7 แนวทางการใช้โดรนเพื่อการเรียนการสอน

ยิ่งนับวันโดรนยิ่งเข้ามามีบทบาทในชีวิตของมนุษย์เรามากยึ่งขึ้น นวัตกรรมจากโดรนจำนวนมากพุดขึ้นมาให้เห็นเป็นตัวอย่างทั้งที่เป็นไอเดียใหม่ในโลกของอินเทอร์เน็ต และสิ่งที่เกิดขึ้นจริงแล้วในโลกแห่งความจริง หนึ่งในไอเดียที่เป็นจุดเริ่มต้นของนวัตกรรมต่างๆนั้นก็คือ แนวความคิดการนำโดรนไปใช้เพื่อการเรียนการสอนในห้องเรียน นำเสนอโดย Heather Wolpert-Gawron บนเว็บไซต์ Edutopia ทั้งนี้เพื่อความเข้าใจที่ชัดเจนมากขึ้นผมจึงได้เพิ่มเติมตัวอย่างประกอบ ดังต่อไปนี้

1. วิชาสังคม ภาพนึ่งที่มีการบันทึกอย่างต่อเนื่องช่วงระยะเวลาสั้นๆ หรือจะนานเป็นเดือนเป็นปี และไม่ว่าจะเป็นภาพเคลื่อนไหวที่ได้จากโดรน ย่อมเป็นสื่อที่สามารถทำให้เด็กๆได้เรียนรู้ถึงส่ิงที่เปลี่ยนแปลงหรือกำลังเคลื่อนไหวในภาพหรือวีดีโอ จากนั้นให้เขาได้เชื่อมโยงกับหลักการทางวิชาการได้เรียนรู้ในห้องเรียนเพื่ออธิบายปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้น หรืออธิบายรูปร่าง ขนาด รูปทรงต่างๆที่ปรากฏในภาพ อย่างมีเหตุมีผลทางวิทยาศาสตร์ โดยอาจจะเริ่มต้นจากพื้นที่เล็ก มุมหนึ่งของโรงเรียน ค่อยๆขยายกว้างไปสู่พื้นที่ทั้งโรงเรียน และระดับหมู่บ้านหรือชุมขน เพื่อให้เด็กๆได้เรียนรู้ความสัมพันธ์เชิงพื้นที่ของสิ่งต่างๆที่ปรากฎทั้งในภาพและโลกแห่งความจริง ผ่านคำถามที่เชื่อมโยงสู่ความเข้าใจบริบทของสังคมในปัจจุบัน อาทิเช่น ลักษณะการตั้งบ้านเรือนในหมู่บ้านเป็นไปตามถนนหรือลำคลอง อาคารในโรงเรียนตั้งตามแนวทิศตะวันตก-ตะวันออกเนื่องจากเหตุผลใด สระน้ำหลังหมู่บ้านเป็นแหล่งน้ำให้ประโยชน์กับพื้นที่ใดบ้าง เป็นต้น

Photo by Pok Rie

2. วิชาศิลปะ ลองถ่ายภาพนิ่งด้วยโดรนในระดับความสูงและพื้นที่ที่แตกต่างกัน จากนั้นนำมาเป็นโจทย์ให้เด็กลองทายว่าแต่ละภาพถ่าย ณ จุดใด และส่ิงที่อยู่ในภาพคืออะไร เป็นหนึ่งในกิจกรรมที่ให้เด็กๆได้ฝึกการคิดการเชื่อมโยงรูปร่างรูปทรงที่เห็นในภาพเข้ากับความเป็นจริง

Photo by Josh Sorenson

3. วิชาพละศึกษา ลองนำโดรนบินบันทึกภาพระหว่างที่เด็กๆทำกิจกรรมกลางแจ้ง จากนั้นฉายบนจอโปรเจคเตอร์ให้พวกเขาได้ลองสังเกตพฤติกรรมของเขาเอง จากนั้นเปิดการสนทนาและวิเคราะห์สิ่งที่พวกเขาได้ทำและแนวทางการพัฒนาให้ผลลัพท์ออกมาดีกว่าเดิม อาทิเช่น ใช้โดรนบันทึกระหว่างซ้อมฟุตบอล หรือ วอลเลย์บอล จากนั้นวิเคราะห์ถึงจังหวะการเคลื่อนตัวเพื่อการปรับปรุงให้ดียิ่งขึ้น เป็นต้น

Photo by Izuddin Helmi Adnan

4.วิชาคณิตศาสตร์ หากลองนึกถึงมุมกล้องจากระดับพื้นดิน ณ จุดเริ่มต้น เมื่อโดรนบินสูงขึ้นไปเรื่อยๆ ภาพก็จะค่อยครอบคลุมพื้นที่กว้างขึ้นราวกับว่ากำลังซูมออก สิ่งเหล่านี้ไม่ได้เป็นแค่เพียงกดปุ่มแล้วปล่อยให้มันเกิดขึ้นเอง แต่เกิดขึ้นจากการคำนวณตามหลักการของคณิตศาสตร์ ความสัมพันธ์ระหว่างความสูงของโดรนขณะที่กำลังบินกับพื้นที่ครอบคลุมในภาพ หรือแม้แต่ปริมาณแบตเตอรี่ที่เหลือกับระยะทางไกลสุดที่โดรนจะสามารถบินไปได้ ยังมีอีกมากมายสำหรับกคณิตศาตร์ในโดรนที่ล้วนจะเป็นโจทย์ที่น่าตื่นเต้นให้เด็กๆได้คำนวณและทดสอบกับการบินโดรน ทำให้เห็นผลลัพท์กันจริงๆ แทนที่จะเห็นผลลัพท์แค่บนกระดาษเท่านั้น

