หลักสูตร การสร้างแบบจำลองในระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS Modeling)

ความสำคัญของหลักสูตร

ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (Geographic Information Systems: GIS) เป็นเครื่องมือสำคัญที่หลาย หน่วยงาน นำมาประยุกต์ใช้งานในการจัดการและการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพื้นที่ แต่การใช้งานในระดับพื้นฐานอาจไม่เพียงพอต่อการแก้ปัญหาเชิงพื้นที่ ซึ่งประกอบด้วยปัจจัยและข้อมูลจำนวนมาก รวมทั้งอาจมีกระบวนการที่ซับซ้อน การเรียนรู้การวิเคราะห์ข้อมูลของระบบ GIS ขั้นสูง โดยเฉพาะการสร้างแบบจำลองในระบบ GIS เป็นวิธีการที่จะตอบสนองต่อกระบวนการทำงานเชิงพื้นที่ที่ใกล้เคียงกับความเป็นจริง และสามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้หลากหลายสาขา หลักสูตร การสร้างแบบจำลองในระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ เป็นหลักสูตรที่มุ่งเน้นการสร้างแบบจำลองเพื่อสนับสนุนการวิเคราะห์เชิงพื้นที่ โดยเรียนรู้ตั้งแต่หลักการการสร้างแบบจำลองและพื้นฐานความรู้อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ Introduction of GIS Modeling, Spatial Data Quality and Uncertainty, Spatial Database, การวิเคราะห์แบบรูปเชิงพื้นที่ (Spatial Pattern Analysis) และการประมาณค่าเชิงพื้นที่ (Spatial Interpolation) ซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญในการสร้างแบบจำลองเชิงพื้นที่ นอกจากนี้เนื้อหาหลักสูตรจะเน้นการประยุกต์ใช้แบบจำลอง GIS ด้วยวิธีการต่างๆ ซึ่งเป็นวิธีการและแบบจำลองที่ทันสมัย รวมทั้งได้รับการยอมรับว่ามีประสิทธิภาพในการวิเคราะห์และแก้ปัญหาเชิงพื้นที่

ผู้ทรงคุณวุฒิ ประจำหลักสูตร

ผศ. ดร.พรรณี ชีวินศิริวัฒน์หัวหน้าภาควิชาภูมิศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ดร.สยาม ลววิโรจน์วงศ์นักวิจัย
สถาบันวิทยาการอวกาศและภูมิสารสนเทศ สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ

สิ่งที่ผู้เข้ารับการฝึกอบรมจะได้รับ

  • ได้เรียนรู้และเข้าใจในหลักการการวิเคราะห์เชิงพื้นที่ และการสร้างแบบจำลองในระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์
  • เข้าใจกระบวนการทำงาน วิธีการ และฝึกปฏิบัติการใช้เครื่องมือต่างๆ ในขั้นตอนของการสร้างแบบจำลองเชิงพื้นที่
  • เข้าใจและสามารถปฏิบัติการสร้างแบบจำลองขั้นสูงได้อย่างเป็นระบบด้วยการปฏิบัติการจริง
  • สามารถนำความรู้ที่ได้รับไปประยุกต์ในงานด้านต่างๆ ที่รับผิดชอบ

หลักสูตรนี้เหมาะสำหรับ

ผู้ที่ต้องการเรียนรู้การวิเคราะห์ข้อมูลและการสร้างแบบจำลองในระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ในระดับสูงหรือผู้ที่ทำงานเกี่ยวข้องกับการใช้ข้อมูลภูมิสารสนเทศด้านการบริหารจัดการทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม การใช้ที่ดิน การเกษตร บุคลากร องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ครู อาจารย์ นิสิต นักศึกษาและผู้สนใจทั่วไป ที่ต้องการความรู้ด้านการสร้างแบบจำลองไปตอบสนองต่อการทำงานและงานวิจัยมากยิ่งขึ้น

เนื้อหาหลักสูตร

Module 1 GIS Models and Modeling

  • Introduction of GIS Models and Modeling
  • Spatial Data Quality and Uncertainty
  • Applications in GIS Modeling
  • The Future Direction in GIS Modeling

Module 2 Spatial Database

  • Concept of Spatial Database
  • Big Data

Module 3 Geo-Statistics

  • การวิเคราะห์แบบรูปเชิงพื้นที่ (Spatial Pattern Analysis)
  • การประมาณค่าเชิงพื้นที่ (Spatial Interpolation)

Module 4 Applications of GIS Modeling

  • Spatial Multi-Criteria Analysis
  • Cellular Automata in GIS
  • Agent-Based Model in GIS
  • Location-Based Analysis

คุณสมบัติของผู้เข้ารับการฝึกอบรม : มีความรู้พื้นฐานการใช้งานระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ หรือการสร้างแบบจำลอง การใช้งานข้อมูลภูมิสารสนเทศ
จำนวนผู้เข้ารับการฝึกอบรม : ผู้เข้ารับการฝึกอบรมไม่เกิน 30 คน โดยพิจารณาตามคุณสมบัติและเกณฑ์การคัดเลือกของ สทอภ.
ค่าลงทะเบียน 15,000 บาท
(รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม 7 {8645ed30ebfee2716765f004cf3f74a8c4ef5e59d5d4d4ef1cf40763c4bdb1fe} แล้ว)
การประเมินผล
ผู้เข้ารับการฝึกอบรมจะได้รับใบรับรอง โดยต้องผ่านเกณฑ์การประเมินผลการฝึกอบรม ดังนี้
-เข้ารับการฝึกอบรมไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของเวลาเรียนทั้งหมด
-ผ่านการทดสอบตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด
-ปฏิบัติงานที่ได้รับมอบหมายได้ครบถ้วนและมีผลงานผ่านตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด

Copyright © 2018 LEARN : อาณาจักรภูมิสารสนเทศ อาณาเขตแห่งการเรียนรู้

LEARN