การสร้าง Multiple Sync Data Frame มีประโยชน์มากในการใช้เปรียบเทียบข้อมูลหลายๆ ชุดในพื้นที่เดียวกัน เมื่อมีการเลื่อนแผนที่ใน Data Frame หลัก แผนที่ที่อยู่ใน Data Frame อื่นๆ ก็จะเลื่อนไปเองโดยอัตโนมัติ (วิธีการสร้าง Multiple Sync Data Frame มีการนำเสนอไปแล้วในเนื้อหาก่อนหน้านี้)
ตัวอย่างเช่น การสร้าง Data Frame ขึ้นมา 3 Data Frame ได้แก่ 1, 2 และ 3 โดย Data Frame ที่ 1 จะเป็น Data Frame หลัก ซึ่ง Data Frame ที่ 2 และ 3 มีการใช้อ้างอิง
เมื่อเลื่อนแผนที่จากจุดที่ FCP2016001 ไปเป็น FCP2016002 แผนที่ทั้ง 3 Data Frame ก็จะเลื่อนไปพร้อมๆ กัน
ปกติก็จะไม่เกิดปัญหาอะไร สามารถใช้งานได้ง่ายและถูกต้องมาโดยตลอด แต่บังเอิญครั้งนี้ แอบสังเกตเห็นว่ามาตราส่วนของ Data Frame ที่ 1 และ 2 ไม่เท่ากัน (แต่ 1 กับ 3 เท่ากัน คือ 1:500,000) นั่นคือ มาตราส่วนของ Data Frame ที่ 1 เป็น 1:500,000 ส่วนมาตราส่วนของ Data Frame ที่ 2 เป็น 1:526,880 ซึ่งข้อมูลก็เป็นชุดเดียวกันและก๊อปปี้ Data Frame มาใช้เหมือนกัน ทำไมจึงมีมาตราส่วนไม่เท่ากัน
ลองเข้าไปตรวจสอบที่ Data Frame Properties ใน Tab Data Frame ก็กำหนดค่าไว้ 100{8645ed30ebfee2716765f004cf3f74a8c4ef5e59d5d4d4ef1cf40763c4bdb1fe} เหมือนกัน
พอขยับไปดูที่ Tab Coordinate System เท่านั้นแหละ ก็ถึงบางอ้อ ว่าเป็นเพราะมีการกำหนดระบบพิกัดของ Data Frame ที่ 1 และ 2 ไม่เหมือนกันนี่เอง ซึ่งจริงๆ แล้วจะต้องเหมือนกัน ในกรณีนี้ Data Frame ที่ 1 (และ 3) เป็น WGS 1984 UTM Zone 47N แต่ใน Data Frame ที่ 2 WGS 1984 UTM Zone 48N
มีความเป็นไปได้ว่า Data Frame ที่ 2 ไม่ได้ถูกก๊อปปี้มาจาก Data Frame ที่ 1 แต่สร้างขึ้นมาเองและเปิดข้อมูลที่เป็นโซน 48 ขึ้นมาให้ Data Frame จำระบบพิกัดนั้นไว้ วิธีแก้ไขก็คือ เลือกให้เป็นระบบพิกัดเดียวกันกับ Data Frame ที่ 1 ก็จะได้มาตราส่วนของ Data Frame ที่เท่ากันแล้ว
ที่มา : gi4u.wordpress.com