GISTDA SPACE CAMP ประจำปี 2561

โครงการ GISTDA SPACE CAMP ประจำปี 2561

สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน)


1.หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันเทคโนโลยีอวกาศเข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันของเรามากยิ่งขึ้นแต่โอกาสในการเรียนรู้เทคโนโลยีอวกาศสำหรับเยาวชนไทยนั้น ยังคงเป็นสิ่งที่เข้าถึงได้ยากและมีโอกาสน้อยที่จะได้สัมผัสกับ
อุปกรณ์จริงการเข้าถึงประสบการณ์ใหม่ๆ เพื่อให้เยาวชนไทยมีการพัฒนาศักยภาพด้านอวกาศอย่างต่อเนื่อง สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) สทอภ. หรือ GISTDA เล็งเห็นความสำคัญในการสร้างความตระหนักให้มีประสิทธิ เยาวนชนที่สามารถทางด้านนี้ได้พัฒนาองค์ความรู้ บูรณาการแนวความคิด ต่อยอดและส่งเสริมการนำเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศมาช่วยในการแก้ไขปัญหาตามหลักของ STEM ได้อย่างแท้จริง ได้กำหนดการจัดกิจกรรม GISTDA SPACE CAMP ครั้งที่ 4 ระหว่างวันที่ 26-30 มีนาคม พ.ศ. 2561 ภายใต้แนวคิดสร้างแรงบันดาลใจต่อยอดสู่การการพัฒนาด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในอนาคตเพื่อเปิดโอกาสให้เยาวชนได้เรียนรู้และเข้าใจถึงกระบวนการของเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศจากวิทยากรผู้มีความเชี่ยวชาญอาทิ วิศวกรดาวเทียม นักภูมิสารสนเทศ และนักวิชาการเผยแพร่ทั้งยังเป็นการกระตุ้นให้เยาวชนเกิดกระบวนการคิดอย่างสร้างสรรค์ นำไปสู่การแก้ไขปัญหาด้วยเทคโนโลยีดังกล่าว อันเป็นการส่งเสริมการเรียนรู้แบบบูรณการ ตามหลักการ STEM ร่วมกับการสร้างรากฐานของนักเทคโนโลยีอวกาศรุ่นใหม่ให้มีความพร้อมสำหรับการพัฒนาประเทศไทยด้วยเทคโนโลยีในอนาคต

2.วัตถุประสงค์

    1. เพื่อให้เยาวชนมีความรู้ความเข้าใจ ความเข้าใจในเทคโนโลยีอวกาศ รวมถึงบทบาทของดาวเทียมไทยโชตที่มีต่อการสำรวจและปกป้องทรัพยากรธรรมชาติของประเทศไทย และสามารถขยายศักยภาพของข้อมูลจากดาวเทียมในการประยุกต์ใช้งานด้านอื่นๆตามความเหมาะสม
    2. เพื่อส่งเสริมให้เยาวชนรู้จักการใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์รู้จักการทำงานเป็นทีม รู้จักเสียสละและเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่กับผู้อื่น
    3. เพื่อให้เยาวชนได้เกิดกระบวนการคิดอย่างมีเหตุผลในการสร้างสรรค์ผลงานด้านเทคโนโลยีอวกาศสามารถนำไปต่อยอดในการศึกษาและแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมในชุมชนของตนเอง
    4. เพื่อคัดเลือกตัวแทนเยาวชนไทยเข้าร่วมกิจกรรมด้านอวกาศระดับชาติและนานาชาติกับ GISTDA

3.เป้าหมาย

กลุ่มเยาวชนอายุ 15-18 ปี จำนวนทั้งหมด 36 คน

4.ระยะเวลาในการจัด
5 วัน ระหว่างวันที่ 26-30 มีนาคม พ.ศ. 2561

5.สถานที่จัด
อุทยานรังสรรค์นวัตกรรมอวกาศ อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี

6.ค่าลงทะเบียน 6,500 บาท

7.กำหนดการ
วันจันทร์ที่ 26 มีนาคม 2561

08:30-09:00 รายงานตัวและลงทะเบียน รับอุปกรณ์ประจำตัว

09:00-09:15 พิธีเปิด

โดย นางสาวปราณปริยา วงค์ษา (รักษาการผู้อำนวยการสำนักพัฒนาและถ่ายทอดองค์ความรู้)

09:15-10:15 แนะนำโครงการ

10:15-10:30 รับประทานอาหารว่าง

10:30-11:30 ดาวบริวารเอนเซลาดัส

โดย นายอัษฎายธุ ทองดาษ

11:30-12:30 ปิดประสบการณ์เด็กไทย กับ ไอเดียทดลองในห้วงอวกาศ

โดย นายวรวุฒิ จันทร์หอม

12:30-13:30 รับประทานอาหารกลางวัน

13:30-15:30 อวกาศแหล่งสร้างแรงบันดาลใจอันเป็นอนันต์ (Space the Infinite inspiration)

