Apollo 12: ภารกิจนำร่อง

ทีม Apollo 12 ไปเยือน Surveyor 3 ในปี พ.ศ. 2512เครดิต : NASA

Apollo 12 เป็นยานทีมที่สองในภารกิจเยือนดวงจันทร์ มีการปล่อยตัวจากโลกในวันที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2512 ประมาณสามถึงสี่เดือนหลังจากสองสมาชิกในทีม Apollo 11 เป็นคนกลุ่มแรกที่ไปฝากรอยเท้าที่ดวงจันทร์ เป้าหมายของ Apollo 12 คือเป็นที่ราบหินบะซอลต์ขนาดใหญ่บนพื้นผิวของดวงจันทร์ มีชื่อเรียกว่า มหาสมุทรแห่งพายุ (Ocean of Storms) เช่นเดียวกับภารกิจก่อนหน้า Apollo 12 มีหน้าที่สำรวจพื้นที่และเตรียมพร้อมสำหรับการลงจอดในอนาคต

ภารกิจของ Apollo 12 มีเรื่องที่น่าจดจำหลายอย่าง เช่น เป็นครั้งแรกที่ลงจอดตรงพื้นที่เป้าหมาย  ซึ่ง Apollo 11 ทำไม่ได้ ส่วนหนึ่งเพราะผู้บัญชาการ Neil Armstrong จำเป็นต้องควบคุมยานอ้อมรอบก้อนหินบนพื้นผิวเพื่อหาจุดลงจอดที่ปลอดภัย บางแหล่งข่าวอ้างว่าเป็นเพราะจำนวนออกซิเจนที่มากเกินไปในยานอวกาศทำให้ส่วนยานที่ลงจอดบนดวงจันทร์ Apollo 11 (หรือส่วนแยกจอดบนดวงจันทร์) ออกไปนอกเส้นทางและหลุดออกไปจากยานส่วนควบคุม

Apollo 12 ยังได้รับการกล่าวขานในเรื่องการรอดพ้นจากฟ้าผ่าสองครั้งระหว่างการปล่อยตัวและความสามัคคีของนักบินอวกาศทั้งสามซึ่งเป็นเพื่อนสนิทกันก่อนที่จะได้รับเลือกให้ทำภารกิจ Apollo 12

 

ผู้ร่วมภารกิจ Apollo 12

ก่อนที่จะเข้าร่วม NASA ในปีพ. ศ. 2505 Pete Conrad จบการศึกษาจากมหาวิทยาลัย Princeton และเข้าร่วมกองทัพเรือสหรัฐซึ่งเขาได้เป็นครูสอนการบิน เขาเริ่มการบินอวกาศเป็นครั้งแรกโดยยาน Gemini 5  ปี พ. ศ. 2508 ซึ่งเป็นเวลาที่นานที่สุดในขณะนั้น (แปดวันในอวกาศ) ภารกิจนั้นทำให้สหรัฐฯมีความก้าวหน้ามากกว่าสหภาพโซเวียตเรื่องชั่วโมงบินสะสมในอวกาศ Conrad ยังเป็นผู้ควบคุมภารกิจ Gemini 11 ในปีพศ. 2509  หลังจากภารกิจ Apollo 12 เขาได้รับคำสั่งให้ควบคุมภารกิจแรกในสถานีอวกาศ Skylab ในปี พ.ศ. 2516 และเข้าร่วมภารกิจที่ซับซ้อนอื่นๆ อีกหลายครั้งในการซ่อมแซมสถานีอวกาศซึ่งได้รับความเสียหายอย่างรุนแรงจากการปล่อยตัว

Alan Bean นักบินยานส่วนลงจอดบนดวงจันทร์ เป็นนักเรียนของ Conrad ที่โรงเรียน U.S. Naval Test Pilot ของสหรัฐอเมริกาก่อนที่จะเข้าร่วม NASA ในปี พ.ศ.2506 ภารกิจแรกๆของเขาในการทำงานกับ NASA คือการทำภารกิจหลังการลงจอดดวงจันทร์ ในการสัมภาษณ์ของนักข่าว Andrew Chaikin ในหนังสือ “มนุษย์บนดวงจันทร์” ในปี พ.ศ.2534  (Penguin 2550) เขากล่าวว่า Bean เป็นตัวเลือกแรกของ Conrad สำหรับ Apollo 12 แต่ C.C Williams นักบินอวกาศรุ่นใหม่ได้ตำแหน่งไปแทน Williams เสียชีวิตเมื่อ Northrop T-38 Talon ตก ใน วันที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2510 Conrad ขอให้ NASA พิจารณาอีกครั้งเพื่อให้ Bean ร่วมภารกิจและทุกคนก็เห็นพ้องกัน Bean จึงร่วมภารกิจ Skylab ครั้งที่สองในปี พ.ศ.2516

