6 วิธีทางที่โดรนสามารถปฏิวัติการเกษตรกรรม

ยานพาหนะทางอากาศไร้คนขับ (UAVs) หรือเรียกกันว่า โดรน (Drones) เริ่มใช้กันอย่างแพร่หลายในช่วงต้นปี 1980 จนปัจจุบันนี้แอพพลิเคชั่นสำหรับโดรนนั้นพัฒนาอย่างรวดเร็วที่สุดในทุกอุตสาหกรรม ต้องขอบคุณการลงทุนที่มั่นคงอย่างสม่ำเสมอและกฎระเบียบที่ผ่อนผันการควบคุมการใช้งานของโดรน การตอบสนองต่อเทคโนโลยีที่กำลังพัฒนาอย่างรวดเร็ว ทำให้บริษัททั้งหลายเริ่มสร้างธุรกิจด้วยการดำเนินการรูปแบบใหม่สำหรับการใช้งานร่วมกับ UAVs

PwC (PricewaterhouseCoopers) หนึ่งในบริษัทตรวจสอบบัญชีที่ใหญ่ที่สุดในโลก ได้วิเคราะห์ไว้ว่า มูลค่าที่ได้จากวิธีแก้ปัญหาโดยการใช้โดรนในทุกอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องทั้งหมดนั้นมีความสำคัญมาก โดยมีมูลค่ามากถึง 127 ล้านดอลลาร์ ภาคส่วนที่มีแนวโน้มที่โดรนสามารถแสดงศักยภาพออกมาได้ดีที่สุด คือ ภาคเกษตรกรรม ซึ่งโดรนสามารถจัดการกับอุปสรรคหลักได้หลายประการ เกิดการคาดการณ์ว่าประชากรโลกจะเพิ่มขึ้นถึง 9 พันล้านคนในอีก 33 ปีข้างหน้า (พ.ศ. 2593) ผู้เขี่ยวชาญทั้งหลายคาดการณ์ว่าการบริโภคทางการเกษตรจะเพิ่มมากขึ้นเกือบ 70 เปอร์เซ็นต์ ในช่วงเวลาเดียวกัน นอกจากนี้วิกฤตสภาพอากาศผันผวนอย่างสุดขั้วเพิ่มปริมาณมากขึ้นเรื่อย ๆ ทำให้เกิดอุปสรรคในผลิตภาพและความอุดมสมบูรณ์ได้

ผู้ผลิตทางการเกษตรต้องนำกลยุทธ์การปฏิวัติสำหรับการผลิตอาหาร การเพิ่มกำลังผลิตและการสร้างความยั่งยืนเป็นสิ่งสำคัญ โดรนเหล่านี้เป็นส่วนหนึ่งของการแก้ปัญหาไปพร้อมกับความร่วมมืออย่างใกล้ชิดระหว่างรัฐบาล ผู้นำด้านเทคโนโลยี และอุตสาหกรรม


6 ทางเลือกสำหรับโดรนเพื่อการเกษตร

เทคโนโลยีโดรนจะยกระดับให้อุตสาหกรรมการเกษตรมากยิ่งขึ้น ด้วยแผนการและกลยุทธ์ที่ได้จากการเก็บข้อมูลจากสถาณการณ์จริง PwC ตีราคาตลาดสำหรับวิธีทางการแก้ปัญหาโดยโดรนเพื่อการเกษตรไว้ถึง 3.24 หมื่นล้านดอลลาร์

1.การวิเคราะห์ดินและทุ่งนา

โดรนสามารถเป็นเครื่องมือสำหรับการเริ่มเพาะปลูก โดรนสร้างแผนที่ 3 มิติสำหรับการวิเคราะห์ดินซึ่งเป็นประโยชน์ในการวางแผนรูปแบบการเพาะปลูกเมล็ดพันธุ์ หลังจากการเพาะปลูกแล้ว บทวิเคราะห์ทีได้จากโดรนนั้นจะช่วยให้ข้อมูลสำหรับการชลประทานและการจัดระดับไนโตรเจน

2.การเพาะปลูก

ธุรกิจรูปแบบใหม่ได้สร้างระบบการเพาะปลูกโดยโดรนเพื่อการเกษตรที่ประสบความสำเร็จถึง 75 เปอร์เซ็นต์ และสามารถลดต้นทุนการเพาะปลูกถึง 85 เปอร์เซ็นต์ ระบบเหล่านี้จะวางหลอดใส่เมล็ดพันธุ์และสารอาหารสำหรับพืชเข้าไปในดิน ทำให้พืชมีสารอาหารสำคัญครบถ้วนต่อการเจริญเติบโต

3.การพ่นยา

วิธีการใช้อุปกรณ์วัดระยะทาง จำพวกการสะท้อนกลับของอัลตราโซนิคและเลเซอร์ เช่น การตรวจจับแสงและเขตพื้นที่ หรือ อุปกรณ์ Lidar ที่ใช้ในการสำรวจภูมิประเทศ ช่วยให้โดรนสามารถปรับตัวกับระดับความสูงตามความผันผวนของลักษณะภูมิประเทศและภูมิศาสตร์ และหลีกเลี่ยงการปะทะได้อีกด้วย ดังนั้นโดรนสามารถตรวจหาพื้นที่ ๆ เหมาะสมและพ่นยาในปริมาณที่ถูกต้องได้ โดยปรับระดับความสูงจากพื้นไปตามลักษณะของพื้นดิน ผลลัพธ์จากการดำเนินการด้วยโดรนเพื่อการเกษตร คือเพิ่มประสิทธิภาพในการลดปริมาณสารเคมีปนเปื้อนในน้ำบาดาล ความจริงแล้วผู้เชี่ยวชาญประเมินว่าการพ่นยาด้วยโดรน สามารถลดระยะเวลาถึง 5 เท่า เมื่อเทียบกับเครื่องจักรกลแบบดั้งเดิม

