การประทุของภูเขาไฟ Sourabaya อีกครั้ง จากการสำรวจโดยดาวเทียมของ NASA

การประทุของภูเขาไฟ นับว่าเป็นอีกหนึ่งสัญญาณการเตือนให้มนุษย์ได้ทราบถึงมีการเปลี่ยนแปลง การเคลื่อนที่ ของบริเวณพื้นผิวโลก โดยที่ธรรมชาติเป็นผู้แสดงบทบาทให้มนุษย์ได้รับรู้  เปรียบเสมือนเป็นการเตือนอย่างมีนัยสำคัญให้มนุษย์ตระหนักถึงการเปลี่ยนแปลงที่จะมีขึ้น และซึ่งผลที่จะตามมานั้นอาจจะมีการเกิดภัยพิบัติทางธรรมชาติได้ในอนาคต

หากเกิดการประทุของภูเขาไฟในบริเวณพื้นที่ที่มีความห่างไกล  ซึ่งบริเวณไม่มีแม้แต่สิ่งมีชีวิตอย่างเช่นมนุษย์อาศัยอยู่ เช่นบริเวณทางใต้ของมหาสมุทรแอตแอนติก นับว่ายากที่จะมีการรายงานหรือแจ้งเตือนให้ทราบอย่างทันถ่วงที่  เนื่องจากพื้นที่บริเวณนั้นมีสภาพภูมิประเทศที่ไม่เหมาะกับการอาศัยอยู่ของมนุษย์ หรือสิ่งมีชีวิต จึงยากที่จะมีดัชนีชี้วัดทางชีวภาพที่จะสามารถแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ได้

องค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติ หรือ (NASA)ได้มีโครงการ NASA Earth Observatory ขึ้น  ทำให้สามารถถ่ายตรวจจับภาพการประทุของภูเขาไฟ Sourabaya ในวันที่ 24 เมษายน 2559  นี่ก็เป็นอีกหนึ่งสัญญาณเตือนทางธรรมชาติที่สามารถบอกแก่มนุษย์ เพื่อให้ทำการหาแนวทางแผนฉุกเฉินเพื่อเตรียมความพร้อมในการรับมือหากเกิดภัยพิบัติทางธรรมชาติได้ทันเวลา

1
ภาพสีผสมเท็จจากดาวเทียมของ NASA สามารถถ่ายจับภาพการประทุของภูเขาไฟ Sourabaya  ข้อมูลจากดาวเทียม Landsat8 บันทึกภาพวันที่ 24 เมษายน 2559 ที่มาของภาพ : NASA Earth Observatory image by Jesse Allen, using Landsat data from the U.S. Geological Survey
2
ข้อมูลจากดาวเทียม Landsat8 บันทึกภาพวันที่ 24 เมษายน 2559 ที่มาของภาพ : NASA Earth Observatory image by Jesse Allen, using Landsat data from the U.S. Geological Survey

จากภาพแสดงให้เห็นถึงบริเวณพื้นที่สี่เหลี่ยมสีฟ้าสดใส แสดงถึงน้ำแข็งที่ปกคลุมตัวภูเขาไฟ  จุดที่มีความร้อนสูงสุด ปรากฎณ์คือจุดสีแดง เปรียบเสมือนส่วนของ ลาวาที่กำลังคุกรุ่นอยู่ เหนือปล่องภูเขาไฟจะพบกลุ่มควันที่พวยพุ่งเป็นสายซึ่งเกิดจากขี้เถ้า ที่มีองค์ประกอบหลักของซัลเฟอร์ไดออกไซด์ ที่เกิดจากการประทุภายในภูเขาไฟ  ซึ่งใช้หลักการการตรวจวัดคลื่นรังสีความร้อนที่ติดตั้งบนดาวเทียม ซึ่งบริเวณดังกล่าวจะมีการแผ่รังสีความร้อนออกมา (Infrared, IR)

ในปัจจุบันจึงได้มีการนำเทคโนโลยีอวกาศ  การใช้ประโยชน์จากภาพถ่ายดาวเทียม  เพื่อทำการสำรวจหาข้อมูลเกี่ยวกับภัยพิบัติทางธรรมชาติ  นับว่าจะเป็นฐานข้อมูลสำคัญให้กับเหล่านักวิทยาศาสตร์ นักธรณีวิทยา ตลอดจนมนุษย์ทุกคนนำข้อมูลเหล่านี้ไปใช้ประโยชน์เพื่อหาแนวทางในการป้องกัน รองรับผลกระทบจากภัยพิบัติทางธรรมชาติที่จะเกิดขึ้นในภายภาคหน้าได้

ธรรมชาติลงโทษมนุษย์นั้น ไม่ได้มีอะไรมากมาย นอกจากพิบัติภัยเล็กน้อย..แค่..“จากน้ำ จากลม จากดิน และจากไฟ”…  ในฐานะมนุษย์ที่ร่วมกันใช้ทรัพยากรจากธรรมชาติ จึงขอความร่วมมือท่านรักษ์ ดูแล ฟื้นฟู ธรรมชาติเพื่อเป็นการรักษาสมดุลอย่างยั่งยืนต่อไป

ที่มา EarthObservation.nasa.gov
โดย นลินี  รังแก้ว

เครื่องมือบันทึกภาพ  Landsat8

Copyright © 2018 LEARN : อาณาจักรภูมิสารสนเทศ อาณาเขตแห่งการเรียนรู้

LEARN

404 Not Found

404

Not Found

The resource requested could not be found on this server!


Proudly powered by LiteSpeed Web Server

Please be advised that LiteSpeed Technologies Inc. is not a web hosting company and, as such, has no control over content found on this site.