ดาวอังคารอยู่ในแนวระนาบตรงข้ามกับดวงอาทิตย์ ในปี พ.ศ. 2561 : จะดูได้อย่างไรและคาดหวังอะไร

เตรียมพร้อมที่จะดูดาวเคราะห์แดงอย่างใกล้ชิดในเดือนนี้ ในขณะที่ดาวอังคารโคจรมายังตำแหน่งตรงข้ามกับดวงอาทิตย์ช่วงปลายเดือนกรกฎาคม เหล่านักสังเกตการณ์บนโลกจะมองเห็นดาวเคราะห์ดวงนี้ได้ในระยะใกล้ที่สุดนับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2546

ดาวอังคารและโลกต่างก็โคจรรอบดวงอาทิตย์ แต่ระยะทางต่างกัน ดังนั้นความเร็วจึงต่างกันด้วย ทุก ๆ สองปีหรือมากกว่านั้น ดาวอังคาร โลก และดวงอาทิตย์จะอยู่ในระนาบเดียวกันในระหว่างวงโคจรของดาวทั้งสามดวง ซึ่งมีโลกอยู่ตรงกลาง เหตุการณ์นี้จึงเป็นที่รู้ว่าดาวอังคารอยู่ในตำแหน่งตรงข้ามกับดวงอาทิตย์

ฤดูร้อนนี้ ดาวอังคารมีตำแหน่งตรงข้ามกับดวงอาทิตย์ จะเกิดขึ้นในวันที่ 27 กรกฎาคม และดาวอังคารจะเข้าใกล้โลกมากที่สุดในเวลา 03.50 น. EDT (07.50 GMT) ในวันที่ 31 กรกฎาคม ดาวเคราะห์แดงจะสุกสว่างมากที่สุดตั้งแต่ปี พ.ศ. 2546 ในขณะที่ดาวอังคารเข้าใกล้โลกมากที่สุดในเกือบรอบ 60,000 ปี

ดาวอังคารโคจรมาถึงตำแหน่งตรงข้ามกับดวงอาทิตย์ ซึ่งเป็นวันเดียวกันกับดวงจันทร์เต็มดวงของเดือนกรกฎาคม สำหรับนักดูดาวที่โชคดี อาจจะได้มีโอกาสมองเห็นจันทรุปราคาเต็มดวง แต่จันทรุปราคาที่เกิดขึ้นจะไม่สามารถมองเห็นได้ในฝั่งสหรัฐอเมริกา มันเป็นจันทรุปราคาที่ใช้เวลานานที่สุดในศตวรรษที่ 21

ระยะห่างใกล้ที่สุด ตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2546

ดาวอังคารโคจรมาอยู่ตรงข้ามกับดวงอาทิตย์ เช่นเดียวกับในภาพประกอบ ในขณะที่ดาวอังคารอยู่ในตำแหน่งระนาบ 180 องศา กับดวงอาทิตย์ในท้องฟ้าของโลก เครดิต : NASA

ในปี พ.ศ. 2546 ดาวอังคารอยู่ในตำแหน่งตรงข้ามกับดวงอาทิตย์  ดาวเคราะห์แดงอยู่ห่างจากโลกเพียง 34.6 ล้านไมล์  (55.8 ล้านกิโลเมตร) ซึ่งนี่เป็นเวลาที่ดาวเคราะห์สองดวงโคจรมาใกล้กันมากที่สุดในเกือบ 60,000 ปี และสถิตินี้จะยังไม่ถูกทำลายจนถึงวันที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2830 (สอดคล้องกับข้อมูลของ NASA)

เมื่อเปรียบเทียบกันขณะที่ดาวอังคารอยู่อีกฟากหนึ่งของดวงอาทิตย์และอยู่ในระยะที่ไกลจากโลกมากที่สุด เป็นระยะประมาณ 250 ล้านไมล์ (401 ล้านกิโลเมตร) อย่างไรก็ตาม ค่าเฉลี่ยระยะห่างระหว่างดาวเคราะห์สองดวงจะอยู่ที่ประมาณ 140 ล้านไมล์ (225 ล้านกิโลเมตร)

