เทคโนโลยีดาวเทียมระบุพิกัดจากแดนมังกร

บทนำ

ปัจจุบันการประยุกต์ใช้งานด้านเทคโนโลยีอวกาศมีการแข่งขันกันอย่างมากในกลุ่มประเทศมหาอำนาจที่มีระบบเศรษฐกิจที่แข็งแกร่ง นับตั้งแต่ในช่วงยุคสงครามเย็น ประเทศกลุ่มสหภาพโซเวียต (Soviets Union) ได้ออกแบบระบบดาวเทียมระบุพิกัดระบบแรกของโลกที่มีชื่อว่าชื่อ GLObalnaya NAvigatsionnaya Sputnikovaya Sistemaหรือ GLONASS ขึ้นในปี 1976, เพื่อใช้ในกิจการทางการทหารโดยเฉพาะแต่สืบเนื่องจากการล่มสลายของสหภาพโซเวียตในปี 1991 ทำให้ GLONASS ไม่ได้รับการพัฒนาเท่าที่ควร ทำให้พื้นที่ในการรับสัญญาณไม่สามารถครอบคลุมทั่วโลก ต่อมาในปี 1978 สหรัฐอเมริกาได้ส่งระบบดาวเทียมระบุพิกัดขึ้นสู่อวกาศเช่นกัน เพื่อการถ่วงดุลอำนาจระหว่างสหภาพโซเวียตหรือประเทศรัสเซียในปัจจุบัน เนื่องด้วยระบบเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งกว่าในขณะนั้น ทำให้การวิจัยและพัฒนาระบบดาวเทียมนำร่องเป็นไปอย่างต่อเนื่อง เป็นสาเหตุให้มีจำนวนดาวเทียมเพียงพอที่จะปล่อยสัญญาณครอบคลุมพื้นที่ทั่วโลกเป็นระบบแรกภายใต้ชื่อ Global Satellite System หรือ GPS นั่นเอง ซึ่งปัจจุบันนับว่าระบบจีพีเอสมีความแม่นยำสูงที่สุดและครอบคลุมพื้นที่มากที่สุดเมื่อเทียบกับระบบอื่นๆ ต่อมาในปี 2002ประเทศสมาชิกกลุ่มสหภาพยุโรป (European Union) หรือ EU ได้ลงนามความร่วมมือในการพัฒนาระบบดาวเทียมในลักษณะเดียวกันที่มีชื่อว่า “GALILEO” แต่ระบบนี้ถูกออกแบบขึ้นเพื่อรองรับการใช้งานในเขตพื้นที่สหภาพยุโรปเท่านั้น

ส่วนทางด้านประเทศยักษ์ใหญ่ในทวีปเอเชีย “สาธารณรัฐประชาชนจีน” กำลังเป็นที่จับตามองกันทั่วโลกทั้ง ด้านระบบเศรษฐกิจ เทคโนโลยีอวกาศ อาวุธยุทโธปกรณ์ที่พัฒนาอย่างรวดเร็ว “BeiDou(北斗) Navigation Satellite System” ซึ่งอ่านว่า “เป่ยโต่ว” ดาวเทียมระบุพิกัดสายเลือดมังกร ที่จะพร้อมให้บริการครอบคลุมพื้นที่ทั่วโลกเช่นเดียวกับจีพีเอสเป็นระบบที่สองของโลก ภายในปี 2020 ซึ่งในฐานะที่ไทยเป็นประเทศหนึ่งในทวีปเอเชียและยังสามารถรับสัญญาณได้โดยรูปที่ 1. แสดงถึงตราสัญลักษณ์ของระบบดาวเทียมนำร่องหลักทั้งสี่ระบบ ในที่นี้เรามาลองศึกษาข้อมูลเบื้องต้นที่เกี่ยวกับการออกแบบของระบบดาวเทียมระบุพิกัดเป่ยโต่วในบทความนี้

 

1478233429572

 

รูปที่ 1. Official-logo ของที่ 4 ระบบดาวเทียมนำร่องหลักของโลก

 

