192 รูปแบบการใช้งานโดรนในอนาคต ตอนที่ 4

หมวดที่ 13 บ้านอัจฉริยะหรือบ้านพร้อมสิ่งอำนวยความสะดวก

97. โดรนทาสีบนกำแพง
98. โดรนทำความสะอาด – สำหรับทำความสะอาดกำแพง ชั้นวางของ หรือเฟอร์นิเจอร์อื่น ๆ
99. โดรนตัดหญ้า
100. โดรนกวาดใบไม้
101. โดรนรักษาความปลอดภัยบ้าน – ไม่ว่าจะเป็นภัยจากบนฟ้าหรือพื้นดิน เช่นภัยจากรนเหล่านี้จะแจ้งเตือนไปยังเจ้าของบ้าน หรือผู้ที่เกี่ยวข้องทันที
102. โดรนซ่อมแซ่มโดยการพิมพ์ซ่อมแซมจุดที่แตกหักแบบสามมิติ
103. โดรนรับพัสดุ – ทำหน้าที่ตรวจสอบโดรนขนส่งและคอยเตือนเวลามีพัสดุมาส่ง
104. โดรนสำหรับเปลี่ยนผ้าอ้อม – โดรนชนิดนี้อาจไม่ได้รับความนิยมและตกรุ่นไปในไม่ช้า

หมวดที่ 14 อสังหาริมทรัพย์

105. โดรนสำหรับถ่ายรูปอสังหาริมทรัพย์ – เปรียบเสมือนตัวแทน โดยเฉพาะการขายบ้านระดับสูง จะใช้โดรนในการบินสำรวจบ้านตามรายการและถ่ายรูปบริเวณบ้านและรอบบ้าน
106. โดรนเก็บเกี่ยวความชุ่มชื้นของน้ำในอากาศ – โดรนจะทำหน้าที่บินขึ้นไปบริเวณที่มีความชื่นสูง ดูดซับความชุ่มชื้นในอากาศและจัดส่งถึงที่หมายภายในไม่กี่นาที
107. โดรนตรวจสอบบ้าน – ทำหน้าที่ตรวจสอบความเรียบร้อยของบ้าน ก่อนจะซื้อขายเพื่อไม่ให้เสียเวลา
108. โดรนสับเปลี่ยนแบตเตอรี่
109. โดรนทิ้งขยะ
110. โดรนทิ้งสิ่งปฏิกูล
111. โดรนจัดการการประกันภัย
112. โดรนร่างรายการต่าง ๆ ในเวลาอันรวดเร็ว

หมวดที่ 15 ห้องสมุด 

เมื่อเราเข้าสู่ยุคของโดรน ห้องสมุดหรือการแบ่งปันจะถูกนำเข้าสู่มิติใหม่ของเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยในรัฐฟลอริดาใต้วางแผนที่จะให้นักเรียนแจ้งการเข้า-ออกกับโดรน
113. โดรนสำหรับการให้ยืมเครื่องมือห้องสมุด
114. โดรนสำหรับการให้ยืมอุปกรณ์ฉุกเฉิน เช่นอุปกรณ์ปฐมพยาบาล
115. โดรนรับฝากสัตว์เลี้ยง – เมื่อถึงเวลารับสัตว์เลี้ยงคืน เจ้าของต้องแจ้งล่วงหน้าและโดรนจะพาสัตว์เลี้ยงของคุณไปส่งถึงที่
116. โดรนจัดส่งหนังสือ,วิดีโอ,งานศิลป์หรือข้อมูลอื่น ๆ ตลอด 24 ชั่วโมง
117. โดรนสำหรับการให้ยืมอุปกรณ์เทคโนโลยี – เช่น เครื่องเกมส์คอมพิวเตอร์
118. โดรนสำหรับความรู้จากผู้เชี่ยวชาญ – เราสามารถติดต่อเพื่อขอคำปรึกษากับผู้เชี่ยวชาญด้านต่าง ๆ ผ่านการโทรด้วยวิดีโอ
119. โดรนพี่เลี้ยง
120. โดรนสำหรับการให้ยืมโดรน

Drone-Library-4

หมวดที่ 16 การใช้งานทางการทหารและสายลับ

ในปี พ.ศ. 2553 กองทหารสหรัฐอเมริกาได้ลงทุน 4.5 พันล้านดอลลาร์ไปกับการพัฒนาโดรนและคาดว่าจะลงทุนต่อไปจรถึง 18.7 พันล้านดอลลาร์ โดรนที่ใช้งานประเภทนี้ยกตัวอย่าง 8 อย่างดังนี้

121. โดรนปล่อยขีปนาวุธ – มีการใช้งานแล้ว
122. โดรนปล่อยระเบิด – มีการใช้งานแล้ว
123. โดรนสำหรับการบินอำพราง
124. โดรนสำหรับขัดขวางการสื่อสาร
125. โดรนให้ความช่วยเหลือทางการแพทย์ในสนามรบ
126. โดรนสายสืบ – เป็นโดรนขนาดจิ๋วที่สังเกตเห็นได้ยาก จะปฏิบัติการเป็นกลุ่มเพื่อสืบค้นหาเป้าหมาย
127. โดรนกระสุน heat seeking – เนื่องจากกระสุนชนิดนี้อันตรายมากเท่าที่เคยมีการคิดค้นมา โดรนชนิดนี้จะกำหนดเป้าหมายที่ชัดเจนเมื่อถูกยิงออกไป ถึงแม้จะไกลหลายพันไมล์ก็ไม่เคยพลาดเป้าซักครั้ง
128. โดรนปล่อยสัญญานอินเตอร์เน็ตไร้สายด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ – ในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2557 บริษัท Facebook ได้ซื้อ Ascenta โดรนพลังงานแสงอาทิตย์ผลิตโดยประเทศอังกฤษ Facebook ต้องการโดรนชนิดนี้เพื่อเชื่อมต่อเครือข่ายดาวเทียม เข้ากับโดรนและระบบเลเซอร์ในการกระจายสัญญานอินเตอร์เน็ตเพื่อการสื่อสาร ในเดือนเมษายน พ.ศ. 2557 Google ได้ลงทุนบริษัทพลังงานแสงอาทิตย์ของตัวเอง ออกแบบยานอวกาศ Titan ยานที่มีน้ำหนักเบาเป็นพิเศษและใช้พลังงานแสงอาทิตย์

Drone-Titan

ที่มาบทความ : บทความโดย Thomas Frey, เจ้าของหนังสือชื่อ Communicating with the Future หนังสือที่เปลี่ยนทุกสิ่ง บันทึก : เมื่อวันที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2557
สืบค้นจาก : http://www.futuristspeaker.com/business-trends/192-future-uses-for-flying-drones/

Copyright © 2018 LEARN : อาณาจักรภูมิสารสนเทศ อาณาเขตแห่งการเรียนรู้

LEARN