
ช่วงนี้เริ่มเข้าหน้าฝนแล้ว เรามารู้จักภัยใกล้ตัวที่มักเกิดขึ้นในช่วงหน้าฝนกันซะหน่อยนะคับ กับ “ดินถล่ม” ภัยเงียบที่ป้องกันได้
ดินถล่มหรือโคลนถล่ม คือ การเคลื่อนที่ของมวลดินและหินลงมาตามลาดเขาด้วยอิทธิพลของแรงโน้มถ่วงโลก และจะมีน้ำเข้ามาเกี่ยวข้องในการ ทำให้มวลดินและหินเคลื่อนตัวด้วยเสมอ ดินถล่มมักเกิดตามมาหลังจากน้ำป่าไหลหลาก ในขณะที่เกิดพายุฝนตกหนักรุนแรงต่อเนื่อง หรือหลังการเกิดแผ่นดินไหว
จากการสำรวจของกรมทรัพยากรธรณีโดยการเก็บข้อมูลทางธรณีวิทยาและสภาพแวดล้อม พบว่าใน 51 จังหวัดทั่วประเทศมีลักษณะพื้นที่เสี่ยงภัยต่อดินถล่มอยู่บริเวณลาดเชิงเขาและที่ลุ่มใกล้เขา โดยเฉพาะอย่างยิ่งหมู่บ้านที่ตั้งอยู่ในบริเวณดังกล่าวมีความเสี่ยงภัยต่อดินถล่มมาก เนื่องจากเมื่อมีพายุฝนตกหนักต่อเนื่องจะทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และดินถล่มตามมาได้ ซึ่งอาจจะทำให้เกิดการสูญเสียชีวิตและทรัพย์สิน ของประชาชน ดังนั้นประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ดังกล่าวจึงควรให้ความสนใจและระมัดระวังเป็นพิเศษ ลักษณะที่ตั้งของหมู่บ้านเสี่ยงภัยดินถล่มมีข้อสังเกตดังต่อไปนี้
– อยู่ติดภูเขาและใกล้ลำห้วย
– มีร่องรอยดินไหลหรือดินเลื่อนบนภูเขา
– มีรอยแยกของพื้นดินบนภูเขา
– อยู่บนเนินหน้าหุบเขาและเคยมีโคลนถล่มมาบ้าง
– ถูกน้ำป่าไหลหลากและท่วมบ่อย
– มีกองหิน เนินทรายปนโคลนและต้นไม้ ในห้วยใกล้หมู่บ้าน
– พื้นห้วยจะมีก้อนหินขนาดเล็กใหญ่อยู่ปนกันตลอดท้องน้ำ
ถ้ารู้อย่างนี้แล้วร่วมเป็นส่วนหนึ่งของการเตือนภัย ด้วยการแชร์! เพื่อเตือนสติครับ ครับพี่น้องชาวไทย
ที่มา กรมทรัพยากรธรณี


