โครงการ GISTDA SPACE CAMP ประจำปี 2559
สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน)
1. หลักการและเหตุผล
ปัจจุบันเทคโนโลยีอวกาศเข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันของเรามากยิ่งขึ้นแต่โอกาสในการเรียนรู้เทคโนโลยีอวกาศสำหรับเยาวชนไทยนั้น ยังคงเป็นสิ่งที่เข้าถึงได้ยากและมีโอกาสน้อยที่จะได้สัมผัสกับ
อุปกรณ์จริง จนเมื่อวันเด็กแห่งชาติประจำปี 2559 ที่ผ่านมา สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) หรือ GISTDA ได้เปิดแหล่งเรียนรู้ทางด้านอวกาศในนาม Space Inspirium เพื่อเป็นแหล่งสร้างแรงบันดาลใจด้านเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศให้กับเยาวชนไทย นับเป็นการเปิดศักราชใหม่แห่งการเรียนรู้เทคโนโลยีอวกาศไทย ทั้งนี้ เพื่อเป็นการต่อยอดและส่งเสริมการนำเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศมาช่วยในการแก้ไขปัญหา โดย GISTDA ได้กำหนดกิจกรรม GISTDA SPACE CAMP#1 ระหว่างวันที่ 2-6 พฤษภาคม พ.ศ. 2559 ขึ้น ใน Theme ของ “สนุกคิด GISTDA ท้าทดลอง” เพื่อเปิดโอกาสให้เยาวชนได้เรียนรู้และเข้าใจถึงกระบวนการของเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศจากวิทยากรผู้มีความเชี่ยวชาญ อาทิ วิศวกรดาวเทียม นักภูมิสารสนเทศ และนักวิชาการเผยแพร่ ทั้งยังเป็นการกระตุ้นให้เยาวชนเกิดกระบวนการคิดอย่างสร้างสรรค์ นำไปสู่การแก้ไขปัญหาด้วยเทคโนโลยีดังกล่าว อันเป็นการส่งเสริมการเรียนรู้แบบบูรณการ ตามหลักการ STEM ร่วมกับการสร้างรากฐานของนักเทคโนโลยีอวกาศรุ่นใหม่ให้มีความพร้อมสำหรับการพัฒนาประเทศไทย นักเรียนที่เข้าร่วมกิจกรรมในครั้งนี้จะมีโอกาสได้รับการคัดเลือกเป็นตัวแทนเยาวชนไทยเข้าร่วมกิจกรรมด้านอวกาศระดับชาติและนานาชาติกับ GISTDA
2. วัตถุประสงค์
2.1 เพื่อให้เยาวชนมีความรู้ความเข้าใจ ความเข้าใจในเทคโนโลยีอวกาศ รวมถึงบทบาทของดาวเทียมไทยโชตที่มีต่อการสำรวจและปกป้องทรัพยากรธรรมชาติของประเทศไทย และสามารถขยายศักยภาพของข้อมูลจากดาวเทียมในการประยุกต์ใช้งานด้านอื่นๆตามความเหมาะสม
2.2 เพื่อส่งเสริมให้เยาวชนรู้จักการใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์รู้จักการทำงานเป็นทีม รู้จักเสียสละและเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่กับผู้อื่น
2.3 เพื่อให้เยาวชนได้เกิดกระบวนการคิดอย่างมีเหตุผลในการสร้างสรรค์ผลงานด้านเทคโนโลยีอวกาศ สามารถนำไปต่อยอดในการศึกษาและแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมในชุมชนของตนเอง
2.4 เพื่อคัดเลือกตัวแทนเยาวชนไทยเข้าร่วมกิจกรรมด้านอวกาศระดับชาติและนานาชาติกับ GISTDA
3. เป้าหมาย
กลุ่มเยาวชนอายุ 12-14 ปี จำนวน 30 คน
4. ระยะเวลาในการจัด
5 วัน ระหว่างวันที่ 2-6 พฤษภาคม พ.ศ. 2559
5. สถานที่จัด
อุทยานรังสรรค์นวัตกรรมอวกาศ อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี
6. ค่าลงทะเบียน 4,500 บาท
7. กำหนดการ
วันจันทร์ที่ 2 พฤษภาคม 2559
09:00-09:30 รายงานตัวและลงทะเบียน รับอุปกรณ์ประจำตัว
09:30-10:00 กิจกรรมสร้างความคุ้นเคยกับเพื่อนร่วมค่าย
10:00-10:30 พิธีเปิด
โดย นางสาวปราณปริยา วงค์ษา (รักษาการผู้อำนวยการสำนักพัฒนาและถ่ายทอดองค์ความรู้)
10:30-11:30 แนะนำโครงการ / กิจกรรมนันทนาการทำความรู้จักเพื่อนใหม่และพี่กลุ่ม
11:30-12:30 รับประทานอาหารกลางวัน
12:30-14:30 “สร้างแรงบันดาลใจเด็กไทยสู่เวทีโลก”
โดย ดร.กฤษฎ์ชัย สมสนาน (ผู้อำนวยการฝ่ายสื่อสิ่งพิมพ์และสื่อสารวิทยาศาสตร์ สวทช.)
