ดาวเทียมดวงจิ๋ว Episod#3 Cubesat ใครๆก็อยากสร้าง

ดาวเทียมดวงจิ๋ว ทราบหรือไม่ว่าใครๆก็อยากจะมีส่วนร่วมในการสร้างและพัฒนาดาวเทียมชนิดนี้ เพราะความเป็นไปได้ที่จะสร้างได้สำเร็จนั้นสูง เนื่องจากงบประมาณค่าใช้จ่ายในการดำเนินโครงการที่ต่ำกว่าเดิม เวลาที่ใช้ในการพัฒนาน้อยกว่าเดิม และความซับซ้อนก็ไม่ได้มีมากเหมือนดาวเทียมดวงใหญ่ทั่วไป อย่างที่ทราบกันก่อนหน้านี้แล้วว่าคิวบ์แซทสามารถพัฒนาได้ตามความต้องการของ Mission requirements ให้มีขนาดใหญ่เล็กสามารถเลือกขนาดได้ตามยุนิตที่ต้องการ ซึ่งเมื่อยูนิตเพิ่มขึ้นมาก เช่น 6 ยูนิต คิวแซทก็จะสามารถเพิ่มอุปกรณ์การทำงานสำหรับส่วนต่างๆได้มากยิ่งขึ้นเพราะมีพื้นที่วางอุปกรณ์มากขึ้นและน้ำหนักโดยรวมที่ได้รับมากขึ้นด้วย ซึ่งแน่นอนก็จะส่งผลให้ประสิทธิภาพในการทำงานบนอวกาศของคิวแซทตัวนั้นๆ เพิ่มมากยิ่งขึ้นไปด้วยเช่นกัน

NASA ประเทศสหรัฐอเมริกาได้ทุ่มทุนให้กับเด็กนักเรียนในระดับปฐมศึกษาจนถึงระดับมหาวิทยาลัย เพื่อให้เด็กๆนักศึกษาเหล่านั้นสามารถสร้าง พัฒนา และปล่อยดาวเทียมดวงจิ๋วขึ้นสู่วงโครจรได้ โดยการให้ทุนจะรับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมดให้กับโครงการดังกล่าว (1) รูปที่ 1 เป็นภาพของเด็กนักเรียนจาก St.Thomas More Cathedral school กำลังถือดาวเทียมคิวบ์แซท ที่ชื่อ STMSat-1  รูปที่ 2 ภาพเด็กนักเรียนช่วยการตรวจสอบรายละเอียดของดาวเทียม STMSat-1  โดยที่ดาวเทียมดวงนี้ถูกปล่อยจาก Internation space station (ISS)

pic1

รูปที่ 1 เด็กนักเรียนจาก St.Thomas More Cathedral school กำลังถือดาวเทียมคิวบ์แซท ที่ชื่อ STMSat-1 (2)

pic2

รูปที่ 2 เด็กนักเรียนจาก St.Thomas More Cathedral school กำลังตรวจสอบอุปกรณ์ดาวเทียมคิวบ์แซท ที่ชื่อ STMSat-1 (3)

นอกจากนี้ยังมีนักศึกษาหลายกลุ่มที่ลงมือออกแบบและสร้างดาวเทียมคิวบ์แซทด้วยตัวเอง ดังรูปที่ 3 เป็นรูปตัวอย่างของนักศึกษาจาก St.Louis University ซึ่งเป็นภาพขณะที่นักศึกษาทั้งสองกำลังทำการตรวจสอบการทำงานครั้งสุดท้ายก่อนที่จะส่งดาวเทียมชื่อ Argus ขึ้นสู่วงโครจร

pic3

รูปที่ 3 นักศึกษาจาก St.Louis University กำลังตรวจสอบการทำงานของดาวเทียมคิวบ์แซทก่อนปล่อยขึ้นสู่วงโครจร

            นอกจากนี้ดาวเทียมคิวบ์แซทยังได้รับความนิยมอย่างมากในการใช้เพื่อเป็นตัวนำการทดลองทางวิทยาศาตร์ไปทดสอบบนอวกาศ จึงได้มีโครงการใหม่ๆเกิดขึ้นมากมายด้วยเช่นกัน

