บันทึกนักสำรวจ ที่ 034 “ทำไมทะเลบัวแดง ไม่เป็นสีแดงบนภาพถ่ายจากดาวเทียมไทยโชต”

10446668_596839583752235_3339608913196540031_n

ดาวเทียมไทยโชตมี 2 กล้องที่สามารถบันทึกภาพได้พร้อมกัน และภาพที่ได้มี 2 ลักษณะที่แตกต่างกัน คือ ได้ภาพสี (รายละเอียดภาพ 15 เมตร) และ ภาพขาวดำ (รายละเอียดภาพ 2 เมตร) เพื่อรองรับลักษณะงานที่หลากหลายและต้องการความละเอียดของข้อมูลที่แตกต่างกัน

คำว่า “รายละเอียดภาพ” หรือ “Resolution” หมายถึง ค่าความละเอียดของจุดภาพหรือพิกเซลของภาพ ซึ่งเป็นคุณสมบัติเฉพาะตัวที่แตกต่างกันของดาวเทียมสำรวจทรัพยากร ยกตัวอย่างเช่น รายละเอียดภาพ 2 เมตร หมายถึง 1 พิกเซลของภาพจะครอบคลุม 2×2 เมตรบนพื้นที่จริง เพราะฉะนั้นอะไรก็ตามที่มีขนาดใหญ่กว่า 2×2 เมตรจะสามารถมองเห็นได้ในภาพถ่ายจากดาวเทียมไทยโชตภาพขาวดำ อาทิเช่นบ้านเรือน สนามฟุตบอล พื้นที่เกษตรกรรม ถนน เป็นต้น

แต่ภาพถ่ายดาวเทียมไทยโชตที่ใช้ในรายการ The Surveyor นั้น จะเห็นว่าเป็นภาพสีที่มีขนาด 2×2 เมตร เนื่องจากภาพดังกล่าวนี้ผ่านกระบวนการผสมผสานข้อมูลระหว่างภาพสีและภาพขาวดำ เรียบร้อยแล้ว

เมื่อพิจารณาแล้วเห็นว่า ดอกบัว 1 ดอกมีขนาดเล็กกว่า 2×2 เมตร เพราะฉะนั้นสีที่ปรากฏบนภาพดาวเทียมไทยโชตจึงเป็นสีของใบบัวซะส่วนใหญ่ ซึ่งก็คือสีเขียวนั่นเอง

10626623_596839723752221_2899993217354627625_n

11108332_596839760418884_250306313094145642_n

11430136_596839710418889_6810796949751234296_n10301048_596839720418888_4595008259025690923_n10309375_596839730418887_3200756419085048334_n

Copyright © 2018 LEARN : อาณาจักรภูมิสารสนเทศ อาณาเขตแห่งการเรียนรู้

LEARN