การพัฒนาระบบดาวเทียมระบุพิกัดเป่ยโต่ว

จีนได้วางแผนการพัฒนาระบบดาวเทียมระบุพิกัดเป่ยโต่วไว้ 3 ช่วงหลักด้วยกันนับตั้งแต่ ปี 1994, โดยในช่วงแรกจีนวิจัยและพัฒนาตัวโครงสร้างดาวเทียมเป่ยโต่วเป็นหลัก และวางแผนส่งดาวเทียมทั้งหมดใน 3 ระบบวงโคจรคือ 1.Geostationary Earth’s Orbit (GEO) 2.Inclined Geosynchronous Earth’s Orbit (IGSO)และ3. Medium Earth’s Orbit (MEO)ภายหลังจากการทดสอบประสิทธิภาพและสัญญาณ 6 ปี เป็นที่เรียบร้อยจีนจึงส่งขึ้นสู่อวกาศในปี 2000 ซึ่งขณะนั้นมีเพียงดาวเทียมเป่ยโต่วในระบบวงโคจรแบบ GEO เพียง 4ดวงเท่านั้น ในระยะแรกนี้ดาวเทียมเป่ยโต่วสา-มารถให้บริการครอบคลุมพื้นที่เพียงประเทศของตนเท่านั้นซึ่งวิวัฒนาการและแผนการของระบบนี้จะแสดงในรูปที่ 2. แต่ทว่าฟังก์ชั่นที่แตกต่างไปจากระบบดาวเทียมจีพีเอส คือ เป่ยโต่วสามารถให้บริการส่งข้อความสั้นได้ถึง 200 ตัวอักษรนอกเหนือจากการระบุพิกัดเพื่อใช้ประโยชน์ในการเดินเรือส่วนในระยะที่สอง ตั้งแต่ปี 2012-2020 จีนวางแผนส่งดาวเทียมเป่ยโต่วในหลายระบบวงโคจรประกอบด้วยระบบ GEO เพิ่มเติมอีก 5 ดวง, IGSO 5 ดวง และ MEO อีก 4 ดวง แต่ตามแผนการแล้วขณะนี้ดาวเทียมเป่ยโต่วยังติดตั้งบนวงโคจรไม่ครบทั้งหมด แต่สามารถให้บริการครอบคลุมพื้นที่ประเทศแถบเอเชียแปรซิฟิกรวมถึงประเทศไทย ซึ่งในอนาคตหลังจากปี 2020 จีนจะมีจำนวนดาวเทียมเป่ยโต่วในระบบรวมทั้งสิ้น 35 ดวง สลับผลัดเปลี่ยนตามอายุการใช้งานและภารกิจ โดยระบบนี้จะประกอบไปด้วย MEO 27 ดวง, GEO 5 ดวง และ IGSO 3 ดวง ทั้งหมดจะสามารถให้บริการสัญญาณได้ครอบคลุมทั่วโลกเป็นนับว่าเป็นระบบดาวเทียมระบุพิกัดระบบที่สองต่อจากระบบดาวเทียมจีพีเอส

1478233487287
(a)BeiDou Navigation satellites System

1478233498538

(b) Launch vehicle state for BeiDou

1478233583998

(c)Chinese-Aerospace Engineering

รูปที่ 2.  ระบบโดยรวมของดาวเทียมนำร่องเป่ยโต่ว[1]

 

ข้อมูลทางด้านเทคนิคสนับสนุน

                ระบบพื้นฐานที่สำคัญในการสนับสนุนการทำงานของระบบดาวเทียมระบุพิกัดทุกระบบคือ 1.ระบบฐานเวลาอ้างอิง(Time reference System) และ 2.ระบบพิกัดอ้างอิง(Coordinate reference System)โดยแต่ละระบบดาวเทียมระบุพิกัดจะมีระบบอ้างอิงที่แตกต่างกัน เนื่องจากเหตุผลทางความมั่นคงของแต่ละประเทศ

