หลักสูตร ข่าวกรองภูมิสารสนเทศ สำหรับ ทร. รุ่นที่ 2

หลักสูตร ข่าวกรองภูมิสารสนเทศ สำหรับ ทร. รุ่นที่ 2

ระหว่างวันจันทร์ที่ 12  วันศุกร์ที่ 16 พฤศจิกายน 2561

ระยะเวลาการฝึกอบรม 5 วัน

ห้องฝึกอบรม ชั้น 3 อาคารสถาบันวิทยาการอวกาศและภูมิสารสนเทศ สทอภ.

ถนนพหลโยธิน แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร

 

 

ที่มาของหลักสูตร

บันทึกข้อตกลง ระหว่าง กองทัพเรือ กับ สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ
(
องค์การมหาชน) ว่าด้วยความร่วมมือด้านเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ

 

วัตถุประสงค์ของความร่วมมือ

1. เพื่อพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพด้านการนำเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ มาใช้งานการสนับสนุนการปฏิบัติงานด้านการข่าว ภารกิจป้องกันประเทศ และพัฒนาประเทศ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

2. เพื่อนำเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศกับข้อมูลข่าวสารทางทะเลและชายฝั่ง มาใช้ในการวิเคราะห์ด้านการข่าว และการปฏิบัติการทางทหาร การแก้ปัญหาภัยพิบัติสาธารณะ รวมถึงร่วมกันวิจัยและพัฒนาระบบการจัดเก็บการบริหารจัดการข้อมูลจากดาวเทียม ข้อมูลภูมิสารสนเทศ ข้อมูลข่าวสารทางทะเล และการใช้งานผ่านระบบเครือข่ายสารสนเทศเพื่อให้การใช้งานมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

3. เพื่อเป็นการเสริมสร้างความร่วมมือการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารทางทะเลและชายฝั่ง ข้อมูลด้านเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศระหว่างกัน และกำหนดมาตรการรักษาความปลอดภัยให้กับภาคส่วนที่เกี่ยวข้องผ่านเครือข่ายสารสนเทศในการดำเนินกิจกรรมทางทะเลให้ปลอดภัยจากภัยคุกคามทางทะเล

4. เพื่อพัฒนาขีดความสามารถในการรับรู้เท่าทันสถานการณ์ทางทะเลเพื่อใช้ในการแจ้งเตือนภัย และการพัฒนากลไกให้ความช่วยเหลือเมื่อประสบเหตุระหว่างทั้งสองฝ่ายจากภัยคุกคามทางทะเล และสถานการณ์ทางทะเลที่อาจส่งผลกระทบต่อความมั่นคง และผลประโยชน์ของชาติทางทะเล

5. เพื่อหาแนวทางในการจัดหา และให้บริการข้อมูลจากดาวเทียมและข้อมูลภูมิสารสนเทศที่รวดเร็ว ทันต่อเหตุการณ์ ในพื้นที่ที่มีเหตุการณ์ความไม่สงบ พื้นที่เกิดภัยพิบัติ พื้นที่เกิดสถานการณ์ที่ฉุกเฉินร้ายแรง และพื้นที่ปฏิบัติการทางการทหาร

6. เพื่อพัฒนาบุคลากร และเสริมสร้างการแลกเปลี่ยนความรู้ด้านเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ

7. เพื่อดำเนินกิจกรรมที่เกี่ยวข้องอื่น ที่ทั้งสองฝ่าย เห็นสมควรร่วมกัน

 

ความสำคัญของหลักสูตร

ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (Geographic Information System: GIS) เป็นเครื่องมือที่มีบทบาทสำคัญในการสนับสนุนการตัดสินใจและวิเคราะห์ปัญหาในเชิงพื้นที่ สามารถนำเข้า ปรับปรุง แก้ไข วิเคราะห์ และแสดงผลข้อมูลเชิงพื้นที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ประกอบกับปัจจุบันระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ ถูกนำมาใช้ประโยชน์ในงานด้านต่าง อย่างแพร่หลาย เช่น การจัดการสิ่งแวดล้อม การวางผังเมือง การจัดการชุมชนและการจัดการภัยพิบัติ ฯลฯ การเข้าใจกระบวนการทำงานของระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ จึงเป็นสิ่งสำคัญ สทอภ. เล็งเห็นความสำคัญของความต้องการดังกล่าว จึงเปิดการฝึกอบรม หลักสูตร ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์สำหรับผู้เริ่มต้นใช้งาน เพื่อให้ผู้เรียนได้เรียนรู้และเข้าใจการทำงานของระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ขั้นพื้นฐาน สามารถนำความรู้ที่ได้รับไปประยุกต์ใช้กับงานของตนเองได้ เนื้อหาภายในหลักสูตรจะทำให้ผู้เรียนเข้าใจหลักการทำงานของระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ เข้าใจวิธีการสร้างการจัดการข้อมูล เข้าใจการเชื่อมโยงระหว่างระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์กับการรับรู้จากระยะไกล และระบบกำหนดตำแหน่งบนโลก ตลอดจนการใช้ประโยชน์ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ในด้านต่างๆ รวมทั้งฝึกปฏิบัติการใช้งานโปรแกรมระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ที่ทันสมัยเพื่อเป็นพื้นฐานในการพัฒนาการเรียนรู้ในระดับสูง ต่อไป

