โดรนสร้างแผนที่เหมืองแร่ทองแดงที่ใหญ่ที่สุดในเอเชีย

Upvision เป็นบริษัทผู้ให้บริการโดรนเชื้อสายเช็ก ได้ใช้อากาศยานไร้คนขับหรือยูเอวี (โดรน) เพื่อสร้างแผนที่เหมืองแร่ทองแดงที่ใหญ่ที่สุดในเอเชีย โดยมีขอบเขตพื้นที่จัดทำครอบคลุมมากกว่า 10 ตารางกิโลเมตร ใกล้บริเวณเมือง Erdenet ประเทศมองโกเลีย

ทีมงาน Upvison ช่วยสนับสนุนการทำงานของนักธรณีวิทยาชาวเช็ก โดยใช้โดรน MAVinci Sirius ผลิตโดยบริษัทสัญชาติเยอรมันที่ถูกซื้อโดย Intel ในปี 2016

โดรนปีกนึ่งมีคุณสมบัติที่โด่งดังเรื่องความทนทานและความสามารถในใช้งานในสภาพภูมิประเทศที่ท้าทายซึ่งเหมาะสำหรับการบินเหนือระดับความสูงของประเทศมองโกเลีย

 

รับมือกับสภาพภูมิประเทศที่ท้าทาย

ส่วนที่ท้าทายที่สุดในภารกิจสร้างแผนที่กลับกลายเป็นลักษณะพื้นที่บริเวณที่ทีมงานต้องการที่วัดให้ถูกต้องมากที่สุด ระดับพื้นที่ที่แตกต่างกันมากทำให้งานนี้ยากกว่าที่ควรจะเป็น ทีม UpVision ได้สามารถสร้างผลลัพธ์เป็นสองรูปแบบจากโดรนMAVinci อย่างแรกคือแบบจำลองระดับสูง (DSM) อย่างที่สองคือแผนที่ภาพออร์โธสี (orthophoto) โดยมีความละเอียดของภาพที่ต่างกันไป
(เพิ่มเติม: ภาพออร์โธสี คือภาพที่มีการปรับแก้ความผิดเพี้ยนเนื่องจากเรขาคณิตของการถ่ายภาพและความสูงต่างของภูมิประเทศ ซึ่งสามารถหาได้จากส่วนสำรวจทางแผนที่จากภาพถ่าย)

เนื่องจากระดับพื้นที่ที่แตกต่างกันของภูมิประเทศทำให้เกิดภาพซ้อนและปัญหาเรื่องความละเอียดของภาพ ทำให้การสร้างแผนที่ของเหมืองทั้งหมดจำเป็นต้องใช้โดรนขึ้นบินถึงแปดครั้งด้วยระดับความสูงและความละเอียดภาพที่แตกต่างกัน

การสร้างแผนที่เหมืองแร่ทำโดยมีสภาพภูมิประเทศที่ท้าทาย โดยมีระดับพื้นที่สูงต่ำแตกต่างกันและระดับความสูงเหนือน้ำทะเลประมาณ 1,400 เมตร ใกล้เมือง Erdenet ซึ่งมีลมแรงตลอดวันและมีฝุ่นมากในระหว่างวัน สภาพอากาศมีอุณหภูมิแปรปรวนในช่วงต้นเดือนพฤษภาคม ซึ่งเป็นเรื่องที่ไม่แปลกที่จะมีหิมะตกในตอนเช้าและอุณหภูมิสูงขึ้นมาถึง 20 องศาเซลเซียสในวันรุ่งขึ้น

“ความยากของภูมิประเทศเป็นสาเหตุให้ทีมงานต้องปรับแผนการบินในตอนเช้าตรู่และระหว่างช่วงเย็น และแบ่งการขึ้นบินแต่ละครั้งให้เป็นภารกิจย่อย” เจคอป คารัส, เจ้าของร่วม UpVison กล่าว


ที่มาบทความ : บทความโดย Malek Murison บันทึก : เมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม พศ. 2561
สืบค้นจาก : https://dronelife.com/2018/05/16/mapping-asia-largest-copper-mine-drones/

Copyright © 2018 LEARN : อาณาจักรภูมิสารสนเทศ อาณาเขตแห่งการเรียนรู้

LEARN