นายปริทัศน์ เทียนทอง (เจ้าหน้าที่ฝ่ายสื่อสิ่งพิมพ์และสื่อสารวิทยาศาสตร์ สวทช.)
“ทำความรู้จักกับนักบินอวกาศตัวจริง”
โดย Ms.Naoko Yamazaki (อดีตนักบินอวกาศสังกัด The Japan Aerospace Exploration Agency : JAXA)
“เรียนรู้จากประสบการณ์”
โดย เด็กหญิงวริศา ใจดี (โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน)
นางสาวศวัสมน ใจดี (โรงเรียนศรีบุณยานนท์) (เยาวชนโครงการ Try Zero-G โดย สวทช. )
14:30-14:45 รับประทานอาหารว่าง
14:45-16:30 สนามทดลองที่ 1 : “การปลูกพืชในภาวะไร้แรงโน้มถ่วง”
โดย นายวสันชัย วงศ์สันติวนิช (วิศวกรอวกาศ GISTDA)
16:30-17:30 เข้าที่พักและพักผ่อนตามอัธยาศัย
17:30-18:30 รับประทานอาหารเย็น
18:30–19:00 สรุปภาพรวมของกิจกรรมประจำวัน
วันอังคารที่ 3 พฤษภาคม 2559
07:00-07:30 ตื่นนอน (ทำธุระส่วนตัว)
07:30-08:00 รับประทานอาหารเช้า
08:00-09:00 กิจกรรมนันทนาการ
09:00-10:30 “นิทานสำรวจโลก ตอน เปิดม่านการเดินทาง”
สนามทดลองที่ 2 : “ออกสำรวจโลกด้วยดวงตาจากอวกาศ”
โดย นายจักรพงษ์ ทะวะละ (นักวิชาการเผยแพร่ GISTDA และพิธีกรรายการ The Surveyor)
10:30-10:45 รับประทานอาหารว่าง
10:45-12:00 “เรียนรู้กระบวนการทำงานกับดาวเทียมไทยโชต”
โดย นายวสันชัย วงศ์สันติวนิช (วิศวกรอวกาศ GISTDA)
12:00-13:00 รับประทานอาหารกลางวัน
13:00-14:30 “Edutainment at SPACE INSPIRIUM : Space Zone” เล่นและเรียนรู้เพื่อค้นพบแรงบันดาลใจ
14:30-14:45 รับประทานอาหารว่าง
14:45-16:00 “Edutainment at SPACE INSPIRIUM : Space Zone” เล่นและเรียนรู้เพื่อค้นพบแรงบันดาลใจ
16:00-17:30 เข้าที่พักและพักผ่อนตามอัธยาศัย
17:30-18:00 รับประทานอาหารเย็น
18:00-20:00 “นิทานแห่งดวงดาว เรื่องราวแห่งการค้นพบ : story 1”
โดย นายเขมชาติ จิตรไส : ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการเรียนรู้
“นิทานแห่งดวงดาว เรื่องราวแห่งการค้นพบ : story 2”
โดย นายสุพจน์ นิธินันทน์ : ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการเรียนรู้
วันพุธที่ 4 พฤษภาคม 2559
07:00-07:30 ตื่นนอน (ทำธุระส่วนตัว)
07:30-08:30 รับประทานอาหารเช้า
08:30-10:30 “Geocaching พิกัดซ่าท้าตะลุย : อธิบายวิธีเล่น”
10:30-10:45 รับประทานอาหารว่าง
10:45-12:00 สนามทดลองที่ 3 : ตามล่าหาพิกัดด้วยดาวเทียม
โดย นางสาวศิริพักตร์ เสมียนคิด (นักวิชาการเผยแพร่ GISTDA)
12:00-13:00 รับประทานอาหารกลางวัน
13:00-14:00 “อัพเดทความรู้กับภารกิจสำรวจอวกาศในปัจจุบัน”
โดย นายวสันชัย วงศ์สันติวนิช (วิศวกรอวกาศ GISTDA)
14:00-14:15 รับประทานอาหารว่าง
14:15-16:30 สนามทดลองที่ 4 : สนุกคิด GISTDA ท้าทดลอง
โดย นางสาวนลินี รังแก้ว (นักวิชาการเผยแพร่ GISTDA)
16:30-17:30 พักผ่อนตามอัธยาศัย
17:30-18:30 รับประทานอาหารเย็น
18:30-19:30 กิจกรรมนันทนาการ
วันพฤหัสบดีที่ 5 พฤษภาคม 2559
07:00-07:30 ตื่นนอน (ทำธุระส่วนตัว)
07:30-08:00 รับประทานอาหารเช้า
08:00-10:30 “แรงโน้มถ่วง”
โดย นางสาวทิพวรรณ วันวิเวก (นักวิจัย GISTDA)
10:30-10:45 รับประทานอาหารว่าง
10:45-12:00 Parachute, you can do it!