 

สิ่งที่ผู้เข้ารับการฝึกอบรมจะได้รับ

  • เข้าใจหลักการพื้นฐานของระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์
  • เข้าใจหลักการพื้นฐานของระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์
  • คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดลเข้าใจความสัมพันธ์และความเชื่อมโยง ตลอดจนประโยชน์ของเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ (GIS RS และ GNSS)
  • สามารถใช้งานโปรแกรมระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์เพื่อ สร้าง ปรับปรุง แก้ไข จัดการ วิเคราะห์ และแสดงผลข้อมูลเชิงพื้นที่ได้
  • สามารถนำความรู้ทางระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ไปประยุกต์ใช้กับงานของตนเองได้

 

หลักสูตรนี้เหมาะสำหรับ

ผู้ที่ต้องการเรียนรู้การใช้งานระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์พื้นฐานและผู้ที่มีภารกิจเกี่ยวข้องกับการใช้งานข้อมูลภูมิสารสนเทศในด้านต่างๆ เช่น การบริหารจัดการทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม การใช้ที่ดิน การเกษตร การจัดทำแผนที่ รวมถึงบุคลากรองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ครู อาจารย์ นิสิต นักศึกษา และผู้สนใจทั่วไป

 

เนื้อหาหลักสูตร

Module 1 หลักการพื้นฐานระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์

  • ความหมายระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์
  • องค์ประกอบระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์
  • กระบวนการทำงานของระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์
  • ประโยชน์และความสามารถของระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์
  • ประโยชน์และความสามารถของระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์

 

Module 2 ความเข้าใจเรื่องแผนที่

  • หลักการอ่านแผนที่ ระบบพิกัด มาตราส่วน ทิศทาง ระยะทางในแผนที่

 

Module 3 ข้อมูลและฐานข้อมูลระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์

  • ข้อมูลสารสนเทศภูมิศาสตร์ (Geographic Data)
  • ฐานข้อมูลระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS Database)
  • การเชื่อมโยงความสัมพันธ์ของข้อมูล (Topology of Data)
  • ความสัมพันธ์ของฐานข้อมูล (Relations in a Database)

 

Module 4 การนำเข้าและการสร้างฐานข้อมูลระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์

  • การนำเข้าข้อมูล (Data Input)
  • การปรับปรุงข้อมูลให้เหมาะสม (Data Manipulation)
  • การจัดการฐานข้อมูล (Data Management)
  • การเรียกค้นข้อมูล (Data Query)

 

Module 5 การนำเสนอข้อมูลและการแสดงผล (Geographic Visualization)

  • การเรียกค้นข้อมูล (Data Query)
  • การออกแบบแผนที่ (Cartographic Design)
  • การออกแบบแผนที่ (Cartographic Design)
  • การสร้างและนำเสนอแผนที่ (Map Production)

 

คุณสมบัติของผู้เข้ารับการฝึกอบรม : มีความรู้พื้นฐานการใช้งานระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ หรือการสร้างแบบจำลอง การใช้งานข้อมูลภูมิสารสนเทศ

จำนวนผู้เข้ารับการฝึกอบรม : ผู้เข้ารับการฝึกอบรมไม่เกิน 30 คน โดยพิจารณาตามคุณสมบัติและเกณฑ์การคัดเลือกของ สทอภ.

 

การประเมินผล

ผู้เข้ารับการฝึกอบรมจะได้รับใบรับรอง โดยต้องผ่านเกณฑ์การประเมินผลการฝึกอบรม ดังนี้

เข้ารับการฝึกอบรมไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของเวลาเรียนทั้งหมด

ผ่านการทดสอบตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด

ปฏิบัติงานที่ได้รับมอบหมายได้ครบถ้วนและมีผลงานผ่านตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด

 

Copyright © 2018 LEARN : อาณาจักรภูมิสารสนเทศ อาณาเขตแห่งการเรียนรู้

LEARN