นักวิทยาศาสตร์ต้องการทำ ‘กูเกิล สตรีตวิว’ ขึ้นใหม่โดยใช้โดรน

กูเกิล สตรีตวิว เป็นเทคโนโลยีที่ให้มุมมองภาพแบบพาโนรามาจากตำแหน่งต่าง ๆ ตามถนนหลายแห่งบนโลก แม้กระทั่งภาพฝูงแกะในหมู่เกาะแฟโร จากกล้องภาคพื้นดิน และในขณะที่ดาวเทียมแสดงภาพสเกลใหญ่ของโลก แล้วพื้นที่ว่างระหว่างนั้นล่ะ

เกรกอรี่ ครูซิงเกอร์ นักวิทยาศาสตร์ผู้ทำงานให้กับบริษัทโดรนอย่าง “3D Robotics and Parrot” ได้ก่อตั้งบริษัทให้คำปรึกษาอากาศยานไร้คนขับชื่อ ‘Drone Scholars’ และกำลังทำโครงการโดรนนักวิทยาศาสตร์ประชาชนเรียกว่า ‘Fly4Fall’  เป้าหมายของโครงการคือการสำรวจใบไม้ร่วงทั่วโลกและทดสอบการกระจายข้อมูลโดรน เป้าหมายที่ยิ่งใหญ่ไปกว่านั้นคือการสร้าง กูเกิล สตรีตวิว ด้วยภาพจากโดรน

เหนือกว่าเพียงแค่วิทยาศาสตร์  

เทคโนโลยีจากโดรนช่วยให้นักวิจัยค้นพบ “เมืองที่หายสาบสูญ” และ “เฝ้าดูหมีโพล่าที่อาณาจักรขั้วโลกอาร์ติก” ครูซิงเกอร์ยังกล่าวอีกว่า เราสามารถใช้ประโยชน์จากโดรนในการศึกษาค้นคว้าทางชีวภูมิศาสตร์ หรือการกระจายพันธ์ แต่เพราะอะไรถึงต้องทำให้เจ้าของโดรนทั่วไปหันมาทำสิ่งที่นักวิทยาศาสตร์สามารถทำได้จากอุปกรณ์ที่มีอยู่ นั่นเป็นเพราะสิ่งนี้จะช่วยประหยัดเงินและเวลา แทนที่นักวิจัยต้องขับรถทางไกลไปทุกฟาร์มในมิทเวสท์เพื่อถ่ายภาพ ครูซิงเกอร์ กล่าว นักวิทยาศาสตร์ประชาชนสามารถทำได้โดยใช้เวลาเพียงไม่กี่วัน

Fly4Fall ไม่ใช่โครงการแรกของนักวิทยาศาสตร์ประชาชนในการรวบรวมข้อมูลโดรน ในปี 2016 ศูนย์อนุรักษ์ธรรมชาติแคลิฟอร์เนียได้ให้ประชาชนที่มีโดรนมาร่วมกันเก็บภาพน้ำท่วมในบริเวณฝั่งทะเลของรัฐ แต่การรวบรวมข้อมูลครั้งนั้นไม่ได้เป็นอย่างที่ต้องการเพราะไม่มีใครเก็บภาพสิ่งที่นักวิจัยต้องการ

ครูซิงเกอร์ เข้าใจถึงความลำบากในการเก็บข้อมูลที่สามารถนำมาใช้จริงได้จากนักวิทยาศาสตร์ประชาชน และเขามีวิธีแก้ปัญหาเพียงไม่กี่วิธี วิธีหนึ่งคือการทำแอปพลิเคชั่นเพื่อให้โดรนบินและเก็บภาพที่เหมือนกัน ซึ่งเป็นวิธีที่เพิ่มความสนุกสนานให้กับผู้ร่วมโครงการด้วย

คุณอาจจะบอกว่า “บริเวณที่ต้องการให้เก็บภาพคือบริเวณนี้ ช่วยไปเก็บภาพให้หน่อย” เขากล่าว “หรือคุณอาจจะทำให้สนุกขึ้นมาอีกและให้รางวัลตอบแทนซึ่งเป็นอีกวิธีที่ทำให้คนสนใจมาช่วยทำงานนี้ไม่ใช้เพียงแค่เป็นอาสาสมัครเพื่อการกุศล”