12:00-13:00 รับประทานอาหารกลางวัน
13:00-14:30 สนามทดลองที่ 5 Parachute, you can do it!
14:30-15:00 รับประทานอาหารว่าง
15:00-18:00 สนามทดลองที่ 5 Parachute, you can do it!
18:00-18:30 รับประทานอาหารเย็น
18:30-19:30 กิจกรรมนันทนาการ
วันศุกร์ที่ 6 พฤษภาคม 2559
07:00-07:30 ตื่นนอน (ทำธุระส่วนตัว)
07:30-08:00 รับประทานอาหารเช้า
08:00-11:30 การนำเสนอผลงานเด็กไทยก้าวไกลไปในอวกาศ
11:30-11:45 “เครือข่ายนักสำรวจ”เครือข่ายแห่งสายใยผู้หลงใหลในเทคโนโลยี
11:45-12:00 “สรุปผลการทดลอง : การปลูกพืชในภาวะไร้แรงโน้มถ่วง”
โดย นายวสันชัย วงศ์สันติวนิช (วิศวกรอวกาศ GISTDA)
12:00-13:00 รับประทานอาหารกลางวัน
13:00-14:00 พิธีปิด
14:00-14:30 เก็บสัมภาระ
14:30-14:45 รับประทานอาหารว่าง
14:45 เดินทางกลับโดยสวัสดิภาพ












ศึกษาดูงาน 2016 International Space Camp
วันที่ 18-22 กรกฎาคม 2559
ณ เมืองแดจ็อน สาธารณรัฐเกาหลี
จัดโดย
Korea Aerospace Research Institute (KARI)
สทอภ. ได้ดำเนินการรับสมัครเยาวชนเข้าร่วมโครงการ 2016 International Space Camp ซึ่งจัดโดย Korea Aerospace Research Institute (KARI) โดยคัดเลือกเยาวชนระดับมัธยมศึกษาตอนต้นที่มีศักยภาพและคุณสมบัติเพื่อเป็นตัวแทนประเทศไทย จากกิจกรรม GISTDA SPACE CAMP ครั้งที่ 1 ไปเข้าร่วมกิจกรรม ร่วมกับตัวแทนเยาวชนจาก 6 ประเทศในภูมิภาคเอเชีย ได้แก่ ประเทศญี่ปุ่น มาเลเซีย สาธารณรัฐเกาหลี สาธารณรัฐประชาชนจีน สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม และสาธารณรัฐประชาชนบังกลาเทศ ทั้งนี้เพื่อเปิดโอกาสให้เยาวชนได้มีโอกาสเรียนรู้วิทยาการใหม่ๆ ทางด้านเทคโนโลยีอวกาศ และเพื่อเพิ่มพูนความรู้ด้านการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีอวกาศและวิศวกรรมศาสตร์ อันจะเป็นพื้นฐานนำไปสู่การเรียนรู้และการเข้าใจเนื้อหาทางด้านเทคโนโลยีอวกาศได้ดียิ่งขึ้น ตลอดจนสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้ต่อไป นอกจากนี้เยาวชนยังจะได้รับประสบการณ์การเรียนรู้ร่วมกันกับผู้แทนเยาวชนจากนานาประเทศที่มาเข้าร่วมกิจกรรมในครั้งนี้ด้วย


วันที่ 19 กรกฎาคม 2559
ค่ายเยาวชนอวกาศนานาชาติวันนี้เด็กไทยของเราเข้าร่วมกิจกรรมสร้างและปล่อยจรวด (building rocket parachute) ซึ่งเป็นกิจกรรมที่ให้เยาวชนประกอบโมเดลจรวดขนาดเล็ก และส่งขึ้นสู่ความสูงประมาณ 5-6 เมตร โดยการแข่งขันจะวัดกันตรงที่จรวดที่ปล่อยร่มชูชีพและกางออกมาได้สมบูรณ์แบบมากที่สุด และร่วงสู่พื้นด้วยความเร็วคงที่ ผลปรากฏว่ามีผู้แทนเยาวชน 3 คน จาก 3 ประเทศที่ได้รับรางวัล คือ ประเทศจีน ประเทศรีลังกา และประเทศไทย โดยน้องข้าวมอลต์




