การประยุกต์ใช้ข้อมูลจากดาวเทียม

ข้อมูลจากดาวเทียมสำรวจทรัพยากรถูกนำไปประยุกต์ใช้อย่างกว้างขวาง เริ่มแรกเป็นการใช้แปลตีความด้วยสายตาข้อมูลในลักษณะภาพถ่าย ภาพพิมพ์ หรือฟิล์ม ปัจจุบันใช้การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์ที่ทันสมัยและการที่ดาวเทียมบันทึกภาพตามเวลาการโคจรที่กำหนด ทำให้ได้รับข้อมูลที่ทันสมัยตามช่วงเวลา สามารถที่นำไปใช้ประโยชน์ผสมผสานกับข้อมูลอื่นๆ เพื่อการบริหารจัดการทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมอย่างมีประสิทธิภาพและการพัฒนาแบบยั่งยืน สามารถสรุปการประยุกต์ข้อมูลจากดาวเทียมในด้านต่างๆ ได้ดังนี้

1. ด้านป่าไม้

ด้านป่าไม้ใช้ในการศึกษาจำแนกชนิดป่าไม้ต่างๆ พรรณไม้ป่าชายเลน สวนป่า การประเมินหาพื้นที่ไฟป่า และติดตามการเปลี่ยนแปลงของพื้นที่ป่าไม้มาอย่างต่อเนื่อง

ภาพแสดงตัวอย่างการใช้งานด้านป่าไม้
ภาพแสดงตัวอย่างการใช้งานด้านป่าไม้

2. ด้านการเกษตร

ใช้ในการศึกษาหาพื้นที่เพาะปลูก พืชเศรษฐกิจต่างๆ การพยากรณ์ผลผลิต ประเมินความเสียหายจากภัยธรรมชาติและจากศัตรูพืช ตลอดจนการวางแผนกำหนดเขตเพาะปลูกพืชเศรษฐกิจ เช่น ลำไย ข้าว อ้อย ข้าวโพดมันสำปะหลัง สับปะรด ปาล์มน้ำมัน และยางพารา

ภาพแสดงตัวอย่างการใช้งานด้านเกษตร
ภาพแสดงตัวอย่างการใช้งานด้านเกษตร

3. ด้านการใช้ที่ดิน

ข้อมูลจากดาวเทียมใช้ในการทำแผนที่การใช้ที่ดิน/สิ่งปกคลุมดินที่ทันสมัยและต่อเนื่อง เพื่อเป็นข้อมูลในการวางแผนการจัดการการใช้ที่ดินอย่างเหมาะสม

ภาพแสดงตัวอย่างการใช้งานด้านการใช้ที่ดิน
ภาพแสดงตัวอย่างการใช้งานด้านการใช้ที่ดิน
ภาพแสดงตัวอย่างการใช้งานด้านการใช้ที่ดิน
ภาพแสดงตัวอย่างการใช้งานด้านการใช้ที่ดิน
ภาพแสดงตัวอย่างการใช้งานด้านการใช้ที่ดิน
ภาพแสดงตัวอย่างการใช้งานด้านการใช้ที่ดิน
ภาพแสดงตัวอย่างการใช้งานด้านการใช้ที่ดิน
ภาพแสดงตัวอย่างการใช้งานด้านการใช้ที่ดิน

4. ด้านธรณีวิทยา และธรณีสัณฐาน

ข้อมูลด้านโครงสร้างทางธรณี โดยเฉพาะลักษณะภูมิประเทศ และธรณีสัณฐาน สามารถศึกษาได้อย่างชัดเจนจากข้อมูลจากดาวเทียม การทำแผนที่ธรณีโครงสร้างของประเทศ ซึ่งเป็นข้อมูลพื้นฐานที่บอกถึงแหล่งแร่แหล่งเชื้อเพลิงธรรมชาติ ตลอดจนแหล่งน้ำบาดาล และการวางแผนการสร้างเขื่อน เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีการนำเอาข้อมูลจากดาวเทียมไปใช้ศึกษาทางด้านโบราณคดี เช่น พื้นที่เมืองโบราณ แนวรอยเลื่อนของเปลือกโลก ขอบเขตของหินต่างชนิดกัน เป็นต้น

ภาพแสดงตัวอย่างการใช้งานด้านธรณีวิทยา และธรณีสัณฐาน
ภาพแสดงตัวอย่างการใช้งานด้านธรณีวิทยา และธรณีสัณฐาน
ภาพแสดงตัวอย่างการใช้งานด้านธรณีวิทยา และธรณีสัณฐาน
ภาพแสดงตัวอย่างการใช้งานด้านธรณีวิทยา และธรณีสัณฐาน

5. ด้านอุทกวิทยา และการจัดการทรัพยากรน้ำ

ข้อมูลจากดาวเทียมมีบทบาทสำคัญในการให้ข้อมูลเกี่ยวกับคลองชลประทาน แม่น้ำ ลำคลอง อ่างเก็บน้ำ และเขื่อน การศึกษาการแพร่กระจายของตะกอนในอ่างน้ำเพื่อการบำรุงรักษาเขื่อน การทำแผนที่น้ำท่วมเพื่อประเมินความเสียหายจากอุทกภัยได้อย่างมีประสิทธิภาพ ใช้ในการวางแผนป้องกันน้ำท่วมในฤดูน้ำหลาก และบรรเทาช่วยเหลือราษฎรประสบภัยน้ำท่วม ติดตามการเปลี่ยนแปลงเส้นและความกว้างของแม่น้ำ ศึกษาคุณภาพของน้ำ ใช้ในการประเมินวิเคราะห์พื้นที่ประสบภัยแล้ง รวมทั้งการวางแผนการสร้างแหล่งเก็บกักน้ำ เช่น เขื่อน อ่างเก็บน้ำ ฯลฯ

ภาพตัวอย่างการใช้งานด้านอุทกวิทยาและการจัดการทรัพยากรน้ำ
ภาพตัวอย่างการใช้งานด้านอุทกวิทยาและการจัดการทรัพยากรน้ำ
ปริมาณน้ำในเขื่อนลำตะคองลดลงจากการซ้อนข้อมูลจาก ดาวเทียม LANDSAT ปี 2540 กับปี 2548
ปริมาณน้ำในเขื่อนลำตะคองลดลงจากการซ้อนข้อมูลจาก
ดาวเทียม LANDSAT ปี 2540 กับปี 2548

6. ด้านสมุทรศาสตร์และทรัพยากรชายฝั่ง

ข้อมูลจากดาวเทียมนำไปใช้ในการศึกษาการแพร่กระจายของตะกอน พื้นที่หาดเลน และทรัพยากรชายฝั่ง การทำแผนที่เพาะเลี้ยงและการประมงชายฝั่ง ซึ่งเป็นประโยชน์ในการจัดการทรัพยากรชายฝั่ง

เครื่องมือประมง (โป๊ะและหลักเลี้ยงหอย) ในอ่าวไทย จ. ชลบุรี จากข้อมูลดาวเทียม RADARSAT
เครื่องมือประมง (โป๊ะและหลักเลี้ยงหอย) ในอ่าวไทย
จ. ชลบุรี จากข้อมูลดาวเทียม RADARSAT
ภาพตัวอย่างการใช้งานด้านสมุทรศาสตร์ และทรัพยากรชายฝั่ง
ภาพตัวอย่างการใช้งานด้านสมุทรศาสตร์ และทรัพยากรชายฝั่ง

7. ด้านการทำแผนที่

ข้อมูลจากดาวเทียมมีประโยชน์อย่างยิ่งในการปรับปรุงแผนที่ภูมิประเทศให้ถูกต้องและทันสมัยการทำแผนที่โครงสร้างพื้นฐาน เช่น ถนน เส้นทางคมนาคม แผนที่ผังเมือง เพื่อการวางแผนการบริหารจัดการทรัพยากรด้านต่างๆ ได้อย่างรวดเร็วและประหยัดค่าใช้จ่าย

ภาพตัวอย่างการใช้งานด้านการทำแผนที่
ภาพตัวอย่างการใช้งานด้านการทำแผนที่
ภาพตัวอย่างการใช้งานด้านการทำแผนที่
ภาพตัวอย่างการใช้งานด้านการทำแผนที่

8. ด้านภัยธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

ข้อมูลจากดาวเทียมถูกนำมาใช้ในการศึกษาประเมินความเสียหายจากภัยธรรมชาติ และวางแผนลดความสูญเสียจากภัยพิบัติต่างๆ เช่น น้ำท่วม แผ่นดินถล่ม วาตภัยจากไต้ฝุ่น ด้านสิ่งแวดล้อมสามารถใช้ในการติดตามการแพร่กระจายของตะกอนจากการทำเหมืองแร่ในทะเล การกัดเซาะชายฝั่ง การกระจายของน้ำเสีย การบุกรุกทำลายป่าไม้ เป็นต้น

ภาพตัวอย่างการใช้งานด้านภัยธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ภาพตัวอย่างการใช้งานด้านภัยธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

9. ด้านการผังเมืองและการขยายเมือง

ข้อมูลจากดาวเทียมที่มีความละเอียดสูงสามารถใช้ในการติดตามการขยายตัวเมืองและแหล่งชุมชนเพื่อการวางแผนรองรับด้านโครงสร้างพื้นฐาน การหาตำแหน่งหมู่บ้านชนกลุ่มน้อย หรือหาตำแหน่งที่เหมาะสมในการตั้งถิ่นฐานใหม่

ภาพตัวอย่างการใช้งานด้านผังเมือง และการขยายเมือง
ภาพตัวอย่างการใช้งานด้านผังเมือง และการขยายเมือง

10.ด้านความมั่นคงของชาติ

ดาวเทียมสามารถถ่ายภาพที่มีรายละเอียดสูงเพียงพอที่ใช้สังเกตการณ์ต่างๆ โดยสามารถใช้ถ่ายภาพพื้นที่ซึ่งมีความเสี่ยงด้านความมั่นคงสูง เพื่อติดตามความเคลื่อนไหวและการเปลี่ยนแปลงอย่างสม่ำเสมอ จัดทำเป็นคลังข้อมูลการข่าวได้ นอกจากนี้ใช้ในการตรวจการปลูกพืชเสพติด และตรวจจับพื้นที่อาจมีการขนย้ายยาเสพติดได้ผลประโยชน์ด้านความมั่นคงที่จะได้รับไม่อาจประเมินค่าได้

ภาพตัวอย่างการใช้งานด้านความมั่นคงของชาติ
ภาพตัวอย่างการใช้งานด้านความมั่นคงของชาติ

ที่มา : ตำราเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศศาสตร์

Copyright © 2018 LEARN : อาณาจักรภูมิสารสนเทศ อาณาเขตแห่งการเรียนรู้

LEARN