Vesta ดาวเคราะห์น้อยที่สว่างที่สุด สุกสว่างที่สุดเท่าที่เคยปรากฏในเดือนมิถุนายน จนสามารถเห็นชัดเจนได้ด้วยตาเปล่า

Vesta เริ่มปรากฏขึ้นในคืนเดือนมืดประมาณวันที่ 5 มิถุนายน ซึ่งจะมองเห็นได้ชัดเจนประมาณตอนเที่ยงคืนในช่วงต้นเดือนมิถุนายนและตอนเวลาสี่ทุ่มครึ่งตอนช่วงปลายเดือน หันหน้าไปทางทิศตะวันออกเฉียงและมองหาดาวเสาร์ที่ส่องสว่างจ้าและ “ป้านน้ำชา” ของราศีธนูเพื่อหาทิศทาง แล้วใช้แผนที่ดาวข้างล่างนี้เสริมโดยผู้เขียน

 

ให้จินตนาการว่าหากคุณมองขึ้นไปยังท้องฟ้าและมองเห็นดาวเคราะห์น้อยด้วยตาเปล่า สิ่งที่คุณสามารถเห็นในเดือนที่กำลังจะมาถึง คือ ดาวเคราะห์น้อยสี่ดวงจะส่องสุกสว่างที่สุดในรอบปี และเป็นโอกาสที่หาได้ยากสำหรับนักสังเกตการณ์ท้องฟ้า

ดาวเคราะห์น้อยที่ใหญ่เป็นอันดับสองในของดาวเคราะห์น้อยหลักและดาวเคราะห์นอกระบบที่เป็นจริง ดาวเคราะห์น้อยมาถึงตำแหน่งที่อยู่ตรงกันข้าม (เป็นมุม180องศา) ในวันที่ 19 มิถุนายน ในขณะที่อยู่ห่างจากโลกเพียง 170.6 ล้านกิโลเมตร ซึ่งเป็นระยะที่ใกล้โลกมากที่สุดเท่าที่เคยปรากฏอย่างน้อยสองทศวรรษ

ปัจจุบันมีขนาดความสว่าง 5.7 ดาวเคราะห์น้อยจะมีขนาดความสว่าง 5.3 ในตำแหน่งที่อยู่ตรงข้าม (เป็นมุม 180องศา) ในวันที่ 19 มิถุนายน มีความสว่างพอที่จะเห็นได้ชัดเจนแม้ท้องฟ้าไม่มืดสนิท ในจังหวะที่โชคดี ดาวเสาร์จะเป็นตัวชี้นำอยู่ใกล้ในตำแหน่ง (เพียง 7.5 องศา ตะวันออกเฉียงใต้) สำหรับนักสังเกตการณ์ ให้สังเกตตำแหน่งความสูงตอนกลางๆทางทิศเหนือ วัตถุท้องฟ้ามืดสลัวลงเนื่องจากการดูดซึมของแสงในชั้นบรรยากาศ ณ ตำแหน่งความสูงที่ต่ำจะทำให้ขนาดความสว่างของดาวเคราะห์น้อยลดลงเท่ากับ 0.4

สำหรับการมองดาวเคราะห์น้อย Vesta ด้วยตาเปล่า จะเริ่มต้นได้ในวันที่ 5 มิถุนายน ขณะที่ตัวดาวเคราะห์จะปรากฏอยู่ในตำแหน่งที่ดีทางท้องฟ้าด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้เพียงแค่ช่วงเวลาสั้นๆก่อนพระจันทร์ขึ้น และสิ้นสุดลงประมาณ 16 กรกฎาคม ขณะที่ถอยกลับไปในขนาดความสว่างที่ 6.0 สุดสายตาเปล่า ช่วงที่ดูได้มากสุดคือตอนที่ดาวเคราะห์น้อยมีความสว่างมากสุดตอนที่ท้องฟ้าปราศจากดวงจันทร์ คือตั้งแต่วันที่ 8-22 มิถุนายน

 