วันที่ 20 กรกฎาคม 2559
KARI ได้จัดกิจกรรมเล่นและเรียนรู้ให้กับเยาวชนจากนานาชาติ รวมถึงเยาวชนจากประเทศทั้ง 6 คน โดยช่วงเช้าพาไปเรียนรู้วิถีชีวิตดั่งเดิมของคนเกาหลีในอดีต ณ Korea Folk Village ทำให้เยาวชนไทยทั้งหกคนเข้าใจและรู้จักคนเกาหลีมากขึ้นผ่านการบรรยายของไกด์ท้องถิ่นและการแสดงศิลปะวัฒธนธรรม และในช่วงบ่ายพาไปเล่นปลดปล่อยพลังงานที่ Gwacheon National Science Museum พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ที่รวมแรงบันดาลใจด้านอวกาศโดยเฉพาะ ด้านในน้องๆได้สัมผัสกับเทคโนโลยีอวกาศมากมาย อาทิเช่น ห้องปฎิบัติการควบคุมการปล่อยจรวดจำลอง International Space Station จำลอง จรวดนำส่ง ชุดนักบินอวกาศ กลไกไอพ่นจรวดนำส่ง รวมถึงได้เล่นกับเครื่องเล่น Gyroscope แบบสามที่นั่ง และอื่นๆอีกมากมาย ช่วงสุดท้ายของวันเยาวชนได้ชมภาพยนต์เรื่อง “Dream to fly” ที่บอกเล่าเรื่องราวพัฒนาการการของอากาศยานที่ทำให้มนุษย์สามารถบินได้ซึ่งต้นกำเนิดนั้นเริ่มต้นมาจาก “ความฝัน”
วันที่ 21 กรกฎาคม 2559
วันสุดท้ายของค่าย 2016 International Space Camps ทาง KARI ได้จัดกิจกรรมให้เยาวชนทุกคนได้ระดมสมองแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับอนาคตของเทคโนโลยีอวกาศ ได้แก่ วิธีกำจัดขยะอวกาศที่มีประสิทธิภาพและการสร้างที่อยู่อาศัยของมนุษย์ในอวกาศ ซึ่งเยาวชนทุกคนล้วนขมักเขม้นระดมความคิดจากประสบการณ์และความรู้ที่เก็บเกี่ยวมาตลอดค่ายผสมผสานกับจิตนาการของเด็กๆ เอง ผลงานที่ได้นับว่าสร้างความตื่นตาตื่นใจแก่กลุ่มนักศึกษาวิศวกรรมอวกาศไม่น้อย และในตอนท้ายแต่ละกลุ่มต้องนำเสนอไอเดียหน้าห้องประชุม ซึ่งมีตัวแทนเยาวชนไทยจำนวน 2 คนคือ น้องใบปาล์มและน้องไอซี รับหน้าที่ตัวแทนกลุ่มในการนำเสนอ สิ่งที่น่ายินดีอย่างยิ่งคือซึ่งทั้งมีจำนวนสามทีมที่มีเยาวชนไทยเข้าไปมีส่วนร่วม ได้รับการโหวตจากทุกคนในห้องให้เป็นทีมที่มีความคิดสร้างสรรค์ มีความเป็นไปได้ และนำเสนอได้ประทับใจ โดยกลุ่มของน้องใบปาล์มได้รับรางวัลชนะเลิศ และกลุ่มของน้องไอซีและน้องทะเลได้รับรางวัลที่สองร่วมกัน เป็นอันจบภารกิจของเยาวชนไทยในเวทีนานาชาติอย่างสมบูรณ์แบบ พร้อมสร้างชื่อเสียงให้กับประเทศได้อย่างน่าประทับใจ โดยน้องๆเยาวชนไทยทั้ง 6 คนจะเดินทางด้วยสายการบินไทยถึงประเทศไทยวันศุกร์ที่ 22 กรกฎาคม 2559 เวลา 22:50 น.