นักบินยานส่วนควมคุม Apollo 12 คือ Richard “Dick” Gordon เข้าร่วมที่ NASA ในปี พ.ศ. 2506 หลังจากทำสถิติความเร็วและระยะทาง รวมถึงการทดสอบการบินสำหรับกองทัพเรือ ทักษะของเขาในตำแหน่งนักบินเป็นประโยชน์สำหรับภารกิจ Gemini 11 เมื่อเขาและ Conrad ต้องนำยานอวกาศไปยังตำแหน่ง 853 ไมล์ (1,373 กิโลเมตร) เหนือโลกซึ่งเป็นสถิติที่สูงที่สุดในเวลานั้น และ Apollo 12 เป็นภารกิจอวกาศครั้งสุดท้ายของ Gordon

 

การต่อสู้กับฝุ่นในมหาสมุทรแห่งพายุ

ฟ้าผ่าจรวด Saturn V ของ Apollo 12  ถึงสองครั้งในระหว่างการปล่อยตัว ทำให้เกิดปัญหาที่หน้าจอควบคุม จรวดยังคงทำหน้าที่ได้อย่างดีและนำยานอวกาศไปสู่วงโคจรรอบโลก NASA ได้ประเมินความเสี่ยงของภารกิจหลังจากฟ้าผ่าและตัดสินใจว่ามีปลอดภัยเพียงพอที่จะปฏิบัติการเดินทางต่อไปยังดวงจันทร์ (บันทึกกล่าวว่าหน่วยงานมีการแก้ไขกฎความปลอดภัยในการปล่อยตัวเพื่อป้องกันยานอวกาศจากฟ้าผ่าในอนาคต)

ยานส่วนควบคุม Yankee Clipper และยานส่วนลงจอดบนดวงจันทร์ Intrepid เดินทางถึงดวงจันทร์อย่างปลอดภัยในวันที่ 18 พฤศจิกายนตามกำหนด Gordon ประจำการอยู่บน Yankee Clipper ในขณะที่ Conrad และ Bean เตรียมพร้อมที่ Intrepid เพื่อเดินทางไปยังพื้นผิวดวงจันทร์ ระหว่างการลงจอด Conrad และ Bean มีความกังวลและหวังว่าสิ่งที่พวกเขาเห็นบนพื้นผิวจะเหมือนกับสิ่งที่พวกเขาจำจากแผนที่ขณะที่อยู่บนโลก เมื่อ Conrad  เห็นปล่องภูเขาไฟที่จำได้เขาก็โห่ร้อง “นั่นไง อยู่ตรงกลางนั่นเลย!”

Conrad คิดว่าจุดลงจอดที่วางแผนไว้ขรุขระเกินไป เขาจึงควบคุมยานให้ลงจอดที่จุดอื่นแทน

การลงจอดของ Intrepid ทำให้เกิดกลุ่มฝุ่นควันขนาดใหญ่บนพื้นผิวดวงจันทร์เมื่อเขาไถลไปในมหาสมุทรแห่งพายุ Conrad ลงจอดด้วยเชื้อเพลิงที่เหลือน้อยมากโดยจอดห่างจาก Surveyor 3 ซึ่งเป็นยานอวกาศหุ่นยนต์ที่ลงจอดบนดวงจันทร์มาประมาณสองปีกว่าก่อนหน้านี้

ตอนที่ Conrad จะเดินลงบันไดก่อนเหยียบพื้นผิวดวงจันทร์ไม่กี่ชั่วโมงหลังลงจอดเขาก็ล้อเล่นเกี่ยวกับความสูงของเขา (สูง 5 ฟุตสูง 6 นิ้วเมื่อเทียบกับ Neil Armstrong 5 ฟุต 11 นิ้ว): “โอ้ย!  บันไดนี่อาจจะสั้นสำหรับ Neil แต่มันสูงมากสำหรับฉัน ”

ทีมประสบปัญหาในการเดินสำรวจครั้งแรก Bean ทำเลนส์กล้องวิดีโอไหม้ตอนที่เขาบังเอิญหันไปทางดวงอาทิตย์ ทำให้ไม่สามารถบันทึกภาพสดในภารกิจนี้ได้เลย

จากนั้น Conrad พยายามใช้ชุดทดลองทดลองใช้พลังงานนิวเคลียร์ เขาไม่สามารถถอดกระบอกสูบพลูโตเนียมออกจากกล่องได้  หลังจากเปิดไม่ได้ Conrad จึงพยายามทุบกล่องด้วยค้อน จนแก๊สสามารถออกมาได้ Bean จึงแซวว่า “อย่ามาดวงจันทร์โดยไม่มีค้อน”