ดาวเคราะห์น้อย Vesta โคจรในทางช้างเผือกช่วงฤดูร้อนระหว่างที่ปรากฏให้เห็นสว่างที่สุดในทศวรรษที่ผ่านมา การที่จะมองหา ต้องเริ่มที่ดาวเสาร์แล้วกวาดสายตามองดูดาวด้วยตาเปล่าหรือกล้องส่องทางไกลไปที่ความสว่าง 3.8 แมกนิจูดกลุ่มดาวราศีธนู ดาวเคราะห์น้อยอยู่ในตำแหน่งที่ 2.5 – 4 องศา ตะวันตกเฉียงเหนือของดาวเสาร์ แม้จะอยู่ในตำแหน่งดาวที่กระจุกอยู่ในราศีธนู ดาวเคราะห์น้อย Vesta ก็มีคู่แข่งในเรื่องความสว่างจากบรรดาดาวที่มีแสงจ้าคล้ายๆกัน ทำให้ง่ายต่อการเห็น วันที่เผยให้เห็นคือตั้งแต่เวลาศูนย์นาฬิกาตามเวลาสากล สำหรับเขตเวลาสหรัฐอเมริกา ให้ลบสี่ชั่วโมงสำหรับเขตเวลาทางตะวันออก Eastern Time; ห้าชั่วโมงนับจากเขตเวลากลาง Central; หกชั่วโมงนับจากเขตเวลาภูเขา Mountain; และเจ็ดชั่วโมงนับจากเขตเวลาแปซิฟิก Pacific ตัวอย่างเช่น วันที่ 15 พฤษภาคม ศูนย์ชั่วโมงเวลาสากลเท่ากับวันที่14 พฤษภาคม เวลา แปดโมงเช้า แก้ไขให้คลิกตรงนี้ หรือในแผนที่เพื่อให้เป็นที่พอใจ ตารางขาวดำเป็นแบบ pdf คุณสามารถพิมพ์ออกมาใช้กลางแจ้งได้

 

ครั้งสุดท้ายที่ดาวเคราะห์น้อย Vesta โคจรเข้ามาใกล้ แต่ไม่เชิงใกล้ซะทีเดียวคือเมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม ปีค.ศ. 2007 มาถึงตำแหน่งที่อยู่ตรงข้าม แล้วมันจึงสลัวลงที่ความสว่าง 5.4 ในระยะห่าง 171.2 ล้านกิโลเมตรจากโลก ผมได้ใช้ความพยายามอย่างมากที่จะดูมันในช่วงเวลานั้นแต่ที่หวังในตอนนี้คือผมควรจะจดบันทึกไว้ดีกว่า และนี่คือสิ่งที่ผมได้จดบันทึกไว้ “มองดูด้วยกล้องและด้วยตาเปล่า มองเห็นลางๆที่ความสว่างประมาณ 6 ตามชายแดน Oph-Sco

ดาวเคราะห์น้อย Vesta เคลื่อนที่ออกมาทางตะวันตกในเดือนมิถุนายนย้อนไปทางกลุ่มราศีธนูใกล้กับสายตาที่กำลังจับจ้องดาวเมฆ M24 ในคืนวันที่ 14-15 ของเดือนมิถุนายน มันจะโคจรผ่านน้อยกว่าครึ่งองศาตะวันออกเฉียงใต้ของกลุ่มดาว M23 ที่สว่างสุกใส ในช่วงเวลาถัดมาของเดือน ดาวเคราะห์น้อย Vesta โคจรต่อไปสู่กลุ่มดาวคนแบกงู Ophiuchus ก่อนโคจรโยกหน้าและกลับมาโคจรตรงตามปกติในช่วงต้นเดือนสิงหาคมก่อนโคจรกลับไปยังกลุ่มราศีธนูในช่วงต้นเดือนกันยายน วันสุดท้ายของฤดูร้อน มันโคจรเลื่อนไป 1 องศาทางตอนใต้ของ Lagoon Nebula

 

พันธกิจด้านอวกาศ Dawn ขององค์การนาซ่าได้ศึกษาเส้นผ่าศูนย์กลางของดาวเคราะห์น้อย Vesta ในระยะใกล้ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม ปีค.ศ. 2011 ถึง กันยายน ปี ค.ศ. 2012 ยืนยันว่าอุกกาบาตประเภทคอนไดร์ทในกลุ่ม HED (Howardites,eucrites และ diogenites ก่อเกิดที่นี่ Dawn ยังได้ค้นพบอีกว่าอุกกาบาตได้สร้างขั้นตอนเบื้องต้นเพื่อแปรสภาพเป็นดาวเคราะห์
NASA / JPL-Caltech /UCAL / MPS / DLR / IDA

 

แสงสว่างของดาวเคราะห์น้อย Vesta สร้างความงุนงงให้กับนักดาราศาสตร์มานับทศวรรษ ดวงจันทร์สะท้อนแสงที่รับมาจากดวงอาทิตย์ 12 เปอร์เซ็นต์ ดาวเคราะห์น้อย Vesta สะท้อนกลับออกมา 43 เปอร์เซ็นต์ อะไรทำให้สว่างถึงขนาดนั้น? มีความเป็นไปได้อย่างน้อยสองอย่าง ไม่เหมือนกับดวงจันทร์และโครงสร้างระบบโซล่าขนาดเล็กที่สุดซึ่งไม่มีชั้นบรรยากาศหรือสนามแม่เหล็ก ดาวเคราะห์น้อย Vesta เผยให้เห็นถึงสภาพดินฟ้าอากาศอวกาศเล็กน้อย สภาพดินฟ้าอากาศอวกาศเกิดขึ้นในขณะที่เกิดลมสุริยะความเร็วสูงและอุกกาบาตขนาดเล็กต่างๆระเบิดออก ชิ้นของหินแร่ขนาดเล็กระเหยออกมา เวลาที่ล่วงเลยมา การระเหยของหินแร่เคลือบหินให้เกิดมันวาวเข้ม