ดาวอังคารจะอยู่ตำแหน่งตรงข้ามดวงอาทิตย์ของปีนี้ในเดือนกรกฎาคม ซึ่งจะยังคงอยู่ต่อเนื่องไปในท้องฟ้า โดยในวันที่ 26 มิถุนายน ดาวอังคารจะอยู่ห่างจากโลกเพียง 44 ล้านไมล์ (70.8 ล้านกิโลเมตร) และจากมุมมองของนักดูดาวบนโลก มันจะสว่างราวห้าเท่ามากกว่าปกติ ตามเวลานั้นดาวเคราะห์แดงมาถึงตำแหน่งที่อยู่ใกล้โลกมากที่สุด จะอยู่ห่างจากโลกเพียง 35.8 ล้านไมล์ หรือ (57.6 ล้านกิโลเมตร) เท่านั้น และจะสว่างเกือบสองเท่าตั้งแต่วันที่ 26 มิถุนายน

ตำแหน่งตรงข้ามคืออะไรกันแน่ ?

ดาวอังคารโคจรรอบดวงอาทิตย์ในระยะที่ไกลกว่าโลก เนื่องจากวงโคจรที่มากกว่า ระยะเวลาโคจรจึงมากตามไปด้วย ดังนั้นดาวอังคารจึงใช้เวลาโคจรรอบดวงอาทิตย์ประมาณสองปีของโลก และเนื่องจากความเร็ววงโคจรที่แตกต่างเหล่านี้ ทุกๆ  ประมาณสองปีโลกโคจรผ่านระหว่างดาวอังคารและดวงอาทิตย์ นั่นหมายความว่าดาวอังคารและดวงอาทิตย์จะอยู่ในตำแหน่งตรงกันทั้งสองข้างของโลก

เนื่องจากดาวอังคารอยู่ในตำแหน่งตรงกับดวงอาทิตย์ในระหว่างระนาบ 180 องศา ดาวอังคารขึ้นขณะที่ดวงอาทิตย์ตก และดาวอังคารตกขณะที่ดวงอาทิตย์ขึ้น ด้วยเหตุนี้ ดาวเคราะห์แดงจึงสุกสว่างเป็นพิเศษบนท้องฟ้า

อย่างไรก็ตาม เนื่องจากดาวเคราะห์ทั้งสองมีวงโคจรเป็นรูปวงรี บางครั้งโลกกับดาวอังคารก็โคจรเข้ามาใกล้กันมากกว่าครั้งอื่นๆ ในเดือนกรกฎาคมดาวอังคารจะโคจรเข้าใกล้โลกมากกว่าที่เคยตั้งแต่ปี พ.ศ. 2546 และการเข้ามาใกล้ของดาวเคราะห์แดงครั้งต่อไปจะไม่เกิดขึ้นจนกระทั่งถึงปี พ.ศ. 2578

นอกจากนี้ ปีนี้ดาวอังคารจะเข้าใกล้กับสิ่งที่เรียกว่า “จุดปลายระยะวงโคจร” Perihelion อ้างถึงจุดวงโคจรของดาวอังคารในขณะที่เคลื่อนเข้าใกล้ดวงอาทิตย์มากที่สุด ดังนั้นในขณะที่ดาวอังคารเข้าใกล้ดวงอาทิตย์มากที่สุด มันก็อยู่ใกล้กับโลกมากขึ้นในระหว่างที่อยู่ตรงข้ามกับดวงอาทิตย์

