การจำแนกรายละเอียดข้อมูลด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ ไม่ว่าจะใช้วิธีการจำแนกแบบไหน สุดท้ายข้อมูลที่ได้ก็จะเป็นข้อมูล Vector ซึ่งจะต้องทำการปรับแก้และตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลก่อนจะนำไปใช้งานจริง ปัญหาอย่างหนึ่งที่พบ คือ การมี polygon เล็กๆ จำนวนมากที่กระจัดกระจายอยู่ การจะเลือกทีละ polygon และทำการ reclass ใหม่ ก็ไม่ไหว นอกจากนั้นยังต้องใช้เวลาในการทำนาน หากใช้คำสั่ง Eliminate จะช่วยทำให้เราสามารถจัดการปัญหาเหล่านี้ได้ง่ายและรวดเร็วขึ้น เพียงแต่ว่าเราต้องคิดและทราบข้อมูลที่จะทำ Eliminate ในเบื้องต้นก่อนว่า ต้องการทำขนาด polygon เท่าไร ยุบแล้วจะให้ไปอยู่ที่ไหน จะยุบทั้งหมดที่เลือกหรือมีเงื่อนไขอื่นๆ เพิ่มเติมที่ไม่ต้องยุบหรือไม่ เป็นต้น
ในที่นี้ผมจะยกตัวอย่างการทำ Eliminate กับข้อมูล Landuse ที่มีการทำแบบค่า Default และการเพิ่มเงื่อนไขต่างๆ เข้าไป ดังนี้
1. ข้อมูล landuse ที่จะใช้ในการทำ Eliminate
2. เลือกข้อมูลที่ต้องการทำ Eliminage ในที่นี้ ให้ยุบรวม polygon ที่มีพื้นที่น้อยกว่า 2500 ตารางเมตร
3. คำสั่ง Eliminate ให้เลือกข้อมูลที่นำเข้า ส่งออก และกำหนดเงื่อนไขการทำงานต่างๆ
3.1 เลือกชั้นข้อมูลที่จะทำ Eliminate
3.2 ชื่อชั้นข้อมูลหลังทำ Eliminate
(3.3 – 3.5 เป็น option จะใส่หรือไม่ใส่ค่าก็ได้ และการทำงานจะนำข้อมูลที่เลือกจากข้อ 2 มาทำงานก่อน ตามด้วยเงื่อนไขต่างๆ ที่เรากำหนดเพิ่มเติมในข้อ 3.3 – 3.5)
3.3 เช็ค เครื่องหมายถูก คือ ยุบรวม polygon ที่เลือกเข้ากับพื้นที่ที่ยาวที่สุด
ไม่เช็ค เครื่องหมายถูก คือ ยุบรวม polygon ที่เลือกเข้ากับพื้นที่ที่ใหญ่ที่สุด
3.4 กำหนดเงื่อนไขแบบ Attribute ที่ไม่ต้องการให้ทำ Eliminate เช่น “Classname_” = ‘Forest’ (จากข้อ 2 คือ ทำ Eliminate กับ พื้นที่น้อยกว่า 2500 ตารางเมตร แต่ไม่ต้องทำกับข้อมูลที่มีฟิลด์ Classname_ เท่ากับ Forest)
3.5 กำหนดเงื่อนไขแบบ Spatial เป็นชั้นข้อมูลแบบ polyline หรือ polygon ก็ได้ ที่ไม่ต้องการให้ทำ Eliminate (ให้เลือกชื่อชั้นข้อมูล ซึ่งการทำงานจะเริ่มต้นที่ข้อ 2 ก่อน)
4. ผลลัพธ์ 3.1 – 3.3 เช็คเครื่องหมายถูก
5. ผลลัพธ์ 3.1 – 3.3 ไม่เช็คเครื่องหมายถูก
6. ผลลัพธ์ 3.1 – 3.4 ไม่เช็คเครื่องหมายถูก และ “Classname_” = ‘Forest’
7. ผลลัพธ์ 3.1 – 3.5 ไม่เช็คเครื่องหมายถูก และ “Classname_” = ‘Forest’ และชั้นข้อมูล polygon
ที่มา : https://gi4u.wordpress.com/