 

ชิ้นหินอุกกาบาต NWA 3147 ที่ตัดออกเป็นแผ่น พบที่ทะเลทรายซาฮารา คับคล้ายกับหินลาวาที่ไหลออกมาจากพื้นผิวดาวเคราะห์น้อย Vesta หินประกอบไปด้วยแร่หินภูเขาไฟและผลึกไพรอกซีน
– Bob King-

 

ยานอวกาศ Dawn ไม่พบสัญญาณสภาพดินฟ้าอากาศต้นแบบบนเปลือกของดาวเคราะห์น้อย Vesta อีกทั้งหินที่นั่นมีเหล็กผสมอยู่น้อยหรือไม่ก็ตัวดาวเคราะห์น้อยได้รับการปกป้องจากสนามแม่เหล็ก ซึ่งจะคอยป้องกันผลกระทบจากพายุสุริยะ การศึกษาเมื่อเร็วๆนี้เกี่ยวกับสนามแม่เหล็กตกค้างในอุกกาบาตที่ได้มาจากดาวเคราะห์น้อยให้หลักฐานทางอ้อมถึงสนามแม่เหล็กที่มีอยู่

เป็นที่น่าเสียดายที่ไม่ได้รับอนุมัติทุนเพียงพอสำหรับจัดหาเครื่องวัดความเข้มข้นของสนามแม่เหล็กให้กับยานอวกาศ Dawn หรือเราอาจมีคำตอบที่ชัดเจนให้กับปริศนานี้ เราไม่รู้ว่าดาวเคราะห์น้อย Vesta มีความร้อนพอในการหลอมละลายไปบางส่วนเมื่ออดีตอันไกลโพ้นและทำให้พื้นผิวดาวและแกนไป ก้าวย่างแรกกับการเดินทางไปสู่สถานะของการเป็นดาวเคราะห์ที่มีดาวพฤหัสฯคอยดักจับไว้ บางทีแกนเต็มไปด้วยเหล็กหลอม พอที่จะก่อให้เกิดสนามแม่เหล็กในช่วงเวลานั้น

แม้ว่าดาวเคราะห์น้อย Vesta มองไม่เห็นด้วยตาเปล่าตรงพิกัดของคุณ การมองผ่านกล้องส่องทางไกลหรือกล้องโทรทัศน์ จะทำให้มองเห็นว่ามันเป็นเหมือนกับ “ดาว” ที่กำลังโคจรผ่านราศีธนูบนทางช้างเผือกคืนแล้วคืนเล่า สัปดาห์แล้วสัปดาห์เล่า มือสมัครเล่นกำลังมองหาความท้าทายที่จะต้องการทำให้ พวกเขามีประสบการณ์สูงสุดเกี่ยวกับ Vesta โดยพยายามดูรูปร่างของดาวเคราะห์น้อย อย่างที่เห็นตามลำดับอันน่าทึ่ง โดย นักดาราศาสตร์ Damian Peach มันโค้งมนเหมือนไข่อย่างเห็นได้ชัด

 

กล้องส่องทางไกลของมือสมัครเล่นสามารถจับภาพรูปทรงของดาวเคราะห์น้อย Vesta ได้หรือไม่? รูปภาพเหล่านี้ – และภาพเปรียบเทียบ – ถูกถ่ายไว้ระหว่างตำแหน่งที่อยู่ตรงข้ามล่าสุดในปีค.ศ. 2007
-Damian Peach-

 

ดาวเคราะห์น้อย Vesta ปรากฎออกมาในขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางหลายขนาดตั้งแต่ 0.20 ถึง 0.69 ขนาดต่ำสุดไม่สามารถมองเห็นด้วยตาเปล่า แต่ดาวเคราะห์แรกเริ่มจะโตขึ้นไปสู่ขนาดใหญ่สุดกับภาพลวงตานี้ หากคุณเห็นดวงจันทร์ของดาวพฤหัสฯเป็นเหมือนกับแผ่นกลมๆ – ไม่ใช่เรื่องยากนักกับกล้องโทรทัศน์ขนาด 6 นิ้ว ที่มีกำลังขยายสูง – คุณอาจจะ ผมบอกว่าแค่ อาจจะ เห็นดาวเคราะห์น้อย Vesta ลองดูในรายละเอียดให้ดี ๆ