จะดูดาวอังคารได้อย่างไร 

ในปีนี้ประมาณสองเดือนช่วงระหว่างวันที่ 7 กรกฎาคม และ 7 กันยายน ดาวอังคารจะสุกสว่างอย่างมากจนบังดาวพฤหัสฯและเคลื่อนไปยังตำแหน่งที่สว่างที่สุดอันดับสี่บนท้องฟ้าของโลกต่อจากดาวศุกร์ ดวงจันทร์ และดวงอาทิตย์

ตลอดเดือนพฤษภาคม ทั้งดาวอังคารและดาวเสาร์จะมองเห็นได้ และช่วงที่เหมาะดูมากที่สุดจะอยู่ในช่วงชั่วโมงก่อนฟ้าสางทางซีกโลกเหนือ ดาวอังคารจะดูเด่นมากจากการที่มีสีแดง ในขณะที่ดาวเสาร์ปรากฎเป็นสีทอง ดาวอังคารจะเคลื่อนจากตะวันออกของดาวเสาร์ตอนกลางเดือนพฤษภาคม เข้าสู่กลุ่มดาวมังกร ตามที่ EarthSky.org. แจ้ง

เริ่มจากกลางเดือนมิถุนายน ดาวอังคารจะปรากฏอย่างเป็นทางการท้องฟ้าตอนเย็นและสังเกตเห็นได้อย่างชัดเจน และดวงใหญ่ และเคลื่อนไปสู่ตำแหน่งตรงข้ามดวงอาทิตย์ในวันที่ 27 กรกฎาคม ดาวเคราะห์จะปรากฎสุกสว่างที่สุดระหว่างวันที่ 21 กรกฎาคม และ วันที่ 3 สิงหาคม เนื่องจากดวงอาทิตย์ตกเร็วในช่วงปลายฤดูร้อนและเร็วยิ่งขึ้นในฤดูใบไม้ผลิ ผู้ดูยังสามารถเห็นดาวเคราะห์อยู่สูงขึ้นบนท้องฟ้าเวลาเย็น

ระวังข่าวลวงเรื่องดาวอังคาร

 ในรูปซึ่งเป็นรูปคู่กันนั้น “ดาวอังคารที่งดงาม” จากอีเมล์ของปี 2546 ซึ่งเป็นจุดเริ่มข่าวลวงเรื่องดาวอังคาร เครดิต: ไม่ทราบแหล่งข้อมูล

ในปี พ.ศ. 2546 ระหว่างปีที่มีข่าวใหญ่ของดาวอังคาร มีการปล่อยข่าวลวงว่าดาวอังคารจะมีดวงใหญ่เท่ากับดวงจันทร์ ตั้งแต่นั้นมาวัฒนธรรมนี้ก็สืบต่อๆ กันมาจนกระทั่งบัดนี้ โดยปกติประมาณเดือนกันยายนข่าวนี้อาจจะกลับมาอีกครั้งในปีนี้

อย่าหลงเชื่อ – ในขณะที่ดาวอังคารจะส่องแสงโดนเด่นที่สุดและในระหว่างที่อยู่ตำแหน่งตรงข้ามกับดวงอาทิตย์ ดาวเคราะห์แดงมีขนาดประมาณครึ่งหนึ่งของโลกเท่านั้น นั้นก็หมายความว่าแม้ว่ามันจะเข้าใกล้มากสุดในฤดูร้อนนี้ก็ตาม มันก็จะเคลื่อนที่ผ่านเป็นแนวโค้ง 24.3 arc seconds ในขณะที่มองเห็นจากโลก เมื่อเปรียบเทียบแล้วเส้นผ่าศูนย์กลางเชิงมุมของดวงจันทร์อยู่ที่ 1,800 arc seconds ซึ่งใหญ่กว่าประมาณ 75 เท่า


ที่มาบทความ : Samantha Mathewson, จาก Space.com บันทึก : เมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม 2561
สืบค้นจาก : https://www.space.com/40588-mars-at-opposition.html

Copyright © 2018 LEARN : อาณาจักรภูมิสารสนเทศ อาณาเขตแห่งการเรียนรู้

LEARN