  1. ระบบฐานเวลาอ้างอิง : ดาวเทียมเป่ยโต่วใช้ระบบเวลาที่อ้างอิงขึ้นเองชื่อว่า “BeiDou Time (BDT)” มีจุดเริ่ม ณ 00:00 ของ วันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 2006 ซึ่งประสานเวลากับระบบมาตรฐานเวลาแบบ UTC ที่ 100 นาโนวินาที
  2. ระบบพิกัดอ้างอิง : จีนก็ได้พัฒนาระบบพิกัดอ้างอิงของตนเองเช่นกันที่มีชื่อว่า “China Geodetic Coordinate System 2000” หรือ CGCS2000 โดยกำหนดลักษณะเฉพาะไว้ดังนี้
  • จุดกำเนิดของแกน ให้อยู่ที่จุดศูนย์กลางน้ำหนักของโลก
  • แกน Z ชี้ไปที่ International Earth’s Rotation Service (IERS)หรือ ณ ตำแหน่ง North-Reference-Pole
  • แกน X ทำมุม 90 องศากับ แกน Z และชี้ไป ยัง IERS-reference ณ ตำแหน่ง Prime-meridian
  • แกน Y ทำมุมตั้งฉาก (Orthogonal) กับแกน X และ Z ตามกฎมือขวา

เนื่องจาก CGCS2000 กำหนดให้สัณฐานโลกมีลักษณะแบบ ellipsoid โดยจะหมุนรอบแกน Z อ้างอิงซึ่งจำเป็นต้องมีการกำหนดพารามิเตอร์ ดังนี้

  • Semi-major axis: a = 6378137.0 meter
  • Geocentric gravitational constant(GM) : = 398600.4418×109m3/s2 (โดยรวมผลของ Earth’ Atmosphere ไว้แล้ว)
  • Flattening:f = 1/2987222101
  • Rate of earth rotation : = 7.2921150×10-5rad/s

คุณลักษณะของสัญญาณวิทยุจากดาวเทียมเป่ยโต่ว

สัญญาณวิทยุที่แพร่มาจากดาวเทียมเป่ยโต่วในต่างละดวงจะถูกเข้ารหัสจากสองช่องสัญญาณคือ I และ Q ก่อนแพร่สู่อุปกรณ์รับสัญญาณบนพื้นโลกโดยมีข้อมูลที่สำคัญประกอบไปด้วยranging-code, navigation massage และ carrier frequency มีชื่อว่าสัญญาณเข้ารหัสแบบ“B1” ซึ่งเป็นช่องสัญญาณระบบพลเรือนมีลักษณะดังนี้

1478233619781

ความหมายของตัวแปร

j = satellite number

Ac= Amplitude ranging code in channel I of carrier B1

Ap= Amplitude ranging code in channel Q of carrier B1

C = ranging code of channel I

P = ranging code of channel Q

Dc= data modulation of channel I

Dp= data modulation of channel Q

f = carrier frequency of B1

= initial phase of channel I of carrier B1

= initial phase of channel Q of carrier B1

ซึ่งคุณลักษณะของสัญญาณวิทยุจากดาวเทียวนำร่องเป่ยโต่วสามารถสรุปได้จากตารางที่ 1.

Carrier frequency 1561.098 MHz
Modulation technique Quadrature Phase Shift Keying(QPSK)
Ranging code rate Channel I: 2.046 Mcps
Ranging code length Channel I: 2046 chips
Data rate Channel I of GEO satellites: 500 bps,Channel I of MEO/IGSO satellites: 50 bps
Secondary code rate: 1 Kbps
Access mode Code Division Multiple Access(CDMA)
Polarization Right-Handed Circular Polarization(RHCP)

References

[1]. http://news.sina.com.cn/o/2016-03-18/doc-ifxqnnkr9504765.shtml
[2].http://www.beidouht.com/home.asp
[3].http://www.navchina.com/
[4] “BeiDou Navigation Satellite SystemSignal In Space” technical report, China Navigation Satellite office, December 2011

 

 

Copyright © 2018 LEARN : อาณาจักรภูมิสารสนเทศ อาณาเขตแห่งการเรียนรู้

LEARN

404 Not Found

404

Not Found

The resource requested could not be found on this server!


Proudly powered by LiteSpeed Web Server

Please be advised that LiteSpeed Technologies Inc. is not a web hosting company and, as such, has no control over content found on this site.