ถ้ำพระยานคร เป็นถ้ำขนาดใหญ่ที่อยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติเขาสามร้อยยอด จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ อยู่ห่างจากหาดแหลมศาลาประมาณ 500 เมตรครับ เมื่อเราเข้ามาในถ้ำแล้ว จุดเด่นของถ้ำนี้ก็คือ พระที่นั่งคูหาคฤหาสน์ครับ ยิ่งถ้าเป็นช่วงยามที่แสงแดงทาบทาสู่พระที่นั่ง จนกระทั่งแสงแดดเคลื่อนตัวผ่านพ้นไป ลำแสงดังกล่าวจะขับให้ตัวพระที่นั่งโดดเด่นสง่าอย่างน่าอัศจรรย์มากครับ พระที่นั่งคูหาคฤหาสน์ เป็นพลับพลาแบบจตุรมุข สร้างในสมัยรัชกาลที่ 5 คราวเสด็จประพาสเมื่อวันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2433 แล้วนะครับคุณผู้ชมภายในถ้ำยังยังมีประติมากรรมที่เกิดขึ้นภายในถ้ำหินปูน เช่น หินงอก หินย้อย สะพานหินธรรมชาติ เสาหิน ที่สำคัญภายในถ้ำยังมีการติดตั้งป้ายสื่อความหมายไว้ให้ท่านได้ศึกษาเรียนรู้อย่างน่าสนใจ
หินงอก คือหินที่เสมือนจะงอกจากพื้นดิน ส่วนหินย้อย คือ หินที่ย้อยลงมาจากเพดานถ้ำ เกิดขึ้นเนื่องจากคุณสมบัติของหินปูนที่สามารถละลายน้ำที่มีสภาพเป็นกรดอ่อนได้
โดยเมื่อน้ำฝนที่รวมกับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ตกลงมาสู่พื้นดินจะมีสภาพเป็นกรดคาร์บอนิกเจือจาง จากนั้นค่อยไหลซึมผ่านรอยแตกของเขาหินปูนเข้าไปในถ้ำ และละลายหินปูนแล้วค่อยๆไหลไปตามเพดานถ้ำ แล้วหยดลงบนพื้น เมื่อน้ำระเหยออกไปก็จะเหลือแต่หินปูนสะสมอยู่บนพื้น เรียกว่า หินงอก แต่ถ้าเกิดการระเหยของน้ำจนหมดก่อนหยดสู่พื้น หินปูนที่เกิดขึ้นจะค้างอยู่ที่เพดานถ้ำ สะสมกันจนเกิดเป็น หินย้อย และวันเวลาผ่านไปเรื่อยๆ หินทั้งสองก็จะค่อยเชื่อมกันจนกลายเป็น เสาหิน
ถ้ำเป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติที่เเกิดจากน้ำใต้ดินหรือน้ำฝนที่มีฤทธิ์เป็นกรดอ่อนๆ ค่อยๆไหลมาตามรอยแตกแยกและกัดเซาะหินปูนวันละนิดวันละหน่อย นับล้านๆๆปี ก็ต้องมีหินบางส่วนหลุดร่วงพังลงมาบ้าง จนกลายเป็นโพลงหรือถ้ำขนาดใหญ่ สำหรับถ้ำพระยานครแห่งนี้นะแรกๆเกิดถ้ำนั้นเชื่อว่ายังไม่มีปล่องด้านบนตรงเพดานแน่นอน แต่อย่างที่บอกว่าปฎิกิริยาการละลายของหินปูนมันมีทุกวันทุกเวลา ผนังถ้ำที่อยู่ด้านบนก็ค่อยๆบางลงเรื่อยๆ จนวันหนึ่งรับน้ำหนักไม่ไหมจึงเพดานถ้ำจึงถล่มลงมา เป็นเศษหินที่กองอยู่ด้านล่าง
สิ่งที่ต้องระมัดระวัง คือในการชมถ้ำ เราต้องไม่สัมผัสกับหินงอกหรือหินย้อยตลอดจนผลึกแร่ในถ้ำเพราะจะทำให้เกิดความเสียหายต่อหินงอกและหินย้อย และทำให้หินงอก หินย้อยและผลึกแร่หยุดการงอกได้