5.วิชาชีวะวิทยา ลองจิตนาการถึงละครบทบาทสมมุติที่มอบหมายให้เด็กๆแสดงเป็นตัวเซลล์ของสิ่งมีชีวิตชนิดหนึ่งที่ทำหน้าที่ที่แตกต่างกันในพื้นที่ที่จำกัดเสมือนเป็นขอบเขตของอวัยวะนั้นๆ จากนั้นค่อยปรับความสูงของโดรนขึ้นไปอย่างช้าๆ จะทำให้เห็นภาพของเซลล์จำนวนมากที่อยู่รวมกันในสิ่งแวดล้อมเดียวกัน ซูมออกไปเรื่อยๆจนกระทั้งจากเซลล์กลายเป็นสิ่งแวดล้อมที่อยู่บนพื้นผิวโลกนับเป็นภาพที่น่าตื่นเต้นสำหรับเด็กที่ได้มีส่วนร่วมในการสร้างละครเพื่อการเรียนรู้ฉากนี้อีกทั้งยังได้ความรู้และเข้าใจถึงลำดับขนาดของเซลล์ อวัยวะ และ สิ่งแวดล้อม

6.สถาปัตยกรรม อย่างที่เรารู้กันคือกว่าจะสร้างคลิปวีดีโอนำเสนอสถาปัตยกรรมหรือสิ่งก่อสร้างในโรงเรียนแบบเท่ห์ๆสวยๆด้วยงบประมาณที่จำกัดตามศักยภาพของโรงเรียนนั้น อาจจะเป็นไปได้ยาก บางครั้งเพื่อให้ได้มุมกล้องที่มีคุณภาพ เราอาจจะต้องใช้นักเรียนนั่งบนเก้าอี้ที่มีล้อหมุนแล้วให้เพื่อนอีกคนค่อยๆผลักหรือดึงไปอย่างช้าๆ เพื่อสร้างภาพเคลื่อนไหวที่นิ่งเท่าที่จะทำได้ แต่หลายครั้งที่ทิศทางของเก้าอี้ก็ไม่เป็นใจ หรือจะถ่ายภาพมุมสูงของอาคารก็ต้องปีนป่ายไปอีกอาคาร นอกจากจะเสี่ยงกับอันตรายแถมยังได้มุมที่ไม่สามารถเลือกได้ แต่ความสามารถของโดรนในปัจจุบันสามารถสร้างขจัดปัญหาเหล่านี้ได้ นำเสนอสถาปัตยกรรมหรืออาคารของโรงเรียนในมุมที่น่าสนใจได้ไม่จำกัดมุมเพื่อเพิ่มการเรียนรู้และสร้างความหวงแหนต่อโรงเรียนได้อย่างน่าประทับใจ

Photo by Thana Gu

7.สถานการณ์ปัจจุบัน ปัจจุบันโดรนยังคงเป็นกระแสในสังคมและยังมีความน่าตื่นเต้นน่าสนใจทุกครั้งที่ได้เห็นโดรนทยานขึ้นสู่ท้องฟ้า ล้วนเป็นสิ่งที่กระตุ้นให้เกิดการพัฒนาโดรนเพื่อตอบสนองความต้องการของมนุษย์อย่างต่อเนื่อง ดังตัว โดรนจะเป็นตัวเชื่อมโยงและแรงดีงดูดที่สำคัญที่จะทำให้เด็กๆก้าวทันตามกระแสของเทคโนโลยีหรือความก้าวหน้าของโลกอนาคต ปัจจุบันการศึกษาเรื่องโดรนอย่างจริงจังไม่ได้เป็นแค่เพียงการเล่นของเล่นอย่างในอดีต หากแต่นี่เป็นการสร้างอนาคตใหม่ให้กับเขา ที่สามารถสร้างเงินเลี้ยงครอบครัวในอนาคตโดยเริ่มต้นจากสิ่งที่เขาชอบและสนใจใจปัจจุบัน

ทั้งหมดนี้เป็นแค่เพียงส่วนหนึ่งของไอเดียการนำโดรนไปใช้เป็นเครื่องมือการเรียนในมุมมองของวิชาต่างๆ หากแต่ว่ายังมีตัวอย่างอีกมากมายที่เกิดขึ้นแล้วในปัจจุบันที่เราจะค่อยๆ ออกไปติดตามและนำเสนอให้ทุกคนได้รับรู้ ได้เห็นถึงตัวอย่างที่ดี ของการนำเทคโนโลยีโดรนที่ทุกคนสามารถเข้าถึงแล้วทุกวันนี้ มาเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาคนพัฒนาประเทศต่อไป

Copyright © 2018 LEARN : อาณาจักรภูมิสารสนเทศ อาณาเขตแห่งการเรียนรู้

LEARN