Bean และ Conrad ใช้เวลากลางคืนในเปลภายในยานส่วนลงจอดดวงจันทร์ ในเช้าวันรุ่งขึ้นเขาเริ่มเก็บตัวอย่างทางธรณีวิทยา

นักบินอวกาศเดินขึ้นเขาเป็นวงกลมขนาดใหญ่ หยุดตามจุดต่างๆเพื่อรวบรวมตัวอย่าง Bean และ Conrad ได้ทดลองใช้เทคนิคการสุ่มตัวอย่างใหม่และพบซากของ Surveyor (เช่นกล้องโทรทัศน์และสายไฟฟ้า) เพื่อนำกลับไปยังโลกเพื่อทำการวิเคราะห์ทางวิทยาศาสตร์  Surveyor เต็มไปด้วยฝุ่นจากการลงจอดของ Conrad ซึ่งห่างออกไปประมาณ 656 ฟุต (200 เมตร)

Bean และ Conrad บินกลับในวันรุ่งขึ้นเพื่อไปพบ Gordon และมุ่งหน้ากลับสู่โลก ทั้งสามคนลงสู่มหาสมุทรแปซิฟิกเมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน ห่างจากพื้นที่เป้าหมายประมาณ 3 ไมล์ (5 กิโลเมตร) โดยใช้เวลา 244 ชั่วโมง 36 นาที 25 วินาที – เพียง 62 วินาทีนานกว่าที่วางแผนไว้ “ภารกิจนำร่อง” ที่ใช้เรียก Apollo 12 ได้แสดงให้เห็นว่าภารกิจอวกาศในอนาคตจะสามารถดำเนินการได้อย่างแม่นยำมากเพียงใด

 

ตำนานแห่ง Apollo 12

Yankee Clipper จัดแสดงอยู่ที่ศูนย์การบินและอวกาศเวอร์จิเนียในเมือง Hampton รัฐเวอร์จิเนีย ส่วนบนของ Intrepid ซึ่งนำนักบินอวกาศกลับไปยัง Yankee Clipper ถูกทำลายขณะชนเข้ากับดวงจันทร์เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2512 ปี การฉลองครบรอบ 50 ปีของ Apollo 12 จะเกิดขึ้นในปี พ. ศ. 2562

ทีม Apollo 12 รู้สึกเสียดายที่ Gordon ไม่มีโอกาสได้เหยียบดวงจันทร์   Bean ซึ่งได้ผันตัวไปเป็นศิลปินปีต่อมา – ได้วาดภาพ Gordon, Bean และ Conrad บนพื้นผิวของมหาสมุทรแห่งพายุ  Bean ได้ตั้งชื่อภาพนั้นว่า “The Fantasy” ซึ่งเป็นหนึ่งในภาพวาดที่แสดง “ความเป็นเพื่อนกันตลอดไป” บนดวงจันทร์

NASA ได้ส่งทีมอีกห้าลำสู่ดวงจันทร์ตั้งแต่ปีพ. ศ. 2513 ถึงปีพ. ศ. 2515 โดยสี่ในห้าทีมสามารถลงสู่พื้นผิวดวงจันทร์ตามที่วางแผนไว้ (Apollo 13 ถูกยกเลิกเนื่องจากปัญหาทางรุนแรงเรื่องเครื่องจักร) หน่วยงานต่างๆหันความสนใจไปยังวิทยาการที่อยู่ใกล้โลกมากกว่าผ่านโปรแกรมกระสวยอวกาศและสถานีอวกาศนานาชาติ

ในปีพ. ศ. 2560 ภายใต้การบริหารงานของประธานาธิบดีโดนัลด์ทรัมป์ ได้กำชับให้ NASA ส่งมนุษย์ไปยังดวงจันทร์ในภายในทศวรรษที่จะมาถึงนี้ ก่อนที่จะส่งมนุษย์อวกาศไปยังดาวอังคาร  NASA กำลังพัฒนาแนวคิดเกี่ยวกับสถานีอวกาศสำหรับคนอยู่ โดยใช้ชื่อว่า Lunar Orbital Platform-Gateway รวมไปถึงยานอวกาศ Orion ซึ่งออกแบบมาสำหรับการเดินทางระยะไกล


ที่มาบทความ : Elizabeth Howell, Space.com สืบค้นวันที่ : 26 กันยายน พ.ศ. 2561
สืบค้นจาก : https://www.space.com/17400-apollo-12.html

Copyright © 2018 LEARN : อาณาจักรภูมิสารสนเทศ อาณาเขตแห่งการเรียนรู้

LEARN