วัตถุประสงค์ของการศึกษาเพื่อแสดงความเปลี่ยนแปลงของพื้นที่ป่า ในอดีตและปัจจุบัน ในที่นี้ได้แสดงพื้นที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูหลวงและแนวกันชน 5 กิโลเมตร
วิธีการศึกษา
ใช้ภาพถ่ายจากดาวเทียมแลนด์แซท/ รูปถ่ายทางอากาศ 3 เวลา ได้แก่ ภาพถ่ายดาวเทียมที่บันทึกภาพในปี พ.ศ. 2519 2541 และ 2548 แก้ไขความคลาดเคลื่อนเชิงเรขาคณิต และปรับให้มีค่าพิกัดตรงกันทั้ง 3 วันที่หลังจากนั้นแปลตีความด้วยสายตา และสำรวจภาคสนาม สร้างแผนที่ทั้ง 3 ปี แล้วสร้างฐานข้อมูลทั้ง 3 ปี ด้วยระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ เช่นเดียวกันการศึกษาพื้นที่ป่าไม้ที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น จากนั้นวิเคราะห์ด้วยระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์โดยวิธีซ้อนทับแบบยูเนียน แล้วจึงวิเคราะห์ความเปลี่ยนแปลงเทียบระหว่างปี 2519 กับ 2541 และ 2541 กับ2548 ทำสถิติของการเปลี่ยนแปลงแต่ละชั้นข้อมูล รายงานผลการใช้ประโยชน์ที่ดินแต่ละปี พร้อมทั้งแผนที่การเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินดังกล่าว
ภาพ แสดงลักษณะการใช้ประโยชน์ที่ดินในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูหลวง
ที่มา : ศูนย์ภูมิสารสนเทศเพื่อการพัฒนาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มหาวิทยาลัยขอนแก่น (2549)

ที่มา : Mongkolsawat, C., Putklang, W., Suwanweerakamtorn, R. and Ratanasermpong, S. (2005)

ที่มา : Mongkolsawat, C., Putklang, W., Suwanweerakamtorn, R. and Ratanasermpong, S. (2005)
ที่มา : ตำราเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศศาสตร์