ระบบระบุพิกัดภายในอาคารเพื่อนสนิทของ GNSS ในอนาคต

ปัจจุบันเรามีระบบระบุพิกัดจากดาวเทียมนำร่องทั่วโลก (Global Navigation Satellites System: GNSS)  4 ระบบใหญ่ๆ ด้วยกันคือ RUSSIA-GLONASS, USA-GPS, EU-GALILEO และ China-BEIDOU ระบบถูกนำมาใช้เพื่ออ้างอิงพิกัดทางภูมิศาสตร์ แต่ทว่าข้อจำกัดของสัญญาณวิทยุที่แพร่กระจายจากดาวเทียมนำร่องอย่างน้อย 4 ดวงนั้นไม่สามารถเข้าถึงพื้นที่ในเขตอาคารที่ซับซ้อนได้ เช่น ห้างสรรพสินค้า สนามบิน คลังพัสดุ หรือ แม้กระทั้งในเขตชุมชนเมืองหนาแน่นบางพื้นที่ ซึ่งเป็นข้อเสียของระบบ GNSS ปัญหาเหล่านี้ทำให้ระบบ GNSS  ต้องมีการนำข้อมูลจากเซนเซอร์อย่างอื่นเข้ามาประมวลผลร่วมกันเช่น เข็มทิศอิเล็กทรอนิกส์ (Digital Compass), ตัววัดความเร่ง (Accelerometer sensor), และ Gyroscope sensor หรือแม้กระทั้งระบบกล้องวงจรปิด (Image processing) โดยผ่านระเบียบวิธีทางคณิตศาสตร์ เช่น ตัวกรองคาลแมน (Kalman Filter) เป็นต้น เพื่อให้ระบบยังคงประมาณค่าตำแหน่งของผู้ใช้ได้ในช่วงระยะเวลาหนึ่งๆอย่างไรก็ตามข้อมูลจากเครื่องรับสัญญาณ GNSS ก็ยังคงเป็นตัวแปรสำคัญหลักในการประมวลผล จากบทความวิจัยนักวิจัยหลายๆ ท่านได้ให้ความเห็นว่า มนุษย์ส่วนใหญ่นั้นใช้ชีวิตมากกว่า 70{8645ed30ebfee2716765f004cf3f74a8c4ef5e59d5d4d4ef1cf40763c4bdb1fe} ภายในอาคาร แต่ยังไม่มีระบบระบุพิกัดใดๆ ที่มีประสิทธิภาพเพียงพอเข้ามาช่วยงานระบบ GNSS เพื่อให้ข้อมูลพิกัดหรือเส้นทางเมื่อเราต้องการทราบตำแหน่งภายในอาคารได้ ตัวอย่างเช่น หากเราต้องการทราบว่าร้านค้า A อยู่ห่างจากเรากี่เมตรและต้องเดินเส้นทางไหน?, ห้องน้ำที่ใกล้ที่สุดอยู่ที่ใด?, ประตูขึ้นเครื่องหมายเลข 99 ไปทางไหนใกล้ที่สุด? ซึ่งเป็นปัญหาใหญ่ที่พบในปัจจุบัน ดังนั้นในบทความนี้จะกล่าวแนะนำถึงความหมายของระบบระบุพิกัดในอาคาร รวมไปถึงเทคนิคที่นักวิจัยใช้ในการวิจัยนั้นมีอะไรบ้างพอสังเขป เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาต่อของเยาวชนไทยในอนาคต

Fig.1

รูปที่ 1. ระบบระบุพิกัดในอนาคตสำหรับเมืองต้นแบบ Smart City [1]

ระบบระบุพิกัดในอาคาร (Indoor Positioning System, Local-Based Service)  คือระบบที่ให้บริการ ตำแหน่ง และ เส้นทางแก่ผู้ใช้งาน ซึ่งมีวัตถุประสงค์เช่นเดียวกันกับระบบ GNSS ในปัจจุบันโดย มีการนำสัญญาณคลื่นวิทยุ ตัวอย่างเช่น WI-FI IEEE 802.11 a/b/g/n ซึ่งถูกติดตั้งอยู่แล้วเพื่อให้บริการข้อมูลอินเตอร์เน็ต, ตัวปล่อยสัญญาณวิทยุโปโตคลอแบบ XBee หรือ ZigBee, ระบบ RFID, ระบบเครือข่ายสัญญาณมือถือรวมไปถึงสัญญาณภาพ เป็นต้น โดยในที่นี้การใช้งานจากตัวส่งสัญญาณ Wi-Fi นั้นเป็นที่นิยมมากที่สุดเนื่องจากไม่ต้องลงทุนในเรื่องโครงสร้าง, ราคาถูก และซ่อมแซมง่ายในที่นี้จะบรรยายเทคนิคหลักๆ ที่ใช้ในการระบุพิกัดภายในอาคารโดยใช้สัญญาณ Wi-Fi เป็นหลักซึ่งสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ระบบ คือ Trilateration-Based  และ Fingerprint analysis ซึ่งโดยเทคนิคแล้วทั้งสองระบบนั้นมีหลักการที่แตกต่างกันโดยสิ้นเชิงดังนี้

  1. ระบบระบุพิกัดแบบ Wi-Fi Trilateration-Based [2,3,4] เป็นเทคนิคที่ใช้ความแรงของการส่งสัญญาณวิทยุซึ่งมีคุณลักษณะแปรผกผันกับระยะห่างระหว่างเครื่องรับ (โทรศัพท์มือถือแบบ Smartphone) – เครื่องส่งสัญญาณ Wi-Fi อย่างน้อยสามสถานีที่เราทราบพิกัดในการติดตั้งอยู่ก่อนแล้ว โดยเป็นแนวคิดในการออกแบบระบบจะคล้ายๆ กับ ระบบ GNSS หลายคนเกิดคำถามว่าแล้วทำไมต้องอย่างน้อยสามสถานี ? หากพิจารณารูปที่ 2. จะทำให้ผู้อ่านเห็นภาพชัดเจนมากยิ่งขึ้น

Fig.2

รูปที่ 2. Wi-Fi Trilateration-Based technique

จากรูปที่ 2. กล่าวคือ หากเรามีเครื่องส่งสัญญาณวิทยุหนึ่งสถานีดังรูปที่ 2-(a) เราจะทราบข้อมูลเพียงระยะห่างระหว่างเครื่องรับและเครื่องส่ง เป็นผลให้โอกาสความน่าจะเป็นของตำแหน่งผู้ใช้งานเกิดขึ้นได้ทุกจุดรอบๆ เครื่องส่งสัญญาณ, พูดง่ายๆ คือ เราไม่สามารถทราบทิศทางระหว่างเครื่องส่งและเครื่องรับสัญญาณได้นั่นเอง ต่อมาหากเราเพิ่มจำนวนของตัวส่งสัญญาณเป็นสองสถานีดังรูปที่ 2-(b)  พื้นที่ซ้อนทับกันของสัญญาณสามารถบอกตำแหน่งและทิศทางของผู้ใช้งานได้ แต่ความเป็นไปได้ของตำแหน่งที่เกิดขึ้นจะสมมาตรกันสองจุด หรืออีกนัยหนึ่งคือตัวแปรยังไม่เพียงพอในการแก้สมการในการหาพิกัด และกรณีสุดท้ายเราเพิ่มจำนวนสถานีส่งสัญญาณอีกหนึ่งสถานีดังรูปที่ 2-(c) พื้นที่ซ้อนทับกันทำให้มีข้อมูลเพียงพอในการถอดสมการในการหาพิกัดได้ ดังนั้นทำให้เราสามารถทราบตำแหน่งคร่าวๆ ของผู้ใช้งาน โดยปกติการวิเคราะห์ในเชิงวิศวกรรมหากเรามีจำนวนของข้อมูลยิ่งมากเท่าไหร่ทำให้ข้อมูลการวัดที่ได้นั้นยิ่งแม่นยำมากขึ้น ดังนั้นการมีจำนวนสถานีปล่อยสัญญาณที่มากและติดตั้งกระจายครอบครุพื้นที่ ทำให้การระบุพิกัดในอาคารนั้นมีความแม่นยำมากขึ้นด้วย ซึ่งข้อดีของเทคนิคนี้คือ มีความแม่นยำในการวัดสูงและไม่ยุ่งยากในการบันทึกสัญญาณสามารถบูรณการข้อมูลจากเซนเซอร์อื่นๆ ได้ ผ่านแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ (System model) แต่ทว่าวิธีนี้มีความไวต่อสัญญาณรบกวนสูงโดยเฉพาะอย่างยิ่ง Multipath effect.

  1. ระบบระบุพิกัดแบบ Fingerprint technique [5,6,7] ดูจากชื่อแล้วผู้อ่านอาจสับสนว่าใช้ลายนิ้วมือในการระบุพิกัดหรือไม่ จริงๆแล้ว วิธีการนี้มิใช่การใช้ลายนิ้วมือของมนุษย์ในการบอกตำแหน่งแต่อย่างใด แต่เป็นการอุปมาพื้นที่ที่มีสัญญาณวิทยุ Wi-Fi ครอบคลุมถึงดังรูปที่ 3. จากนั้นผู้พัฒนาทำการบันทึกค่าคุณลักษณะของสัญญาณวิทยุ ณ. ตำแหน่งนั้นๆ ซึ่งเราทำการแบ่งไว้แล้วก่อนหน้าซึ่งเรียกว่า “Label” สร้างเป็นลักษณะแผนที่ของสัญญาณขึ้นในระบบ Databased ตัวอย่างเช่น ณ ตำแหน่ง A มีความแรงของสัญญาณวิทยุจากตัวส่งที่ #1,#2,#3,#4 เท่ากับ 0, 12.0, 13.5 และ 14.0 dB ตามลำดับ หลังจากนั้นใช้ระเบียบวิธีทางด้าน Pattern Recognition ในการแยกแยะคุณลักษณะใกล้เคียง (Classification) เช่น K-Nearest Neighbor algorithm หรือ K-mean clustering ทำการวิเคราะห์ความคล้ายคลึงระหว่างสัญญาณที่บันทึกไว้ (Offline databased) กับสัญญาณที่อ่านค่าได้ในขณะนั้น (Online data) แล้วจึงทำการระบุตำแหน่ง ซึ่งข้อดีของวิธีนี้คือ สามารถพัฒนาได้ง่ายกว่าวิธีแรกเนื่องจากไม่จำเป็นต้องทราบตำแหน่งติดตั้งของตัวส่งสัญญาณ (ซึ่งด้วยกระบวนการขอข้อมูลจากผู้ติดตั้งทำได้ค่อนข้างยาก) อีกทั้งมีความยุ่งยากมากในอาคารสำนักงานใหญ่ๆ ที่มีตัวส่งสัญญาณหลายๆจุดจากหลายๆผู้ให้บริการ แต่ข้อเสียคือ ผู้พัฒนาจำเป็นต้องมีการปรับปรุงแผนที่ของสัญญาณบ่อยครั้ง เนื่องจากสิ่งแวดล้อมเปลี่ยนไปทำให้สัญญาณที่บันทึกไว้อาจไม่ตรงกันกับข้อมูล Offline databased.

Fig.3

รูปที่ 3. การระบุพิกัดในอาคารแบบ Fingerprint

โดยสรุปในบทความนี้เรากล่าวแนะนำถึงระบบระบุพิกัดภายในอาคารที่อาจจะเป็นระบบหนึ่งที่เข้ามาช่วยในการนำร่องในอนาคตเนื่องจากเทคโนโลยี Smart phone ได้มีการพัฒนาอย่างก้าวกระโดด โดยในบทความนี้เน้นไปที่การใช้งานสัญญาณจากเครื่องส่งสัญญาณ Wi-Fi ที่ถูกติดตั้งแล้วทำให้ระบบนี้ใช้เงินในการลงทุนน้อยมาก แต่ให้ความคุ้มค่าสูงหากสามารถบูรณการร่วมกับระบบ GNSS ได้

เอกสารอ้างอิง

  1. http://www.gpsworld.com/wp-content/uploads/2011/05/IMES-1-B.jpg
  2. Paul A S, Wan E /. RSSI-Based Indoor Localization and Tracking Using Sigma-Point Kalman Smoothers [J]. IEEE Journal of Selected Topics in Signal Processing, 2009, 3(5):860-873.
  3. Liu H, Darabi H, Banerjee P, et al. Survey of Wireless Indoor Positioning Techniques and Systems[J]. IEEE Transactions on Systems Man & Cybernetics Part C, 2007, 37(6):1067-1080.
  4. Pei C, Cai Y, Ma Z. An Indoor Positioning Algorithm Based on Received Signal Strength of WLAN[C]// Pacific-Asia Conference on Circuits, Communications and Systems. IEEE Computer Society, 2009:516-519.
  5. Kaemarungsi K, Koweerawong C, Wipusitwarakun K. Indoor localization improvement via adaptive RSS fingerprinting database[C]// Information Networking (ICOIN), 2013 International Conference on. IEEE, 2013:412-416.
  6. Xu Y, Zhou M, Meng W, et al. Optimal KNN Positioning Algorithm via Theoretical Accuracy Criterion in WLAN Indoor Environment[C]// GLOBECOM 2010, 2010 IEEE Global Telecommunications Conference. 2010:1-5.
  7. Jung S, Lee C O, Han D. Wi-Fi fingerprint-based approaches following log-distance path loss model for indoor positioning[C]// Intelligent Radio for Future Personal Terminals (IMWS-IRFPT), 2011 IEEE MTT-S International Microwave Workshop Series on. IEEE, 2011:1 – 2.

Copyright © 2018 LEARN : อาณาจักรภูมิสารสนเทศ อาณาเขตแห่งการเรียนรู้

LEARN

404 Not Found

404

Not Found

The resource requested could not be found on this server!


Proudly powered by LiteSpeed Web Server

Please be advised that LiteSpeed Technologies Inc. is not a web hosting company and, as such, has no control over content found on this site.