4.การเฝ้าสังเกตพื้นที่เพาะปลูก

พื้นที่ ๆ กว้างใหญ่ มักมีประสิทธิภาพต่ำในการเฝ้าสังเกตพื้นที่เพาะปลูก นำมาซึ่งอุปสรรคใหญ่ของการทำการเกษตร และสภาพอากาศที่คาดเดาไม่ได้สูงขึ้นเรื่อย ๆ ส่งผลกระทบต่อต้นทุนการบำรุงรักษา ก่อนหน้านี้ภาพจากดาวเทียมแสดงให้เห็นถึงการเฝ้าสังเกตการณ์ที่มีความก้าวหน้า แต่ยังมีข้อบกพร่องคือการถ่ายภาพแต่ละครั้งจะต้องป้อนคำสั่งไว้ล่วงหน้า และถ่ายได้เพียงวันละหนึ่งครั้งเท่านั้น และไม่สามารถเชื่อถือได้ นอกจากนี้ยังมีค่าใช้จ่ายสูงและคุณภาพของภาพไม่แน่นอน แต่ในวันนี้ภาพเคลื่อนไหวสามารถแสดงให้เห็นถึงพัฒนาการของพืชผลและประสิทธิภาพทางการผลิต การบริหารจัดการพื้นที่เพาะปลูกที่ดีขึ้น

5.การชลประทาน

โดรนเพื่อการเกษตรที่มีเซนเซอร์แบบ hyperspectral, multispectral หรือ thermal สามารถบ่งชี้ได้ว่าส่วนไหนของทุ่งนาแห้งหรือจำเป็นต้องได้รับการฟื้นฟู นอกจากนี้เมื่อพืชกำลังเจริญเติบโต โดรนจะเข้าสำรวจและคำนวณค่าดัชนีของพืชซึ่งอธิบายความหนาแน่นสัมพัทธ์ สุขภาพของพืช และสัญลักษณ์คลื่นความร้อน ปริมาณพลังงานและความร้อนที่พืชนั้นคายออกมา

6.การประเมินสุขภาพ

การประเมินสุขภาพพืชและจุดติดเชื้อแบคทีเรียหรือเชื้อราบนพืชเป็นสิ่งที่จำเป็นมาก เมื่อทำการตรวจสอบพืชโดยการใช้แสงอินฟราเรดทั้งแบบมองเห็นด้วยตาเปล่าและแบบคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (NIR: near-infrared) โดรนที่ติดตั้งอุปกรณ์นี้อยู่จะสามารถระบุว่าพืชต้นใดสะท้อนปริมาณของแสงสีเขียว และ NIR ที่แตกต่างไป ข้อมูลนี้สามารถนำไปผลิตภาพ Multispectral ที่ติดตามการเปลี่ยนแปลงของพืชเพาะปลูกเหล่านี้ รวมถึงสุขภาพเช่นเดียวกัน การตอบสนองที่รวดเร็วสามารถบันทึกข้อมูลได้ทั้งพื้นที่เพาะปลูก นอกจากนี้เมื่อมีการค้นพบโรคบนพืช เกษตรกรสามารถใช้ข้อมูลที่ได้มาตรวจสอบและให้การเยียวยาได้อย่างแม่นยำและทันท่วงที ความเป็นไปได้ทั้งสองนี้ จะช่วยเพิ่มความสามารถในการเอาชนะโรคภัยของพืชได้ ในกรณีที่เกิดความล้มเหลวในการเพาะปลูก เกษตรกรสามารถที่จะบันทึกความสูญเสียอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นสำหรับการเรียกประกัน

หากลองมองไปในอนาคตของโดรน (UAVs) อาจมีความเกี่ยวข้องกับกองทัพเรือหรืออะไรก็ได้ที่สามารถจัดการกับงานด้านเกษตรกรรมและด้านการตรวจสอบได้ด้วยตัวของมันเอง ดังนั้น อะไรคือสิ่งที่ชะลอพัฒนาการของโดรนเพื่อการเกษตร นอกเหนือจากอุปสรรคในการยอมรับเทคโนโลยีรูปแบบใหม่นี้ ความปลอดภัยของการดำเนินงานด้วยโดรน ปัญหาเรื่องความเป็นส่วนตัว และประกันภัย ความกังวลในภาคเกษตรกรรมที่ใหญ่ที่สุด คือประเภทและคุณภาพของข้อมูลที่จับต้องได้ เพื่อจัดการปัญหานี้ อุตสาหกรรมจะผลักดันระบบเซนเซอร์และกล้องในลักษณะนี้ เช่นเดียวกับพัฒนาโดรนที่จำเป็นต้องมีการฝึกฝนขั้นต่ำและการบังคับด้วยระบบอัตโนมัติ
สามารถหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับโดรนเพื่อการเกษตรและอุตสาหกรรมอื่น ๆ อีก 7 อุตสาหกรรมได้ที่รายงานจาก PwC https://www.pwc.pl/en/publikacje/2016/clarity-from-above.html

ที่มาบทความ : Michal Mazur, PwC      บันทึก : เมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2559
สืบค้นจาก : https://www.technologyreview.com/s/601935/six-ways-drones-are-revolutionizing-agriculture/

Keyword ที่ใช้ : โดรนเพื่อการเกษตร
Tag ที่ใช้ : โดรน

Copyright © 2018 LEARN : อาณาจักรภูมิสารสนเทศ อาณาเขตแห่งการเรียนรู้

LEARN