ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาเทคโนโลยีด้านการสำรวจรังวัดด้วยดาวเทียมได้มีการขยายตัวอย่างรวดเร็ว จนได้มีการกำหนดคำเฉพาะขึ้นมาที่มีชื่อว่า Global Navigation Satellite System หรือเรียกโดยย่อว่า GNSS เพื่อให้ครอบคลุมกว้างมากขึ้นโดยมิได้จำกัดเฉพาะระบบดาวเทียมจีพีเอสเพียงอย่างเดียว อย่างไรก็ดีจีพีเอสเป็นองค์ประกอบหลักของ GNSS ดังนั้นจึงสามารถใช้จีพีเอสเป็นตัวอย่างที่ใช้ในการอธิบายหลักการการทำงานของ GNSS ได้เป็นอย่างดีนอกเหนือไปจากจีพีเอสแล้ว ระบบดาวเทียมที่ถูกสร้างโดยประเทศรัสเซีย ซึ่งเรียกโดยย่อว่า GLONASS และระบบดาวเทียม GALILEO ซึ่งกำลังจะถูกสร้างโดยกลุ่มประเทศในยุโรป ก็ยังเป็นส่วนหนึ่งของระบบ GNSS นอกจากนี้ GNSS มิได้จำกัดอยู่เพียงแต่ระบบดาวเทียมทั้งสามนี้เท่านั้น การเพิ่มประสิทธิภาพของระบบดาวเทียมที่มีอยู่เดิมด้วยการใช้ระบบอื่นเข้ามาช่วย เช่น การใช้เครื่องส่งสัญญาณดาวเทียมภาคพื้นดิน (Pseudolite) และการใช้ Navigation System (INS) ก็ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของระบบ GNSS ด้วย (เฉลิมชนม์ สถิระพจน์, 2545) เนื่องจาก GNSS มีข้อได้เปรียบหลายๆ ข้อเหนือวิธีการอื่น จึงทำให้มีการใช้ GNSS อย่างแพร่หลาย ดังนั้นในหัวข้อนี้จะยกตัวอย่างของการประยุกต์ใช้ GNSS ในงานด้านต่างๆ
GNSS สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในงานที่หลากหลายตั้งแต่ งานที่ต้องการค่าความถูกต้องทางตำแหน่งในระดับมิลลิเมตรถึงหลายเมตร ดังเช่น งานรังวัดเพื่องานควบคุมและทำแผนที่ งานที่ต้องการจับการเคลื่อนตัวของโครงสร้างทางวิศวกรรม งานที่ต้องการจับการเคลื่อนตัวของเปลือกโลก หรือไม่ว่าจะเป็นการควบคุมเครื่องจักรกลในการทำการเกษตรกรรม งานที่ต้องการติดตามรถยนต์ เรือ หรือเครื่องบิน (Vehicle tracking) งานที่ต้องการหาตำแหน่งของผู้ใช้มือถือ (Mobile positioning) ภาพแสดงตัวอย่างการประยุกต์ใช้ GNSS ในงานด้านต่างๆ ที่กล่าวมาในข้างต้น

ด้วย GPS (Ashkenazi et al., 1997)

ประเทศไทยภายหลังเหตุการณ์แผ่นดินไหวครั้งใหญ่เมื่อ
วันที่ 26 ธ.ค. 2547 ด้วยจีพีเอส (Satirapod et al., 2005)

กับงานติดตามยานพาหนะ
(เฉลิมชนม์ สถิระพจน์, 2545)
ที่มา : ตำราเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศศาสตร์