ความผิดพลาดในระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (Error in GIS)

ความผิดพลาดที่เกิดขึ้นในระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ สามารถเกิดขึ้นได้ทุกขั้นตอนในกระบวนการสร้างและใช้ข้อมูลเชิงพื้นที่ จากจุดเริ่มต้นการรวบรวมข้อมูล การนำเข้าข้อมูล การสร้างฐานข้อมูล จนถึงผลการเคราะห์ที่สมบูรณ์ ความผิดพลาดในระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ที่พบสามารถแสดงในตาราง

ตารางความผิดพลาดที่พบในระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์

21_0121_02

1. ความคลาดเคลื่อนจากการรวบรวมข้อมูล

ความคลาดเคลื่อนเกิดจากแหล่งข้อมูลที่นำเข้าสู่ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ ซึ่งอาจมาจากการตรวจวัดในสนามที่ไม่มีความละเอียดเพียงพอ อุปกรณ์ไม่มีความถูกต้องหรือการบันทึกข้อมูลที่ผิดพลาด ในกรณีที่ข้อมูลจากรูปถ่ายทางอากาศ ภาพถ่ายจากดาวเทียม มักเกิดความผิดพลาดจากวิธีการทางโฟโตแกรมเมตรี(Photogrammetry) ที่ใช้ในการเขียนแผนที่ หรือวัดระดับความสูง นอกจากนี้แล้วการแปลตีความมักจะเกิดความคลาดเคลื่อนในการจำแนกและทำขอบเขตอาณาบริเวณ

 2. ข้อมูลนำเข้า

ความคลาดเคลื่อนเกิดจากแหล่งข้อมูลที่นำเข้าสู่ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ ซึ่งอาจมาจากการตรวจวัดในสนามที่ไม่มีความละเอียดเพียงพอ อุปกรณ์ไม่มีความถูกต้องหรือการบันทึกข้อมูลที่ผิดพลาด ในกรณีที่ข้อมูลจากรูปถ่ายทางอากาศ ภาพถ่ายจากดาวเทียม มักเกิดความผิดพลาดจากวิธีการทางโฟโตแกรมเมตรี(Photogrammetry) ที่ใช้ในการเขียนแผนที่ หรือวัดระดับความสูง นอกจากนี้แล้วการแปลตีความมักจะเกิดความคลาดเคลื่อนในการจำแนกและทำขอบเขตอาณาบริเวณ

3. การจัดเก็บข้อมูล

เมื่อข้อมูลมีการจัดเก็บในระบบ จำนวนหลักต้องครบถ้วน เช่นในระบบพิกัดยูนิเวอร์แซลทรานสเวิร์สเมอร์เคเตอร์จำนวนหลักต้องครบเจ็ดหลัก หรือเศษของหลักต้องแม่นยำ ดังนั้นต้องมีมากกว่า 7 หลัก การแก้ไขปัญหาในการจัดเก็บแบบนี้อาจเพิ่มการจัดเก็บจาก 64 บิต แทนที่จะเป็น 32 บิต สำหรับจำนวนตัวเลข ในกรณีการจัดเก็บข้อมูลในรูปแบบแรสเตอร์ ความละเอียดหรือผิดพลาดขึ้นอยู่กับขนาดของจุดภาพซึ่งมีความสัมพันธ์กับมาตราส่วน ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบใด เวกเตอร์หรือแรสเตอร์ การเพิ่มความแม่นยำถูกต้อง จะต้องเพิ่มพื้นที่ในระบบคอมพิวเตอร์หรือเพิ่มค่าใช้จ่าย

4. การจัดการและประมวลผลข้อมูล

ในกระบวนการวิเคราะห์เชิงพื้นที่ด้วยระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์มักเกี่ยวข้องกับการซ้อนทับข้อมูลหลายชั้น หากมีจำนวนชั้นข้อมูลมากความผิดพลาดจะเพิ่มขึ้นตามลำดับ ขอบเขตของสิ่งเดียวกันอาจมีขอบเขตที่ไม่ตรงกันใน 2 ชั้นข้อมูลทำให้ความผิดพลาดเกิดขึ้นได้ รูปร่างของขอบเขตที่สลับซับซ้อนมักจะทำให้เกิดความผิดพลาดง่ายในบางครั้งระบบการจำแนกซึ่งกำหนดขนาดเล็กที่สุดที่จัดเป็นหน่วยแผนที่ หรือหน่วยแผนที่ที่อาจมีหน่วยหลายชนิดเมื่อซ้อนกับหน่วยที่ไม่ซับซ้อนจะทำให้เกิดความผิดพลาดขึ้นได้ เป็นต้น หรือการซ้อนทับข้อมูลที่มีมาตราส่วนต่างกันมักจะเกิดความผิดพลาดเกิดขึ้นเสมอ

5. ข้อมูลผลลัพธ์

ในการพิมพ์ผลของแผนที่ ความผิดพลาดมักเกิดขึ้นบ่อยจากเครื่องพิมพ์ภาพพิมพ์ผล กระดาษที่ใช้อาจขยายตัวหรือหดตัว ทำให้ระยะทางในแผนที่เปลี่ยนไป หรือขนาดเส้นที่ลงจุดใหญ่เกินไป เมื่อเทียบกับมาตราส่วนที่ใช้

 

6. การใช้ประโยชน์ผลลัพธ์

ความผิดพลาดอันเกิดจากการใช้รายงานที่ได้จากการวิเคราะห์ด้วยระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์อย่างไม่ถูกต้อง ผลลัพธ์ที่ได้คือการแปลตีความผิดความหมาย ระดับความแม่นยำไม่เป็นที่ยอมรับ การวิเคราะห์ไม่เหมาะสมในการยอมรับ ความผิดพลาดนี้อาจจะไม่เกิดจากระบบแต่เกิดกับการตัดสินใจใช้ผลของการวิเคราะห์ ซึ่งอาจทำความเสียหายใหญ่หลวง นอกจากนี้ผู้ใช้ต้องมีความเข้าใจการใช้ประโยชน์ การใช้ข้อมูลกับมาตราส่วน มาตราส่วนขนาดเล็กเหมาะสำหรับผู้บริหารกำกับนโยบายมองภาพทั้งพื้นที่ มาตราส่วนขนาดใหญ่เหมาะสมกับการปฏิบัติการ เช่น การจัดทำแผนการใช้พื้นที่ระดับจังหวัด อาจใช้ข้อมูลในระดับมาตราส่วน 1: 50,000 การวางผังเมือง เทศบาล อาจใช้ข้อมูลในระดับมาตราส่วน 1: 4,000 หรือใหญ่กว่า การจัดทำโครงการชลประทานอาจใช้มาตราส่วน 1:1,000 หรือใหญ่กว่าเป็นต้น ความเหมาะสมต่างๆ เหล่านี้ ผู้ใช้ควรจะมีความเข้าใจ หากใช้มาตราส่วนขนาดใหญ่ ไม่สามารถมองภาพรวมทั้งหมดได้ หากใช้มาตราส่วนขนาดเล็กมองภาพได้แต่ไม่มีรายละเอียด เป็นต้น

 

ที่มา : ตำราเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศศาสตร์

Copyright © 2018 LEARN : อาณาจักรภูมิสารสนเทศ อาณาเขตแห่งการเรียนรู้

LEARN