พื้นที่เสี่ยงภัยแล้ง

การจัดทำพื้นที่เสี่ยงภัยแล้งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เนื่องจากภาคตะวันออกเฉียงเหนือเป็นภูมิภาคที่ประสบปัญหาความแห้งแล้งประจำทุกปี สาเหตุหลักมาจากสภาพภูมิประเทศ และภูมิอากาศ ซึ่งจะเกิดฝนแล้งในระหว่างเดือนกุมภาพันธ์-เมษายน และสภาพแห้งแล้งจากฝนทิ้งช่วงเป็นช่วงสั้น คือ ระหว่างเดือนมิถุนายน-กรกฎาคม ผลจากภาวะความแห้งแล้งจะทำให้เกิดไฟป่า พายุฤดูร้อน ทำให้เกิดความเสียหายต่อการดำรงชีพ และผลผลิตทางการเกษตร ทางศูนย์ภูมิสารสนเทศเพื่อการพัฒนาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้จัดทำแบบจำลองพื้นที่เสี่ยงภัยแล้ง วิเคราะห์ภัยแล้งใน 3 ด้าน คือ พื้นที่เสี่ยงภัยแล้งเชิงกายภาพ เชิงอุตุนิยมวิทยา และเชิงอุทกวิทยา ก่อนนำลักษณะความแห้งแล้งของแต่ละด้านมาวิเคราะห์ร่วมกันด้วยซ้อนทับแบบกำหนดค่าน้ำหนักแสดงภาพรวมวิธีการศึกษาดังภาพ

ภาพแสดงแนวทางการวิเคราะห์พื้นที่เสี่ยงภัยแล้ง ที่มา : ศูนย์ภูมิสารสนเทศเพื่อการพัฒนาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มหาวิทยาลัยขอนแก่น (2549)
ภาพแสดงแนวทางการวิเคราะห์พื้นที่เสี่ยงภัยแล้ง
ที่มา : ศูนย์ภูมิสารสนเทศเพื่อการพัฒนาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มหาวิทยาลัยขอนแก่น (2549)

Overlay_01 คือ ผลการซ้อนทับระหว่างชั้นข้อมูลแหล่งน้ำผิวดิน กับพื้นที่ชลประทาน

Overlay_02 คือ ผลการซ้อนทับระหว่างชั้นข้อมูลความหนาแน่นลำน้ำ กับน้ำใต้ดิน

Overlay_03 คือ ผลการซ้อนทับระหว่างชั้นข้อมูลการระบายน้ำของดิน กับการใช้ประโยชน์ที่ดิน

Overlay_04 คือ ผลการซ้อนทับระหว่างชั้นข้อมูลพื้นที่เสี่ยงภัยแล้งเชิงอุทกวิทยากับพื้นที่เสี่ยงภัยแล้งเชิงกายภาพ

ภาพพื้นที่เสี่ยงภัยแล้งภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่มา : ศูนย์ภูมิสารสนเทศเพื่อการพัฒนาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มหาวิทยาลัยขอนแก่น (2549)
ภาพพื้นที่เสี่ยงภัยแล้งภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ที่มา : ศูนย์ภูมิสารสนเทศเพื่อการพัฒนาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มหาวิทยาลัยขอนแก่น (2549)

ผลการศึกษาสามารถแบ่งระดับความเสี่ยงออกเป็น 4 ระดับ คือ เสี่ยงมาก ปานกลาง น้อย และน้อยที่สุด คิดเป็นพื้นที่เท่ากับ 18,957.22, 54,199.16, 46,285.13 และ 49,383.83 ตารางกิโลเมตร โดยพื้นที่เสี่ยงภัยแล้งได้รับอิทธิพลจากปัจจัยความแห้งแล้งเชิงอุตุนิยมวิทยามาก เนื่องจากเป็นตัวกำหนดปริมาณน้ำเข้าในพื้นที่ สำหรับบริเวณที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดภัยแล้งมากปรากฏในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา ชัยภูมิ และพื้นที่บางส่วนของจังหวัดขอนแก่น

ที่มา : ตำราเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศศาสตร์

Copyright © 2018 LEARN : อาณาจักรภูมิสารสนเทศ อาณาเขตแห่งการเรียนรู้

LEARN