หลักสูตรการประมวลผลและแปลความหมายข้อมูลจากดาวเทียมสำหรับ กฟผ.

ที่มาของหลักสูตร

บันทึกข้อตกลง ระหว่าง การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย กับ สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชนว่าด้วยความร่วมมือทางวิชาการด้านเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ

ความสำคัญของหลักสูตร

ปัจจุบันเทคโนโลยีการรับรู้จากระยะไกล (Remote Sensing: RS) มีความก้าวหน้าและทันสมัย ทั้งในด้านความหลากหลายของรายละเอียดภาพและความถี่ในการบันทึกซ้ำที่เดิมที่มากขึ้น ข้อได้เปรียบนี้ ทำให้ได้ข้อมูลจากระยะไกลอย่างรวดเร็วตอบสนองความต้องการได้เป็นอย่างดี เป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อการนำมาประยุกต์ใช้ในงานด้านการสำรวจทรัพยากรธรรมชาติและการเกษตรของประเทศไทย หลักสูตรการประมวลผลและแปลความหมายข้อมูลจากระยะไกล มุ่งให้ผู้เรียนได้เรียนรู้เทคโนโลยีการรับรู้จากระยะไกลแบบครบวงจร ตั้งแต่การรับสัญญาณ การจัดเตรียมข้อมูล การประมวลผล การแปลความหมายข้อมูลจากระยะไกลด้วยสายตาและคอมพิวเตอร์ การตรวจสอบผลการจำแนกข้อมูล รวมถึงเทคนิคและวิธีการสำรวจข้อมูลภาคสนาม ตลอดจนการจัดทำแผนที่ เพื่อใช้ประโยชน์ในการติดตาม การเปลี่ยนแปลงทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม อันจะส่งผลให้ได้ข้อมูลเพื่อใช้ในการประกอบการตัดสินใจและวางแผนบริหารจัดการทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป

สิ่งที่ผู้เข้ารับการฝึกอบรมจะได้รับ

  • เข้าใจหลักการพื้นฐานเทคโนโลยีการรับรู้จากระยะไกล
  • เข้าใจขั้นตอนและกระบวนการการประมวลผลและแปลความหมายข้อมูลจากดาวเทียมสำรวจทรัพยากรเพื่อการวางแผนจัดการด้านต่างๆ ได้
  • สามารถใช้เครื่องมือและอุปกรณ์เพื่อการวิเคราะห์และประมวลผลข้อมูลจากระยะไกลได้ อย่างมีประสิทธิภาพ

หลักสูตรนี้เหมาะสำหรับ

ผู้ที่ต้องการเรียนรู้การใช้งานข้อมูลจากระยะไกล เพื่อการสำรวจและติดตามทรัพยากร ผู้ที่มีภารกิจรับผิดชอบด้านการติดตามและจัดการทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมตลอดจนบุคลากรองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและผู้สนใจทั่วไป

เนื้อหาหลักสูตร

Module 1 หลักการพื้นฐานการสำรวจข้อมูลจากระยะไกล (Remote Sensing)

  • ความหมายของการรับรู้จากระยะไกล
  • กระบวนการและองค์ประกอบการรับรู้จากระยะไกล
  • ประเภทและวงโคจรของดาวเทียม
  • คุณลักษณะข้อมูลดาวเทียม
  • เอกลักษณ์เชิงคลื่น (Spectral Signature)

Module 2 การปรับแก้ความคลาดเคลื่อนเชิงเรขาคณิต (Geometric Correction)

  • หลักการแปลตีความข้อมูลจากดาวเทียมด้วยสายตา (Visual interpretation )
  • ปฏิบัติการการแปลตีความข้อมูลจากดาวเทียมด้วยสายตา (Lab Visual interpretation )
  • แหล่งข้อมูลและการเตรียมข้อมูล (Pre-processing and Band Combination)

Module 3 การประมวลผลข้อมูลจากดาวเทียม (Image Processing)

  • การปรับแก้ความคลาดเคลื่อนเชิงเรขาคณิต (Geometric Correction)
  • เทคนิคการเชื่อมต่อภาพ (Image Mosaic) และการตัดภาพ (Subset Image)
  • การวิเคราะห์และแปลตีความข้อมูลจากดาวเทียมด้วยคอมพิวเตอร์
    -หลักการจำแนกประเภทข้อมูลแบบไม่กำกับ (Unsupervised Classification)
    -หลักการจำแนกประเภทข้อมูลแบบกำกับ (Supervised Classification)
  • การประเมินความถูกต้องจากการจำแนกประเภทข้อมูลจากดาวเทียมด้วยคอมพิวเตอร์ (Accuracy Assessment)

ซอฟต์แวร์ที่ใช้ : ERDAS IMAGINE

คุณสมบัติของผู้เข้ารับการฝึกอบรม : สามารถใช้คอมพิวเตอร์ในระดับพื้นฐานได้ดี

จำนวนผู้เข้ารับการฝึกอบรม : ผู้เข้ารับการฝึกอบรม 15 คน โดยพิจารณาตามคุณสมบัติและเกณฑ์การคัดเลือกของ สทอภ.

การประเมินผล
ผู้เข้ารับการฝึกอบรมจะได้รับใบรับรอง โดยต้องผ่านเกณฑ์การประเมินผลการฝึกอบรม ดังนี้
-เข้ารับการฝึกอบรมไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของเวลาเรียนทั้งหมด
-ผ่านการทดสอบตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด
-ปฏิบัติงานที่ได้รับมอบหมายได้ครบถ้วนและมีผลงานผ่านตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด

Copyright © 2018 LEARN : อาณาจักรภูมิสารสนเทศ อาณาเขตแห่งการเรียนรู้

LEARN