ประเทศญี่ปุ่นเป็นอีกประเทศที่ให้ความสำคัญกับการให้ความรุ้ ประสบการณ์ แก่เด็กเยาวชนรุ่นใหม่ ให้มีความรู้ความสามารถและสามารถสร้างดาวเทียมขนาดเล็กให้ได้ด้วยตัวเอง ดังจะเห็นได้ว่ามีดาวเทียมดวงจิ๋วจำนวนมากได้ส่งออกสู่อวกาศทั้งจากมหาวิทยาลัยต่างๆ และ จากบริษัททางด้านเทคโนโลยีอวกาศด้วย

นักศึกษาตามมหาวิทยาลัยต่างๆ ได้ให้ความสำคัญในการสร้างดาวเทียมคิวบ์แซทเป็นอย่างมาก เช่น ที่ Nakasuka Lab The university of Tokyo ได้ก่อตั้ง Cubesat team เพื่อการออกแบบและสร้างเพื่อส่งดาวเทียมคิวบ์แซทขึ้นสู่วงโครจร โดยมีอาจารย์ที่ปรึกษาได้ให้ความรู้และร่วมออกแบบและสร้างไปพร้อมๆกัน รูปที่ 3 และ 4 เป็นภาพนักศึกษาที่รวมทีมการสร้างดาวเทียมและภาพการทำงานภายในแลป ตามลำดับ

pic4

รูปที่ 4 สมาชิกในทีมสร้างดาวเทียมคิวแซท

      pic5

รูปที่ 5 ภาพการทำงานในห้องปฏิบัติการ

รูปที่ 6 เป็นตัวอย่างของประวัติการดำเนินการออกแบบและสร้างดาวเทียมคิวบ์แซทตั้งแต่ปี 2003 กระทั้งปี 2012 ของ University of Tokyo โดยเริ่มจากการสร้างดาวเทียมขนาด 1 ยูนิต ที่ชื่อ CubeSat XI-IV และได้พัฒนาตัวต่อๆมาโดยการเพิ่มลูกเล่นในการใช้งานของกล้องถ่ายภาพ ซึ่งทำให้ภาพที่ได้มีความละเอียดค่อนข้างดีอยุ่ที่ประมาณ 30 เมตร ทั้งนี้ในปี 2012 ดาวเทียม Hodoyoshi-1 ได้รับการพัฒนาจนกระทั้งสามารถถ่ายภาพได้ที่ความละเอียดประมาณ 7 เมตร ซึ่งถือว่าเป็นการพัฒนาแบบก้าวกระโดดของดาวเทียมดวงเล็กที่มีประสิทธิภาพสูงขึ้นเรื่อยๆและรวดเร็วมาก

pic6

รูปที่ 6 University of Tokyo’s history of Nano/Pico-satellite development (4)

            ยังมีอีกหลายประเทศทั่วโลกที่ได้เริ่มสร้างและพัฒนาดาวเทียมคิวบ์แซท ประเทศไทยเราก็เช่นเดียวกัน  คราวหน้ามารู้จักกับดาวเทียมจิ๋วมากขึ้นใน ดาวเทียมดวงจิ๋ว episod#4

Reference

http://makezine.com/2016/06/01/the-miles-cubesat-might-be-the-next-satellite-sent-to-mars/

(1) http://www.techinsider.io/cubesats-tubesats-make-satellites-affordable-2016-2/#partly-because-theyre-so-small-cubesats-only-cost-about-100000–cheap-in-comparison-to-the-minimum-50-million-it-usually-costs-to-launch-a-satellite-into-space-1

(2) http://www.nasa.gov/feature/elana-ix

(3) http://www.theregister.co.uk/2016/05/17/iss_cubesats_launch/

(4) http://www.unoosa.org/pdf/pres/copuos2012/tech-23.pdf

Copyright © 2018 LEARN : อาณาจักรภูมิสารสนเทศ อาณาเขตแห่งการเรียนรู้

LEARN

404 Not Found

404

Not Found

The resource requested could not be found on this server!


Proudly powered by LiteSpeed Web Server

Please be advised that LiteSpeed Technologies Inc. is not a web hosting company and, as such, has no control over content found on this site.