ในเดือนมิถุนายน ดวงจันทร์ Galilean สี่ของดาวพฤหัสฯ ปรากฏเส้นผ่าศูนย์กลางดังต่อไปนี้ Ganymede (1.62 นิ้ว), Callisto (1.5 นิ้ว), lo (1.1 นิ้ว), และ Europa (1.0 นิ้ว) ในขณะที่ดวงจันทร์ Europa ดูเล็กมากจริง ๆ ที่ 250เท่า ผมมองเห็นทุกดวงเป็นแผ่นกลมๆด้วยกล้องโทรทัศน์ขนาด 11นิ้ว และ 15นิ้ว ดาวเคราะห์น้อย Vesta ใหญ่กว่าครึ่งหนึ่งของดวงจันทร์ Europa เล็กน้อย สภาพมีรอยบากอยู่ด้านบนผมสงสัยว่ารูปทรงไข่ของดาวเคราะห์น้อยอาจมองเห็นด้วยกล้องโทรทัศน์ 10 นิ้ว ขยายได้ 500 เท่า

ให้รอคืนฟ้าโปร่งในขณะที่ดาวเคราะห์น้อย Vesta โคจรอยู่บนเส้นเมอริเดียนและขยายใหญ่ขึ้นจนกระทั่งชั้นบรรยากาศจะไม่อำนวย ให้เพ่งไปที่สีสัน มือสมัครเล่นบางคน รวมถึงตัวผมเอง สังเกตเป็นสีเหลือง เราอยากได้ยินถึงความพยายามของคุณว่าประสบผลสำเร็จในการดูหรือไม่

 

ให้ใช้แผนที่ scene-setter พร้อมด้วยรายละเอียดแผนที่ดาวเคราะห์น้อยเพิ่มเติมเพื่อดูที่ 16 Psyche (ขนาด 10.5 magnitude) และ 13 Egeria (ขนาด 10.5 magnitude) ในขณะที่คุณรอดาวเคราะห์น้อยขึ้น คุณต้องมีกล้องโทรทัศน์ขนาด 4 นิ้วหรือใหญ่กว่านี้เพื่อการชม
-แผนที่ดาวโดยผู้เขียน-

 

ดาวเคราะห์น้อยที่สว่างไสวอีกหลายดวงที่กำลังโคจรอยู่บนท้องฟ้าช่วงเดือนมิถุนายน เหมือนกับเป็นการอุ่นเครื่องให้กับการชมดาวเคราะห์น้อย Vesta และขยายไปสู่รายชื่อดาวเคราะห์น้อยของคุณ ผมได้รวบรวมเอาแผนที่การค้นหาสำหรับ 16 Psyche และ 13 Egeria สามารถมองเห็นได้ในช่วงเวลาเย็นๆ และ 9 Metis และ 29 Amphitrite สามารถมองเห็นได้หลังเที่ยงคืน เพียงแค่คลิกไปที่ลิงค์เพื่อดูตาราง ดาวต่างๆถูกวางไว้ให้อยู่ในขนาด 11.0 magnitude ยกเว้นในตารางสำหรับ 13 Egeria ซึ่งเผยให้เห็นดวงดาวต่างๆมีขนาดเล็กลงที่ 11.5

รูปแผนที่นี้มีแถบสายหลักดาวเคราะห์น้อยเพิ่มขึ้นมาสองดวงซึ่งอยู่ไม่ห่างจากดาวเคราะห์น้อย Vesta บนท้องฟ้าตอนก่อนรุ่งอรุณ ดาวเคราะห์น้อย 9 Metis ส่องแสงในตำแหน่งที่ขนาด 10.2 แมกนิจูด ในวันที่ 16 มิถุนายน ในขณะที่ดาวเคราะห์น้อย 29 Amphitrite ที่ขนาด 9.9 ในวันที่ 15 มิถุนายน ทั้งสองดวงมองเห็นได้ด้วยกล้องโทรทัศน์ขนาด 3 นิ้ว ภายใต้ท้องฟ้ามืดสนิท ให้คลิกไปที่ลิงค์ข้างบนนี้เพื่อดูตารางในรายละเอียด

ดาวเคราะห์น้อย Vesta จะไม่โคจรเข้ามาใกล้อีกจนกระทั่งราวประมาณปีค.ศ. 2040 ผมตื่นเต้นเหมือนกับคุณที่จะมีโอกาสเห็นอีก หวังว่า ผมจะทำการสังเกตและจดบันทึกได้ดีกว่านี้ในช่วงเวลานั้น


ที่มาบทความ : Bob King, เว็บไซต์ Skyandtelescope บันทึก : เมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม 2561
สืบค้นจาก : https://www.skyandtelescope.com/observing/vesta-2018-opposition/

Copyright © 2018 LEARN : อาณาจักรภูมิสารสนเทศ อาณาเขตแห่งการเรียนรู้

LEARN