แอ่งหนองเวียง

TH_Nongwiangbasin

หนองเวียง หรือที่เรารู้จักกันในนาม เวียงหนองหล่ม เป็นหนองน้ำและบริเวณที่ลุ่มต่ำ รูปร่างยาวตามทิศตะวันออกเฉียงเหนือ – ตะวันตกเฉียงใต้ ปิดล้อมด้วยเนินเขา ยกเว้นด้านตะวันออกเฉียงเหนือเป็นที่ราบเปิดโล่งจนถึงแม่น้ำโขงบริเวณด้านใต้ของ อ.เชียงแสน จ.เชียงราย น้ำในแอ่งหนองเวียงระบายสู่แม่น้ำกกทางทิศตะวันออกตามลำน้ำแม่ลัว แต่ในฤดูน้ำหลาก น้ำจากแม่น้ำกกจะหลากเข้าท่วมไปในหนองเวียงทำให้เกิดบึงน้ำขนาดใหญ่

พื้นที่บริเวณโดยรอบหนองเวียงแสดงร่องรอยของแนวรอยเลื่อนหลายแนว ที่สำคัญได้แก่ แนวรอยเลื่อนที่เป็นแนวยาว วางตัวในทิศตะวันออกเฉียงเหนือ – ตะวันตกเฉียงใต้ ซึ่งก่อให้เกิดลักษณะภูมิประเทศตามแนวรอยเลื่อนอันได้แก่ แม่น้ำกก แม่น้ำบง ผาชันของดอยผาตอง รวมทั้งขอบของหนองเวียงด้านทิศตะวันตกเฉียงเหนือและตะวันออกเฉียงใต้

จากการที่ขอบของหนองเวียงเป็นแนวเดียวกันกับแนวรอยเลื่อน ทำให้สันนิษฐานได้ว่าหนองเวียงเป็นแอ่งที่เกิดจากการทรุดตัวของแผ่นดินตามแนวรอยเลื่อน ซึ่งแต่เดิมเกิดเป็นแอ่งยาวตามแนวรอยเลื่อน แต่ต่อมามีตะกอนมาทับถมบริเวณแอ่งด้านตะวันออกจนตื้นเขิน เหลือส่วนด้านตะวันตกเป็นหนองน้ำ

ปัจจุบันมีการทำถนนเข้าไปในหนองเวียง ถนนเหล่านี้กั้นทางน้ำและกั้นการไหลของน้ำจากแม่น้ำกกที่เข้ามาในหนองเวียงในฤดูน้ำหลาก ทำให้น้ำในหนองเวียงลดปริมาณลง บางส่วนแห้งเป็นแผ่นดิน

003

พื้นที่ชุ่มน้ำเวียงหนองหล่มที่ตั้งอยู่บริเวณรอยต่อระหว่าง ตำบลจันจว้า , ตำบลจันจว้าใต้ , ตำบลท่าข้าวเปลือก อำเภอแม่จัน และ ตำบลโยนก อำเภอ เชียงแสน ซึ่งมีพื้นที่ ประมาณ 34,000 ไร่ ลักษณะเป็นพื้นที่ชุ่มน้ำมีความหลากหลายทางชีวภาพ และสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ เช่น ปลา นก และพืช ต่างๆ บริเวณทิศตะวันตกเฉียงใต้ของพื้นที่เวียงหนองหล่ม มีบ่อน้ำร้อนธรรมชาติ ซึ่งเกิดจากแนวรอยเลื่อนของเปลือกโลก แม่จัน – เชียงแสน ที่ผ่านบริเวณตอนกลางของเวียงหนองหล่ม

“เวียงหนองหล่ม” มีตำนานต่างๆ กล่าวไว้อยู่ 2 แนวทาง คือ บริเวณที่เป็นเวียงหนองหล่มนี้ในอดีตเป็นที่ตั้งของเมืองโยนกนาคพันธ์บุรีฯ แล้วได้ล่มสลายลงเนื่องจากชาวเมืองได้จับปลาไหลเผือก มาแบ่งกันกินภายในเมือง พอตกค่ำก็เกิดฟ้าร้องเสียงดังสนั่น ทำให้เมืองล่มสลายกลายเป็นหนองน้ำไป และอีกแนวทางหนึ่ง กล่าวถึง แม่หม้ายลูกติดที่แต่งงานใหม่โดยที่ลูกชายกับสามีคนก่อนไม่พอใจในการกระทำของแม่ตนเอง “ปลาไหลเผือก” จากแม่น้ำกกได้มาตัวใหญ่เท่าต้นตาล ยาวประมาณ 7 วา นำมาแบ่งกันกินในเมือง พอตกค่ำได้เกิดแผ่นดินดังสนั่นหวั่นไหว 3 ครั้ง จนทำให้เวียงโยนกนครหลวงยุบจมลงเกิดเป็นหนองอันใหญ่ และชาวเมืองที่เหลือได้อพยพไปตั้งบ้านเมืองบริเวณเวียงปรึกษา ริมฝั่งแม่น้ำโขงทางทิศตะวันออกข{8645ed30ebfee2716765f004cf3f74a8c4ef5e59d5d4d4ef1cf40763c4bdb1fe}

Copyright © 2018 LEARN : อาณาจักรภูมิสารสนเทศ อาณาเขตแห่งการเรียนรู้

LEARN