การประเมินที่ดินสำหรับหาความเหมาะสมของพืช

ในที่นี้นำเสนอการวิเคราะห์ความเหมาะสมของที่ดินจังหวัดขอนแก่นสำหรับ ข้าว อ้อย มันสำปะหลังและยางพารา วัตถุประสงค์เพื่อบูรณาการคุณภาพที่ดิน ที่มีผลกระทบต่อพืชต่างๆ โดยเปรียบเทียบความต้องการของพืช กับคุณภาพที่ดิน โดยใช้วิธีของ FAO

วิธีการศึกษา

1) วิเคราะห์ความต้องการคุณภาพที่ดินหรือปัจจัยของพืชแต่ละชนิด

2) จัดสร้างฐานข้อมูลของคุณภาพที่ดิน

3) บูรณาการคุณภาพที่ดินด้วยระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ตามเงื่อนไขของแบบจำลอง

4) เปรียบเทียบคุณภาพที่ดินกับความต้องการของพืช

5) จัดทำแผนที่ความเหมาะสมของพืช

ภาพแสดงขั้นตอนการศึกษา ที่มา : Paiboonsak, S. and Mongkolsawat, C. (2004)
ภาพแสดงขั้นตอนการศึกษา
ที่มา : Paiboonsak, S. and Mongkolsawat, C. (2004)
ภาพแผนที่แสดงพื้นที่เหมาะสมสำหรับปลูกข้าว อ้อย มันสำปะหลัง และยางพารา ที่มา : Paiboonsak, S. and Mongkolsawat, C. (2004)
ภาพแผนที่แสดงพื้นที่เหมาะสมสำหรับปลูกข้าว อ้อย มันสำปะหลัง และยางพารา
ที่มา : Paiboonsak, S. and Mongkolsawat, C. (2004)

จะเห็นได้ว่าในการวิเคราะห์ครั้งนี้ได้ใช้ฟังก์ชันในระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ คือ การประมาณค่าในช่วง โดยใช้การวิเคราะห์น้ำฝน และการซ้อนทับแบบคณิตศาสตร์ ด้วยการคูณ

ที่มา : ตำราเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศศาสตร์

Copyright © 2018 LEARN : อาณาจักรภูมิสารสนเทศ อาณาเขตแห่งการเรียนรู้

LEARN