หมู่บ้านชาวมอแกน

บันทึกนักสำรวจ ที่ 050 “หมู่บ้านชาวมอแกน”

11693944_601328013303392_2771986124753522032_n

ในอดีตหมู่เกาะสุรินทร์ เป็นที่พักพิงชั่วคราวของชาวเล ชนพื้นเมืองที่ร่อนเร่อยู่ในท้องทะเลอันดามัน ตั้งแต่เกาะนิโคบาร์ ในประเทศอินเดีย มายังหมู่เกาะต่างๆ ในประเทศไทย ไปจนถึงเกาะสุมาตรา ประเทศอินโดนีเซีย ชนกลุ่มนี้เรียกเผ่าพันธุ์ของตัวเองว่า “มอร์แกน” และด้วยความเจริญก้าวหน้าทางการคมนาคมและการสื่อสารของโลก ทำให้ชนชาวเลหลายกลุ่มเริ่มตั้งรกรากประจำอยู่กับที่ และมีวิถีชีวิตเช่นเดียวกับคนเมืองทั่วไป ชาวเล ณ อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์ ก็เช่นกัน เริ่มมีการตั้งรกรากบนหาดต่างๆ ของเกาะสุรินทร์ใต้ แต่ยังไม่เป็นการถาวร ได้สัมผัสและเรียนรู้วัฒนธรรมของชาวเมือง ทั้งชาวไทยและต่างประเทศซึ่งเป็นนักท่องเที่ยว เด็กๆ ชาวเลได้หัดเรียน เขียน อ่านภาษาไทย เช่นเดียวกับเยาวชนไทยคนหนึ่ง แต่ที่แปลกคือ วิถีชีวิตการเลี้ยงชีพและครอบครัวจากทรัพยากรในท้องทะเล ความรู้ ความเข้าใจ ที่ลึกซึ้งเกี่ยวกับท้องทะเล ประเพณีลอยเรือ การรอนแรมในเรือไม้เพื่อเดินทางไปเยี่ยมเยือนญาติพี่น้อง จากเกาะหนึ่งไปยังอีกเกาะหนึ่ง หรือจากประเทศหนึ่งไปยังอีกประเทศหนึ่งยังดำเนินอยู่ต่อไป มรดกทางวัฒนธรรมซึ่งบรรพชนได้ถ่ายทอดให้มาเหล่านี้ ยังไม่สูญหายไปจากความเป็นชาวมอร์แกนแห่งหมู่เกาะสุรินทร์

11692619_601327999970060_7596764526743609025_n11011744_601327943303399_4800991957501212625_n11145222_601327949970065_63738565926544274_n11667372_601327996636727_7834572445133371938_n11707550_601327966636730_461001478961607902_n1897685_601327993303394_6065190754248718110_n11168459_601327916636735_3671326002546658418_n11666301_601327879970072_6398740997627526344_n

Copyright © 2018 LEARN : อาณาจักรภูมิสารสนเทศ อาณาเขตแห่งการเรียนรู้

LEARN