนวทางในการจัดระบบการใช้ที่ดินที่เหมาะสมของพื้นที่
ข้อมูลนำเข้า
1) แผนที่ภูมิประเทศ มาตราส่วน 1:50,000 ปี พ.ศ. 2517 และ พ.ศ. 2542
2) ข้อมูลเชิงตัวเลขภาพถ่ายดาวเทียม LANDSAT 5 TM วันที่ 30 พฤษภาคม 6 มิถุนายน ปี พ.ศ. 2538และ 8 มกราคม 9 พฤษภาคม ปี พ.ศ. 2542
วิธีการศึกษา
1) เตรียมข้อมูลเชิงตัวเลขภาพถ่ายดาวเทียม ปรับแก้ความคลาดเคลื่อนเชิงเรขาคณิต และความคมชัดของข้อมูล
2) นำข้อมูลภาพถ่ายดาวเทียมมาสร้างภาพสีผสม ดูความสัมพันธ์ระหว่างสีของภาพถ่ายดาวเทียมกับป่าชายเลนและประเภทข้อมูลของสิ่งปกคลุมดินอื่นๆ
3) แปลภาพถ่ายดาวเทียมด้วยสายตาปี พ.ศ. 2538 และ 2542
4) สำรวจข้อมูลในสภาพพื้นที่
5) วิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดิน โดยวิธีการซ้อนทับข้อมูล วิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินทั้ง 2 ช่วงเวลา (พ.ศ. 2538 และ 2542)
ผลการศึกษา
– ภาพสีผสมข้อมูลภาพถ่ายดาวเทียมดังภาพ แผนที่การใช้ประโยชน์ที่ดินปี พ.ศ. 2538 และ2542 ดังแสดงในภาพ ตามลำดับ
– การเปลี่ยนแปลงเชิงพื้นที่ป่าชายเลนในลุ่มน้ำปากพนังระหว่างปี พ.ศ. 2538 และ 2542 ดังแสดงในตาราง

บันทึกภาพวันที่ 9 พฤษภาคม 2542
แสดงพื้นที่ป่าชายเลนบริเวณอ่าวปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช


ตารางการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินในลุ่มน้ำปากพนังระหว่างปี พ.ศ. 2538-2542

ภาพถ่ายจากดาวเทียมในปีพ.ศ. 2538 และ 2542 แสดงถึงภาพรวมของการใช้ที่ดินหลัก คือ พื้นที่ป่าไม้ ยางพารา นาข้าว ป่าชายเลน และพื้นที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำข้อมูลจากดาวเทียมและระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์สามารถศึกษาและติดตามการเปลี่ยนแปลงของทรัพยากรธรรมชาติซึ่งมีผลต่อสภาพแวดล้อมของลุ่มน้ำปากพนังโดยเฉพาะป่าชายเลนในอ่าวปากพนังที่มีการเปลี่ยนแปลงเชิงพื้นที่ตามความต้องการใช้ที่ดินเพิ่มขึ้น ป่าชายเลนและป่าจาก บริเวณพื้นที่ราบติดชายทะเล และบริเวณที่ราบลุ่มได้ถูกบุกรุกและลักลอบตัดไม้เพื่อทำฟืนและเผาถ่านและใช้พื้นที่เป็นที่อยู่อาศัยและเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ (Coastal Resource Institute,1991) เนื่องจากให้ผลตอบแทนที่สูงกว่ามาก(ปรีชา และคณะ, 2538) จึงเกิดการแพร่ขยายของพื้นที่นากุ้งอย่างรวดเร็วจากปี พ.ศ. 2531ซึ่งมีพื้นที่ 20.86 ตารางกิโลเมตร เป็น 175.54ตารางกิโลเมตร ในปี พ.ศ. 2538 และเพิ่มเป็น205.73 ตารางกิโลเมตร ในปี พ.ศ. 2542(เชาวน์ และคณะ) ผลจากการขยายพื้นที่นากุ้ง ก่อให้เกิดผลกระทบต่อคุณสมบัติทางเคมีและทางกายภาพของดิน และสิ่งแวดล้อมตลอดจนการแพร่กระจายของความเค็มไปสู่พื้นที่นาข้าวและแหล่งน้ำธรรมชาติที่อยู่ใกล้เคียง ทำให้ข้าวเจริญเติบโตไม่ดีและมีผลผลิตต่ำ (ประมุข และคณะ, 2538 ; Tanavud et al., 2001) ดินที่ผ่านการทำนากุ้งที่เสื่อมโทรมควรได้รับการฟื้นฟูเพื่อใช้ประโยชน์อย่างอื่น (สุกาญจนวดี, 2539 ; ไชยสิทธิ์, 2544) สำหรับพื้นที่ป่าเลนบริเวณปากอ่าวปากพนังกลับมีพื้นที่เพิ่มขึ้น เนื่องจากมีตะกอนดินทับถมในอ่าว โดยมีผู้ประเมินว่ามีตะกอนดินทับถมในอ่าวประมาณ1.2 ล้านตัน/ปี โดยที่ 70 {8645ed30ebfee2716765f004cf3f74a8c4ef5e59d5d4d4ef1cf40763c4bdb1fe} ไหลลงสู่อ่าวในฤดูฝน ทำให้อ่าวตื้นเขินเกิดเป็นสันดอน กลายเป็นพื้นที่ดินเลนงอกใหม่ทุกปี(นพรัตน์, 2540) ประกอบกับหน่วยงานของรัฐมีโครงการปลูกป่าชายเลนในบริเวณพื้นที่ดินเลนงอกใหม่ ทำให้พื้นที่ป่าชายเลนบริเวณอ่าวปากพนังจึงเพิ่มขึ้นทุกปี ซึ่งเป็นผลดีต่อระบบนิเวศและสภาพแวดล้อมเป็นอย่างยิ่ง ดังนั้นการติดตามตรวจสอบอย่างต่อเนื่องจึงมีความจำเป็นต่อการวางแผนการจัดการทรัพยากรธรรมชาติอย่างเหมาะสม ข้อมูลจากดาวเทียมสำรวจทรัพยากรธรรมชาติให้ข้อมูลที่ทันสมัย และต่อเนื่องสม่ำเสมอร่วมกับเทคโนโลยีของระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์จะเป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพในการศึกษาติดตาม ตรวจสอบการเปลี่ยนแปลงของทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมต่างๆ รวมถึงการกำหนดเขตประเภทการใช้ที่ดินให้เหมาะสมและให้เกิดประโยชน์สูงสุดในพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนัง
ที่มา : ตำราเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศศาสตร์