การกำหนดเขตเกษตรเศรษฐกิจสำหรับสินค้าเกษตร

การศึกษาและวิเคราะห์วางแผนการผลิตทางการเกษตร ให้สอดคล้องกับสภาพดิน ฟ้า อากาศ แหล่งน้ำประเภทของเกษตรกรรม รายได้ และความต้องการของตลาด โดยการนำเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศมาเป็นเครื่องมือในการกำหนดเขตเกษตรเศรษฐกิจ

วัตถุประสงค์ : เพื่อกำหนดเขตเศรษฐกิจสำหรับสินค้าเกษตร

วิธีการศึกษา การกำหนดเขตเกษตรเศรษฐกิจสำหรับสินค้าเกษตร มีขั้นตอนในการดำเนินงาน 4 ขั้นตอน ได้แก่

1) การกำหนดเป้าหมายการผลิต พิจารณาแหล่งผลิต แนวโน้ม และความต้องการของตลาด

2) จัดสรรพื้นที่ให้เหมาะสมกับเป้าหมายการผลิต โดยใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ วิเคราะห์จาก 9 ปัจจัย คือ ลุ่มน้ำ ชุดดิน ปริมาณน้ำฝน เขตชลประทาน การใช้ประโยชน์ที่ดินปัจจุบัน ขอบเขตการปกครอง เส้นทางคมนาคม ขอบเขตป่าไม้ตามกฎหมาย และระดับความสูงของพื้นที่

3) การวิเคราะห์หาความเหมาะสมของพื้นที่

– วิเคราะห์ระดับความเหมาะสมของดินและความสูงของพื้นที่ที่มีต่อการปลูกแต่ละชนิด

– วิเคราะห์ระดับความเหมาะสมของปริมาณน้ำที่มีต่อการปลูกแต่ละชนิด

– วิเคราะห์ระดับความเหมาะสมของดินและน้ำต่อการปลูกพืช

– วิเคราะห์และกำหนดเขตพื้นที่ตามระดับความเหมาะสม โดยจำแนกพื้นที่ออกเป็น 4 เขต คือ เขตเกษตรกรรม (Agricultural zone) เขตป่าเศรษฐกิจ (Economic forest zone) เขตป่าอนุรักษ์ (Conservative forest zone) และเขตอื่นๆ (Other zone) สำหรับเขตเกษตรกรรมได้จำแนกความเหมาะสมเป็น 4 ระดับ คือ พื้นที่เหมาะสมที่สุดในเขตเกษตรกรรม พื้นที่เหมาะสมปานกลางในเขตเกษตรกรรม พื้นที่เหมาะสมเล็กน้อยในเขตเกษตรกรรม พื้นที่ไม่เหมาะสม

4) วิเคราะห์ความสัมพันธ์ของปัจจัยทางกายภาพและปัจจัยทางเศรษฐกิจ เพื่อจัดทำแผนที่แสดงระดับของศักยภาพในการผลิตสินค้าเกษตรแต่ละชนิด

– พื้นที่ความเหมาะสมทางกายภาพ ในอำเภอนั้นมีพื้นที่ที่เหมาะสมที่สุด และเหมาะสมปานกลางกับการปลูกปาล์มน้ำมัน

  • ระดับที่ 1 (2 คะแนน) มีความเหมาะสมที่สุด ตั้งแต่ 25,000 ไร่ ขึ้นไป
  • ระดับที่ 2 (1 คะแนน) มีความเหมาะสมปานกลาง ตั้งแต่ 25,000 ไร่ ขึ้นไป

– พื้นที่ปลูกในปัจจุบัน ในอำเภอนั้นมีพื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมันในปัจจุบัน

  • ระดับที่ 1 (2 คะแนน) ตั้งแต่ 20,000 ไร่ ขึ้นไป
  • ระดับที่ 2 (1 คะแนน) ตั้งแต่ 2,000-19,999 ไร่

– ผลผลิตต่อไร่ พื้นที่ที่มีการปลูกปาล์มน้ำมันมีผลผลิตต่อไร่

  • ระดับที่ 1 (2 คะแนน) ตั้งแต่ 2,500 กิโลกรัมต่อไร่ ขึ้นไป
  • ระดับที่ 2 (1 คะแนน) ตั้งแต่ 2,000-2,499 กิโลกรัมต่อไร่

– ระยะทางห่างจากโรงงาน พื้นที่ที่มีการปลูกปาล์มน้ำมันมีระยะทางห่างจากโรงงานสกัดน้ำมันปาล์ม

  • ระดับที่ 1 (2 คะแนน) ไม่เกิน 50 กิโลเมตร
  • ระดับที่ 2 (1 คะแนน) ตั้งแต่ 51-100 กิโลเมตร

5) การกำหนดค่าถ่วงน้ำหนัก

เนื่องจากองค์ประกอบทั้ง 3 ประเภทดังกล่าวข้างต้นมีระดับความสำคัญที่จะนำมาพิจารณาไม่เท่ากันจึงได้กำหนดค่าถ่วงน้ำหนัก ดังนี้

– ปัจจัยที่ 1 พื้นที่เหมาะสมทางกายภาพ   =        0.40

– ปัจจัยที่ 2 พื้นที่ปลูกในปัจจุบัน               =        0.20

– ปัจจัยที่ 3 ผลผลิตต่อไร่                          =        0.20

– ปัจจัยที่ 4 ระยะทางห่างจากโรงงาน       =        0.20

รวม                                     =        1.00

เมื่อเอาคะแนนคูณด้วยน้ำหนักในแต่ละอำเภอ ถ้าคะแนนอยู่ระหว่าง 1.5-2 คะแนน กำหนดให้อยู่ในศักยภาพอันดับที่ 1 ถ้าคะแนนอยู่ระหว่าง 1-1.49 คะแนน กำหนดให้อยู่ในศักยภาพอันดับที่ 2 จากนั้นจึงพิจารณาผลผลิตในแต่ละศักยภาพให้สอดคล้องกับเป้าหมายการผลิต

ตารางเกณฑ์การให้น้ำหนัก คะแนนของปัจจัยต่างๆ ของสินค้าเกษตรจำนวน 12 สินค้า

002

003

004

ผลการศึกษา

ผลการกำหนดเขตเศรษฐกิจสินค้าเกษตรได้ดำเนินการกำหนดเขตเศรษฐกิจเป็น 2 ลักษณะ คือ

1) การกำหนดเขตเกษตรเศรษฐกิจเป็นรายสินค้า (Commodities approach)

2) การกำหนดเขตเกษตรเศรษฐกิจตามศักยภาพการผลิตของพื้นที่ (Area approach) เศรษฐกิจสำหรับพืชแต่ละชนิด

ที่มา : ตำราเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศศาสตร์

Copyright © 2018 LEARN : อาณาจักรภูมิสารสนเทศ อาณาเขตแห่งการเรียนรู้

LEARN

404 Not Found

404

Not Found

The resource requested could not be found on this server!


Proudly powered by LiteSpeed Web Server

Please be advised that LiteSpeed Technologies Inc. is not a web hosting company and, as such, has no control over content found on this site.