Oumuamua ไม่ได้มาจากระบบสุริยะของเรา เราอาจรู้ว่ามันมาจากไหน

ภาพวาดของ Oumuamua ซึ่งเป็นวัตถุต่างด้าวดวงแรก (Interstellar object) ที่พบ
เครดิต: M. Kornmesser / ESO

ตั้งแต่นักดาราศาสตร์ค้นพบ “Oumuamua” ซึ่งเป็นวัตถุอวกาศแรกนอกระบบสุริยะของเรา ทำให้เกิดข้อสงสัยมากกว่าคำตอบ: – มันคืออะไร? มันมาจากไหน? ทำไมถึงดูแปลกประหลาดขนาดนั้น?

แต่ทีมนักวิทยาศาสตร์ได้ชี้แจงว่าพวกเขาอาจมีความคืบหน้าในคำถามที่สอง ซึ่งได้ตีกรอบต้นกำเนิดของวัตถุประหลาดนี้ให้แคบลงเหลือเพียงสี่ดาว

งานวิจัยนี้มีพื้นฐานอยู่บนข้อมูลที่รวบรวมไว้ในเดือนมิถุนายนซึ่งระบุว่า “Oumuamua” ไม่ได้เพียงแค่โคจรไปมาเท่านั้น เมื่อวัตถุนั้นยิ่งเข้าใกล้ดวงอาทิตย์มันก็เพิ่มความเร็วขึ้นมา เช่นเดียวกับดาวหาง มันมีบางอย่างคล้ายน้ำแข็งที่สามารถเปลี่ยนเป็นไอน้ำและเร่งวัตถุให้ไปข้างหน้าได้เร็วกว่าปกติ

สาเหตุจากที่กล่าวมานั้นทำให้ Oumuamua เข้ามาสู่ระบบสุริยะของเรา (นักวิทยาศาสตร์โดยปกติเห็นเฉพาะวัตถุที่มีเส้นทางออกจากระบบสุริยะและต้องติดตามเส้นทางเพื่อค้นหาต้นกำเนิด)

นักวิทยาศาสตร์จึงทบทวนชุดข้อมูลจำนวนมากที่ได้จากภารกิจ Gaia ขององค์การอวกาศยุโรป(European Space Agency )ซึ่งระบุตำแหน่งที่แม่นยำของดาว   แผนที่ดังกล่าวมีความสำคัญมาก ไม่เพียงแค่เพื่อให้นักวิทยาศาสตร์สามารถระบุบริเวณที่อาจเป็นที่กำเนิดของระบบสุริยจักรวาล แต่ยังสามารถคำนวณว่าดาวฤกษ์บริเวณใกล้เคียงและแรงโน้มถ่วงที่คอยดึงวัตถุอวกาศออกนอกเส้นทาง

จากข้อมูลที่สำคัญทั้งสองอย่าง ทีมงานจึงสามารถระบุดาวฤกษ์สี่ดวงที่อาจเป็นแหล่งกำเนิดของ Oumuamua: ดาวแคระแดง HIP 3757 ,ดาวฤกษ์คล้ายดวงอาทิตย์ HD 292249 และดาวฤกษ์อีกสองดวงที่ยังไม่มีชื่อเล่น

นักดาราศาสตร์เชื่อว่า “Oumuamua” (ชื่อมีความหมายว่า “ผู้ส่งสารที่ห่างไกลซึ่งเดินทางมาถึงก่อน” ในภาษาฮาวาย) มาจากระบบสุริยะที่มีดาวเคราะห์ยักษ์ขนาดใหญ่อย่างน้อยหนึ่งดวง จึงได้ถูกแรงผลักให้ออกมาจากข้ามจักรวาลได้ ดาวฤกษ์ทั้งสี่ดวงนี้ไม่มีดาวเคราะห์ของตัวเอง – แต่ข้อมูลก็สามารถเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา

งานวิจัยชิ้นใหม่ได้ลงไว้ในบทความที่โพสต์เมื่อวันที่ 24 กันยายน ที่เว็บไซต์ preprint arXiv.org และได้รับการยอมรับให้ตีพิมพ์ในวารสาร Astrophysical Journal


ที่มาบทความ : Meghan Bartels, Space.com สืบค้นวันที่ : 25 กันยายน พ.ศ. 2561
สืบค้นจาก : https://www.space.com/41928-where-did-oumuamua-come-from.html

Copyright © 2018 LEARN : อาณาจักรภูมิสารสนเทศ อาณาเขตแห่งการเรียนรู้

LEARN