พายุเฮอริเคนเออร์มา (ตอนที่ 2)

กล้องถ่ายภาพคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าความละเอียดปานกลาง (MODIS) ที่ติดตั้งอยู่บนดาวเทียม Terra ขององค์การนาซาได้บันทึกภาพที่สาม เมื่อวันที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2560 พายุก็ได้พัดถล่มแองกวิลลาและพร้อมที่จะถล่มหมู่เกาะเวอร์จิน

ภาพเมื่อวันที่ 6 กันยายน 2560

 

ไม่เพียงแต่กระแสลมของพายุเฮอริเคนเออร์มาที่มีกำลังแรงเท่านั้น ความแรงกระแสลมยังแผ่ขยายครอบคลุมพื้นที่กว้างขวางอย่างไม่น่าเชื่อ กระแสลมระดับพายุเฮอริเคนมีความกว้างถึง 50 ไมล์ (85 กิโลเมตรต่อชั่วโมง) จากศูนย์กลางพายุ กระแสลมระดับเขตร้อนมีความกว้างถึง 185 ไมล์ หรือ (295 กิโลเมตรต่อชั่วโมง) นักอุตุนิยมวิทยาได้บันทึกไว้ว่าพายุเฮอริเคนมีความกดอากาศที่ศูนย์กลางอยู่ที่ (914 มิลลิบาร์) ต่ำที่สุดเท่าที่วัดได้สำหรับพายุที่อยู่นอกอ่าวแมกซิโกและทะเลแคริบเบียนฝั่งตะวันตก

วันที่ 6 กันยายน พายุเฮอริเคนเออร์มา นักอุตุนิยมวิทยาได้ใช้ถ้อยคำว่าพลังงานสะสมของพายุไซโคลน ซึ่งบรรยายว่าพายุเฮอริเคนเออร์มานั้นมีอำนาจการทำลายล้างมากกว่าพายุที่เกิดขึ้นไปแล้วในฤดูพายุ 8 ลูกแรกในมหาสมุทรแอตแลนติกรวมกันของปี 2560 ตามที่นักอุตุนิยมวิทยาชื่อนาย Philip Klotzbach แห่งมหาวิทยาลัยรัฐโคโลราโดกล่าวไว้ พายุเฮอริเคนเออร์มาได้ทำลายสถิติในการสะสมพลังงานเป็นพายุไซโคลนมากที่สุดในระยะเวลา 24 ชั่วโมง

ล่าสุด ศูนย์พยากรณ์เฮอริเคนแห่งชาติอยากให้เฮอริเคนลูกนี้เปลี่ยนทิศไปทางเหนือถึงตะวันตกเฉียงเหนือหลังจากเฉียด เปอร์โตริโก สาธารณรัฐโดมินิกัน และ ไฮติ  ต่อจากนั้นการพยากรณ์ได้เผยให้เห็นว่าเส้นทางเดินของพายุเฮอริเคนเออร์มา มีแนวทางเคลื่อนผ่านไปหรือใกล้กับเติร์กและหมู่เกาะเคคอส  บาฮามาส และจะขึ้นฝั่งที่ฟลอริด้าในที่สุด

การพยากรณ์ทิศทางของพายุเฮอริเคนยังคงมีความซับซ้อนและท้าทายยิ่งนัก แต่นักอุตุนิยมวิทยากลับมีทักษะมากยิ่งขึ้นกับการพยากรณ์ทั้งการเฝ้าติดตามและความรุนแรงของพายุต่าง ๆ ในกว่าทศวรรษที่ผ่านมา การพยากรณ์การเฝ้าติดตามเส้นทางเดินพายุห้าวันล่วงหน้า ณ ตอนนี้ดีกว่าการพยากรณ์สองวันล่วงหน้าเมื่อย้อนกลับไปในปี พ.ศ. 2528 นักวิจัยอุตุนิยมวิทยาแห่งศูนย์ Goddard Space Flight ของ องค์การนาซา นาย Scott Braun กล่าวว่า “การพยากรณ์ความรุนแรงพายุพัฒนาไปช้าแต่ก็ได้นำมาใช้หลังปี พ.ศ. 2552 การแก้ไขปรับปรุงเป็นผลมาจากการลงทุนต่าง ๆ อันนำมาซึ่งแบบจำลองต่าง ๆ ที่ดีกว่า ประโยชน์ที่เพิ่มขึ้นจากการร่วมมือประสานการพยากรณ์และการร่วมกันปรับปรุงฐานข้อมูลทางเทคนิค”

หากคุณอาศัยอยู่ใกล้ที่ใดก็ตามที่เป็นไปได้ว่าเป็นเส้นทางพายุเฮอริเคนเออร์มา กรุณาเข้าไปที่เว็บไซต์การเตรียมพร้อมรับมือพายุเฮอริเคน ในส่วนของกระทรวงความมั่นคงแห่งมาตุภูมิ

 

ที่มาบทความ : Daily Express   บันทึก : เมื่อวันที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2560
สืบค้นจาก : https://earthobservatory.nasa.gov/IOTD/view.php?id=90912&eocn=home&eoci=iotd_gri

Copyright © 2018 LEARN : อาณาจักรภูมิสารสนเทศ อาณาเขตแห่งการเรียนรู้

LEARN