วิธีนี้สามารถนำไปใช้นอกเหนือจากในการทำวิจัยวิทยาศาสตร์เช่นกัน ที่จริงแล้ว ครูซิงเกอร์ ใช้โดรนของเขาบินเหนือบริเวณไฟป่า  ซึ่งทำลายพื้นที่ปลูกไวน์ในแคลิฟอเนียในเดือนตุลาคม เพื่อเก็บภาพสำหรับกรมดับเพลิงท้องถิ่น เขาอัพโหลดภาพพาโนรามาผ่านแอปพลิเคชั่น Hangar  และทำการประมวลผลโดย Pix4d (ตัวอย่างด้านล่าง) แน่นอนว่าการจะทำสิ่งเหล่านี้ในวงกว้างนั้นต้องทำการทดสอบระบบรองรับก่อน ซึ่งทำให้เกิดโครงการ Fly4Fall ขึ้นมา

ในตอนนี้ ครูซิงเกอร์ ได้รับการส่งภาพมากกว่า 12 ชุดข้อมูล และเขาคาดหวังว่าจะสามารถรวบรวมเพิ่มอีก ตอนนี้จำนวนอาจจะดูไม่มาก แต่สำหรับเขา “นี่คือความสำเร็จที่เป็นเครื่องพิสูจน์แนวความคิดนี้ ผมคิดว่าปีหน้าเราจะสร้างเครือข่ายให้โรงเรียนและมหาวิทยาลัยมีส่วนร่วมด้วย”

ไม่ว่าคุณจะอยู่ที่ไหน ถ้าใบไม้บนต้นที่อยู่ใกล้คุณร่วงลงมา คุณสามารถเข้าร่วมกับโครงการ Fly4Fall ได้ทันที โดยคุณเพียงแค่มีโดรน DJI (ดูรายชื่อรุ่นโดรนที่เข้าร่วมได้ที่นี่) และ ไอโฟนหรือไอแพด ดาวน์โหลดแอพพลิเคชั่น Hangar  ถ่ายภาพใบไม้ร่วง 360 องศาและส่งมาที่อีเมล 360@dronescholars.com ด้านล่างแสดงตัวอย่างที่ส่งมาร่วมกับ Fly4Fall จากสก๊อตแลนด์ – วีดีโอเป็นภาพ 360 คุณสามารถรับชมโดยคลิกและเปิดหน้าจอเต็มได้

อย่างไรก็ตาม Fly4Fall เป็นโครงการที่ทำขึ้นเพื่อทดสอบการรวบรวมข้อมุลของโดรนผ่านการคราวนด์ซอส  ครูซิงเกอร์ ต้องการเห็นภาพที่ผู้คนจะส่งมาและปัญหาที่อาจเกิดขึ้น “ผมพยายามที่จะไม่คิดมากจนเกินไปที่จะทำให้ครอบคลุมและมีมาตรฐานเดียวกัน   แต่ผมคิดว่าอีกไม่นานก็ต้องเป็นอย่างนั้น”

โดรนเริ่มเป็นที่แพร่หลายแต่ยังไม่มากนัก — การใช้โดรนส่งของเป็นเพียงแค่ตัวอย่างเดียวที่สื่อกำลังให้ความสนใจอย่างต่อเนื่อง  ซึ่งเป็นที่น่าท้อและรำคาญใจสำหรับกลุ่มคนที่รู้คุณค่าที่แท้จริงว่าโดรนทำอะไรได้บ้าง

“ผมรู้สึกว่าการถ่ายภาพไฟป่าในแคลิฟอเนียเป็นภาพพาโนรามาธรรมดาเพื่อเก็บข้อมูลอย่างรวดเร็ว ทำให้ผมมีความเชื่อว่าโดรนก็สามารถเป็นประโยชน์ได้มากและใครๆก็สามารถใช้โดรนได้” เขากล่าว


ที่มาบทความ : Lauren Sigfusson บันทึก : เมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน 2560
สืบค้นจาก : http://blogs.discovermagazine.com/drone360/2017/11/07/google-street-view-with-drones/#.W2CMPtUzZhE

Copyright © 2018 LEARN : อาณาจักรภูมิสารสนเทศ อาณาเขตแห่งการเรียนรู้

LEARN