โดย นายณัฐนนท์ ดวงสูงเนิน หัวหน้าบรรณาธิการ SPACETH

15:40-16:40 เครื่องพิมพ์สามมิติผลิตอาหารในอวกาศ

โดย โพธิวัฒน์ งามขจรวิวัฒน์

16:4017:40 การสำรวจอวกาศด้วยบอลลูน การสร้างดาวเทียม CUBESAT และอาหารไทยไปอวกาศ

โดย นางสาวพิรดา เตชะวิจิตร์

17:40-18:30 รับประทานอาหารเย็น

18:3019:00 สรุปภาพรวมของกิจกรรมประจำวัน

วันอังคารที่ 27 มีนาคม 2561

06:30-07:00 ออกกำลังกาย

07:00-07:30 ทำกิจวัตรส่วนตัว

07:30-08:30 รับประทานอาหารเช้า

08:30-09:30 จับตา เทียนกง

โดย นายสิทธิพร ชาญนำสิน (วิศวกร GISTDA)

09:30-09:45 รับประทานอาหารว่าง

09:45-12:00 STATION 1 : You are not alone in the Universe

โดย ผู้นำชม SPACE INSPIRIUM

12:00-13:00 รับประทานอาหารกลางวัน

13:00-14:45  STATION 2 : “เรียนรู้ระบบการทำงานของดาวเทียมไทยโชต”

โดย เจ้าหน้าที่ควบคุมสัญญาณดาวเทียมไทยโชต (วิศวกร GISTDA)

14:45-16:15 STATION 3 : “Post Land: ดินแดนสร้างจินตนาการ”

16:15-16:30 รับประทานอาหารว่าง

16:30-17:30 STATION 4 : Geocaching พิกัดซ่าท้าตะลุย

17:30-18:00 รับประทานอาหารเย็น

18:30-19:00 สรุปภาพรวมของกิจกรรมประจำวัน

 

วันพุธที่ 28 มีนาคม 2561

06:30-07:00 ออกกำลังกาย

07:00-07:30 ทำกิจวัตรส่วนตัว

07:30-08:30 รับประทานอาหารเช้า

08:30-10:30 STATION 5 : กระบวนการทำชิ้นส่วนอวกาศยานด้วยวัสดุคอมโพสิต

โดย นายอธิภัทร วรรธอนันตชัย (วิศวกร GISTDA)

10:30-10:45 รับประทานอาหารว่าง

10:45-12:00 STATION 5 : กระบวนการทำชิ้นส่วนอวกาศยานด้วยวัสดุคอมโพสิต

โดย นายอธิภัทร วรรธอนันตชัย (วิศวกร GISTDA)

12:00-13:00 รับประทานอาหารกลางวัน

13:00-14:15 STATION 6 : Martian Recon

โดย นายวสันชัย วงศ์สันติวนิช (วิศวกร GISTDA)

14:15-14:30 รับประทานอาหารว่าง

14:30-17:30 STATION 7 : MARS MISSION

โดย นายวสันชัย วงศ์สันติวนิช  (วิศวกร GISTDA)

17:30-18:30 รับประทานอาหารเย็น

18:30-19:30 กิจกรรมนันทนาการ

วันพฤหัสบดีที่ 29 มีนาคม 2561

06:30-07:00 ออกกำลังกาย

07:00-07:30 ทำกิจวัตรส่วนตัว

07:30-08:30 รับประทานอาหารเช้า

08:30-09:00 ทำความรู้จักกับอากาศยานไร้คนขับ

โดย นายวีรวัฒน์ จันทวงค์ (นักวิชาการเผยแพร่ GISTDA)

09:00-10:30 STATION 8 : โครงสร้างชิ้นส่วนอวกาศ

โดย นายอธิภัทร วรรธอนันตชัย (วิศวกร GISTDA)

10:30-10:45 รับประทานอาหารว่าง

10:45-12:00 STATION 9 : ทดสอบความแข็งแรงของวัสดุโครงสร้างในอวกาศ

โดย นายณัฐวัฒน์ หงส์กาญจนกุล

12:00-13:00 รับประทานอาหารกลางวัน

13:00-15:00 STATION 10 : อยากให้น้องลองบิน

โดย นายตะวัน ผลารักษ์

15:00-15:15 รับประทานอาหารว่าง

15:15-17:15 STATION 11 : การทำแผนที่ ด้วยอากาศยานไร้คนขับ

โดย ดร.กฤษนัยน์ เจริญจิตร

17:15-18:30 รับประทานอาหารเย็น

18:30-20:30 กิจกรรมนันทนาการ THE SHOW MUSH GO ON

  โดย น้องค่าย & พี่เลี้ยงค่าย

 

วันศุกร์ที่ 30 มีนาคม 2561

07:00-07:30 ตื่นนอน (ทำธุระส่วนตัว)

07:30-08:30 รับประทานอาหารเช้า

08:30-10:45 “ระดมความคิดผลิตนวัตกรรม Space&GI”

10:45-11:00 รับประทานอาหารว่าง

11:00-12:00 “เครือข่ายนักสำรวจ”เครือข่ายแห่งสายใยผู้หลงใหลในเทคโนโลยี

โดย นายทรัพย์สถิตย์ พันธุ์ศรี  (นักบริการวิชาการ GISTDA)

12:00-13:00 รับประทานอาหารกลางวัน

13:00-14:00 พิธีปิด

โดย นายบุญชุบ บุ้งทอง (ผู้อำนวยการสำนักปฎิบัติการดาวเทียม)

14:00-14:30 เก็บสัมภาระ

14:30-14:45 รับประทานอาหารว่าง

14:45         เดินทางกลับโดยสวัสดิภาพ  

   

Copyright © 2018 LEARN : อาณาจักรภูมิสารสนเทศ อาณาเขตแห่งการเรียนรู้

LEARN