บันทึกนักสำรวจ ที่ 019 “เขากระโดง”

11070422_586286001474260_3101325146744522151_o

เขากระโดงและลาวาหลากเป็นธรณีสัณฐานภูเขาไฟหินบะซอลต์ ตั้งอยู่ที่อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ ห่างจากตัวเมืองบุรีรัมย์ลงไปทางใต้ประมาณ 7 กิโลเมตร จากภาพถ่ายจากดาวเทียมไทยโชตเห็นลักษณะของเขากระโดงและเขาใหญ่เป็นส่วนของปล่องภูเขาไฟ 2 ลูก อยู่ตรงกลางของลาวาหลากหินบะซอลต์อย่างชัดเจน ซึ่งลาวาหลากมีธรณีสัณฐานเป็นเนินแผ่กล้างคลุมพื้นที่ประมาณ 250 ตารางกิโลเมตร มีขนาดกว้าง10 กิโลเมตร ยาว 25 กิโลเมตร ส่วนเนินลาวาหลากอยู่ที่ระดับความสูงประมาณ 150 – 230 เมตร สูงกว่า ภูมิประเทศโดยรอบซึ่งเป็นที่ราบและเนิน รองรับด้วยหมวดหินมหาสารคามที่มีหินเกลือแทรกอยู่โดยทั่วไป และเป็นสาเหตุที่ทำให้บริเวณโดยรอบลาวาหลากและภูเขาไฟกระโดยมีน้ำและดินเค็ม

สีเขียวที่เห็นในภาพถ่ายจากดาวเทียมไทยโชตเป็นป่าไม้ที่ขึ้นอยู่บนเนินและได้กันขอบเขตไว้เป็นป่าสงวน บริเวณเนินดังกล่าวเป็นส่วนของลาวาหลากที่เกิดขึ้นหลังจากการไหลหลากของลาวาหลากชุดแรกและเกิดเป็นธรณีสัณฐานแบบเนินลาวา

ธรณีสัณฐานที่เป็นปล่องภูเขาไฟที่เขากระโดงและเขาใหญ่เห็นได้ชัดเจนในภาพดาวเทียมไทยโชตตรงบริเวณขอบด้านตะวันตกของเนินลาวาหลากที่เกิดขึ้นครั้งหลัง ฐานของปล่องภูเขาไฟทั้งสองอยู่ระดับต่ำกว่ายอดเนินลาวาหลาก แสดงให้เห็นว่าปล่องภูเขาไฟเขากระโดงและเขาใหญ่เกิดระเบิดภายหลังสุดและเย็นตัวเป็นปล่อภูเขาไฟ ปล่องภูเขาไฟกระโดงยังคงเห็นได้ชัดเจนในภาพเป็นรูปกลม ปากปล่องด้านใต้ถูกกัดกร่อนเป็นช่องทางน้ำไหลออก ส่วนปล่องภูเขาไฟเขาใหญ่ระดับความสูง 283 เมตร ปากปล่องด้านตะวันตกถูกกัดกร่อนหมดไปเห็นเป็นเพียงร่องเปิดที่ปากปล่อง

ที่มา หนังสือธรณีสัณฐานประเทศไทยจากห้วงอวกาศ

Copyright © 2018 LEARN : อาณาจักรภูมิสารสนเทศ อาณาเขตแห่งการเรียนรู้

LEARN