รูป 1 ดาวเทียมคิวแซทขนาด 1U บนอวกาศ (ภาพจำลองจาก spaceref.com)
มารู้จักดาวเทียมขนาดเล็กที่ตอนนี้กำลังได้รับความนิยมจากทั้งมหาวิทยาลัย บริษัทต่างๆ หรือแม้แต่โรงเรียนบางแห่งอีกด้วยดาวเทียมที่ว่าคือ ดาวเทียมคิวแซท (Cubesat)
เริ่มต้น
ดาวเทียมคิวแซทเริ่มสร้างขึ้นตั้งแต่ปี คศ 1999 ที่ California Polytechnic State University และ Stanford University โดยวัตถุประสงค์เริ่มแรกคือเพื่อการฝึกทักษะและให้ความรู้ในการ Design , Manufacture และ testing กับดาวเทียมตัวจริงๆ แต่ราคาถูก เพื่อให้ผู้ที่สร้างดาวเทียมมีความชำนาญเพิ่มมากขึ้น เพราะการที่จะได้โอกาสทำงานกับดาวเทียมดวงใหญ่จะเป็นไปได้ยากกว่า เพราะราคาของดาวเทียมดวงใหญ่ๆแพงมาก
ขนาด
คิวแซทจะมีขนาดเริ่มต้นมาตรฐานที่ 10 x 10 x 10 ซม ซึ่งจะเรียกว่า 1 U และน้ำหนักจำกัดอยู่ที่ 1 กิโลกรัม ซึ่งได้มีการสร้างขึ้นมากหลายตัวหลากหลาย Mission และการพัฒนาในต้องนี้คิวแซทสามารถทำได้ 12U 6U 3 U หรือ 2U ได้ด้วย 12 U จะมีน้ำหนักประมาณ 15.6 กิโลกรัม เหตุผลที่คิวบ์แซทต้องเป็นแบบนี้ก็เพื่อให้คิวแซทสามารถเข้าไปอยู่ในระบบจัดเก็บและส่งดาวเทียมในจรวดส่งดาวเทียมได้อย่างลงตัวและง่ายดาย ทำไมระบบจัดเก็บและส่งในจรวดต้องมีแบบเฉพาะ นั้นก็เพราะว่าดาวเทียมคิวแซทจะถูกส่งไปพร้อมกับดาวเทียมขนาดใหญ่ที่เป็น mission หลัก ส่วนคิวแซทจะเป็น mission รอง เพื่อความปลอดภัยให้กับดาวเทียมดวงใหญ่ดาวเทียมใน mission รองต้ออยู่ในแต่งแหน่งและพื้นที่ที่จำกัดในระหว่างการส่งขึ้นสู่อวกาศ
รูปทรง
รูป 2 โครงสร้างดาวเทียมคิวแซทขนาด 12U, 6U, 3U 2U และ 1U
ทำอะไรได้บ้าง
คิวแซทได้รับความนิยมมากเพราะราคาไม่แพงและคนที่สร้างได้ฝึกฝนตัวเองกับดาวเทียมจริงแต่เพียงแค่ดวงจิ๋วเท่านั้น
ตัวอย่างของ Mission ที่คิวแซทสามารถทำได้และเคยส่งเข้าสู่วงโคจรแล้วเช่น ถ่ายภาพบนอวกาศ การส่งสัญญาณวิทยุกลับคืนสุ่พื้นโลก หรือ การทดลองการใช้ Device ที่สร้างขึ้นมาใหม่บนอวกาศเป็นต้น
ภาพด้านล้างนี้แยกให้เห็นการสร้างคิวแซทแยกตามหน่วยงาน ซึ่งคิวแซทมาจาก University, Military, Goverment หรือ Commercial จะเห็นว่ายิ่งเวลาผ่านไปคิวแซทก็ได้รับความนิยมมากยิ่งขึ้นและในขณะนี้ทางด้าน Commercial ได้รับความนิยมสูงสุด
รูป 3 ดาวเทียมคิวแซทแยกตามหน่วยงานที่จัดสร้างตั้งแต่ปี 2000-2016
ขณะนี้ สำนักงานเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ และ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ มีความร่วมมือกำลังเดินโครงการนำร่องดาวเทียมคิวแซทต้นแบบเพื่อการพัฒนาบุคลาการและนักศึกษาในการสร้างคิวแซทขนาด 1 U ซึ่งยังเป็นต้นแบบอยู่และคาดว่าประเทศไทยจะมีดาวเทียมคิวแซทดวงแรกและส่งขึ้นสู่อวกาศในไม่ช้านี้
คราวหน้ามารู้จักกับดาวเทียมจิ๋วมากขึ้นใน ดาวเทียมดวงจิ๋ว episode#1
Reference
- Why cubesat by Juan D. Deaton
- Cubesatkit.com